ทองกับเพชร อันไหนมีค่า น่าเก็บสะสมมากกว่ากัน ?

ทองกับเพชร อันไหนมีค่า น่าเก็บสะสมมากกว่ากัน ?

เครื่องประดับที่มีมูลค่า ราคาสูง และคนส่วนใส่นิยมกันก็คือเพชรและทองคำ แต่หากเปรียบเทียบกันระหว่าง ทองกับเพชร จะเห็นได้ว่าคนส่วนใหญ่นิยมทองคำมากกว่าเพชร ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนต่างๆ หรือการใช้ทองคำเป็นมาทุนสำรองของประเทศ เคยสงสัยหรือไม่ว่าในความเป็นจริงแล้ว เพชรนั้นก็มีมูลค่ามาก บางครั้งอาจจะมากกว่าทองเลยก็ได้ แต่ทำไมคนถึงนิยมทองคำมากกว่า หรือจริงๆแล้วทองคำมีค่ามากกว่าเพชรกันแน่?

ทองกับเพชร อันไหนมีค่า น่าสะสมกว่ากัน ?

“เพชร” 
เพชรมีการแบ่งได้หลายเกรด โดยจะมีการแบ่งตั้งแต่ขนาด ซึ่งในแต่ละขนาดถึงแม้ว่ามันจะเท่ากันในจำนวนน้ำหนักเป็นกะรัตที่วัดได้ แต่ก็ไม่ก็ไม่ได้หมายความว่า เพชรจะมีราคาเพียงเท่านั้น เพราะเพชรยังต้องแบ่งเกรดตามความเข้มข้นของสี หากเพชรมีความใสมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งเป็นเพชรน้ำดีมากเท่านั้น หรือจะเรียกว่าเป็น เกรด D ส่วนเกรด E,F,G,H ไล่ไปจนถึง Z น้ำเพชรนั้นจะสีเหลืองไล่ตามระดับเกรดไปเรื่อยๆ

นอกจากนี้ยังดูในเรื่องของตำหนิในเนื้อเพชรว่าเนื้อเพชรนั้นมีตำหนิหรือไม่ หากไม่มีตำหนิใดใดเลยก็จะอยู่ในระดับที่สูง และจะไล่ลงไปตามตำหนิในเนื้อเพชร ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ ใ นส่วนของการเจียระไนนั้นก็จะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็น ทรงกลม รูปไข่ สี่เหลี่ยม หยดน้ำ สามเหลี่ยม ซึ่งแต่ละแบบก็มีราคาที่ต่างกันออกไป และการซื้อขายเพชรยังมีใบรับประกันหรือใบรับรองว่าเพชรเม็ดนั้นมีตำหนิหรือไม่ เนื้อเพชรสามารถสะท้อนแสงได้มากน้อยเพียงใด หรือพูดง่ายๆ ก็คือการซื้อขายเพชรนั้นไม่มีราคาขายที่ตายตัวนั่นเอง เพราะว่าราคาของเพชรนั้นจะเป็นราคาที่ซื้อขายกันตามความพึงพอใจของทั้งผู้ซื้อและผู้ขายซะมากกว่า

มีการใช้เพชรเป็นการแลกเปลี่ยนแทนเงินสดในบางประเทศ เช่นประเทศในแถบแอฟริกา ซึ่งใช้เพชรในแลกเปลี่ยนการค้าอาวุธ หรือใช้เพชรด้วยเงื่อนไข และการซื้อขายสินค้าในบางประเทศก็มีการใช้แทนเงินสดเช่นกันโดยเฉพาะประเทศผู้ผลิตเพชร ซึ่งเพชรที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนนั้นจะเป็นเพชรดิบหรือเพชรที่ไม่ได้ผ่านการเจียระไน และแท้ที่จริงแล้วเพชรจะมีคุณค่าทางสายตาของคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่ง เพชรจึงไม่เหมาะแก่การนำมาเป็นสินทรัพย์สำรองนั่นเอง

ส่วนประกอบของเพชรจะเป็นธาตุคาร์บอน (ธาตุ C) ที่ซึ่งยึดด้วยพันธะโควาเลนต์ โดยอะตอมของคาร์บอนรวมตัวกันเป็นโครงสร้างแบบผลึก ทำให้เพชรมีความแข็งแรง แต่หากเพชรถูกหลอมละลายด้วยความร้อนสูง ในที่เปิด อุณหภูมิประมาณ 800 องศาเซลเซียส จะทำให้พันธะแตกนั้นแตกออก กลายคาร์บอนธรรมดา ไม่สามารถนำกลับมาทำเพชรใหม่ไม่ได้อีกแล้ว

หลายคนสงสัยว่าถ้าฆ้อนมาทุบอย่างแรง เพชรจะแตกหรือไม่ คำตอบคือ “แตก” แม้ว่าเพชรจะมีความแข็ง ทนทานต่อการขีดข่วน จนไม่มีอะไรสามารถมาทำให้มันเป็นรอยได้ แต่เพชรจะมีความเปราะ เนื่องจากภายในของผลึกของเพชรนั้นมีรอยแยกเป็นแนวแบบเรียบ 4 หากโดนทุบเพชรก็อาจจะแตกออกเป็นเสี่ยงได้ รอยแยกที่ว่านี้ที่ทำให้สามารถตัดเพชรให้มีขนาดตามความต้องการ

“ทองคำ” 
ในประเทศไทยทองคำจะแบ่งออกเป็น ทองคำ 99.99 เปอร์เซ็น และ 96.5 เปอร์เซ็น หรือระดับอื่นๆ ตามกำหนดของแต่ละประเทศ ซึ่งแต่ละประเทศก็ไม่ได้มีความซับซ้อนอะไรมากเท่าไหร่นัก ทองคำเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งคือที่มีเลขในตารางธาตุเป็นของตัวมันเอง ธาตุทองคำ หรือ Au จะยึดต่อกันด้วยพันธะโลหะ แม้ถูกแปรรูปไปเป็นอะไรก็ตาม แต่ก็สามารถนำมาหลอมใหม่ได้ ยังไงทองคำก็ยังเป็นทองคำอยู่ดีเช่นเดียวกับธาตุอื่นๆ เช่น เงิน ทองแดง แพทตินั่ม จึงทำให้ทองคำนั้นมีการซื้อขายในราคากลางที่แน่นอนและมีการนำทองคำมาเป็นสินทรัพย์สำรองได้ เนื่องจากทองยังไงก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปไม่ว่าทองคำนั้นจะถูกขึ้นรูปใหม่กี่ครั้งก็ตาม ทองคำจึงเป็นที่นิยมมากกว่าเพชรนั่นเอง

สรุปง่ายๆ ได้ว่า ทองกับเพชร เป็นวัตถุทางธรรมชาติที่มีราคาสูงทั้งคู่ แต่การซื้อเพชรนั้นมีความยุ่งยากซับซ้อน ต่างจากทองที่มีราคามาตรฐานแน่นอน ทำให้เข้าถึงได้ง่าย ในความเป็นจริงแล้วสภาพคล่องของทองคำนั้นสูงกว่าเพชร รวมไปถึงการซื้อขายในราคาที่ไม่สูงมาก เมื่อเทียบกับเพชรที่มีราคาค่อนข้างสูงเลยทีเดียว

หน่วยของเพชรกับทองคำ

หน่วยของเพชร จะวัดเป็น “กะรัต” เป็นหน่วยการชั่งอัญมณีที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดย มีที่มาจากการเปรียบเทียบขนาดและน้ำหนักของเพชรกับถั่ว Carob bean 1 เมล็ด หนักเท่ากับ 1 กะรัต ต่อมาถูกนำปรับใช้ในระบบมาตรฐานเมตริกเมื่อปี ค.ศ. 1913

1 กะรัต = 0.20 กรัม
5 กะรัต = 1 กรัม
142 กะรัต = 1 ออนซ์ (โดยประมาณ)

ไทยเรานิยมเรียกกันป็น บาทและสตางค์ เพชร 1 กะรัต = 1 บาท = 100 สตางค์
เพชรขนาด 0.05 กะรัต หรือเพชร 5 สตางค์ จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.40 มิลลิเมตร

หน่วยของทองคำ จะวัดทั้งน้ำหนักและความบริสุทธิ์ อย่างที่เราได้ยินกันว่า ทองเค K มากคำว่า กะรัต (carat) ซึ่งจะเป็นตัวบอกความบริสุทธิ์ของทอง

• ทองคำ 24K คือทองคำบริสุทธิ์ 99.99% มีทองคำแท้เป็นส่วนประกอบอยู่ 24 ส่วน ประเทศที่นิยมใช้ ได้แก่ ไทย จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย และทองคำแท่ง

• ทองคำ 22K มีทองคำแท้เป็นส่วนประกอบอยู่ 22 ส่วน หรือทองคำ 92% นิยมใช้ในอินเดีย

• ทองคำ 18K มีทองคำแท้เป็นส่วนประกอบอยู่ 18 ส่วน หรือทองคำบริสุทธิ์ 75% นิยมใช้ในแถบยุโรป อาทิ ฝรั่งเศส อิตาลี สวิสเซอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกา

• ทองคำ 14K มีทองคำแท้เป็นส่วนประกอบอยู่ 14 ส่วน หรือทองคำบริสุทธิ์ 56.3% นิยมใช้ในประเทศเยอรมัน และอังกฤษ

• ทองคำ 10K มีทองคำแท้เป็นส่วนประกอบอยู่ 10 ส่วน หรือทองคำบริสุทธิ์ 41.1% นิยมใช้ในสหรัฐอเมริกา

น้ำหนักสากลของทองคำ วัดป็นกรัม หรือ ทรอยออนซ์ (1 ทรอยออนซ์ เท่ากับ 31.103 กรัม)
ประเทศไทยเราจะแตกต่างจากระบบสากล โดยความบริสุทธิ์ แบ่งเป็น ทองรูปพรรณที่มีความบริสุทธิ์ 96.5% และ ทองคำแท่งที่มีความบริสุทธิ์ 99.99%

ส่วนการวัดน้ำหนักทองคำ จะวัดกันเป็นบาท ตัวอย่างเช่น

• ทองรูปพรรณ 1 บาท หนัก 15.16 กรัม 
• ทองคำแท่ง 1 บาท หนัก 15.244 กรัม
• ทองคำ 1 กิโลกรัม = 65.6 บาท

->วิธีดูหยก หยกแท้ หยกเทียม แตกต่างกันอย่างไร?