วันอีสเตอร์ ประวัติเทศกาลอีสเตอร์ และสัญลักษณ์ต่างๆ

วันอีสเตอร์ ประวัติวันอีสเตอร์ และ สัญลักษณ์ต่างๆ

ประวัติวันอีสเตอร์ และสัญลักษณ์ต่างๆ

อีสเตอร์ Easter หรือ Pascha ในภาษากรีกและลาติน เป็นวันสำคัญที่สุดวันหนึ่งของศาสนาคริตส์ เพื่อระลึกถึงการฟื้นคืนชีพของพระเยซู 2 วันหลังจากสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน ในปี 2017 นี้ วันอีสเตอร์ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 16 เมษายน ในนิกายโรมันคาทอลิกและโปรเตสแตนต์ วันอีสเตอร์จะตรงกัน ส่วนนิกายออร์ธอดอกซ์นั้นบางปีก็จะไม่ตรงกัน

ประวัติอีสเตอร์
ตามที่ได้มีการบันทึกไว้ในพระคัมภีร์ใหม่ พระเยซูได้เสด็จไปกรุงเยรูซาเล็มพร้อมกับอัครสาวก เพื่อประกอบพิธี Passover ซึ่งเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ของชาวยิว เพื่อรำลึกถึงชาวฮิบรูที่ได้รับอิสรภาพและถูกปลดปล่อยจากการเป็นทาสของอียิปต์ ในการรับประทานอาหารค่ำในวันพฤหัสบดีศักดิ์สิทธิ์ พระองค์ได้ทรงประทานพิธีมหาสนิท หลังอาหารค่ำคืนนั้น พระองค์และอัครสาวกก็ถูกอายัดตัวแล้วนำไปเฆี่ยนตีอย่างทรมาณ วันศุกร์ถัดมา (Good Friday) พระองค์ก็ถูกนำไปตรึงบนไม้กางเขนจนสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน จากนั้นก็ถูกนำบรรจุอยู่ในอุโมงค์ แล้วพระองค์ก็ทรงฟื้นพระชนม์ขึ้นมาในวันอาทิตย์ ที่เรียกกันในปัจจุบันว่า Easter Sunday

เทศกาลอีสเตอร์ในภาษาฮิบรูเรียกว่า Pessa’h หรือ Pascha ชาวยิวเป็นชนกลุ่มแรกๆ ที่เริ่มเฉลิมฉลองการฟื้นคืนพระชนม์นี้ ซึ่งเป็นที่สองถัดจากวัน Passover เพื่อรำลึกถึงอพยพออกจากอียิปต์ในครั้งนั้น ชาวยิวจะถือศีลอดไม่รับประทานเนื้อสัตว์รวมทั้งขนมปังที่หมักด้วยยีสต์

เดิมทีจะมีการฉลองอีสเตอร์ในวันที่สอง ถัดจากวันปัสกา แต่เนื่องจากว่าวันอีสเตอร์ควรจะตรงกับวันอาทิตย์ เพราะถ้าตรงกับวันอื่นก็ดูจะแปลกๆอยู่ ดังนั้นในปี ค.ศ. 325 จักรพรรดิคอนสแตนตินของอาณาจักรโรมัน ก็ทรงประกาศว่า อีสเตอร์ต้องตรงกับวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันที่พระเยซูคริสต์ฟื้นขึ้นมา โดยให้ตรงกับวันอาทิตย์แรกหลังจากพระจัทร์เต็มดวงในฤดูใบไม้ผลิ หรือ Equinox Day ซึ่งเป็นวันที่เวลากลางวัน และกลางคืน เท่ากันพอดิบพอดี ดังนั้นจะตรงกับวันอาทิตย์ไหนก็ได้ ระหว่างวันที่ 22 มีนาคม-25 เมษายน

วันอีสเตอร์ ประวัติอีสเตอร์ และ สัญลักษณ์ต่างๆ

คำว่า Easter อาจจะมาจากคำว่า Eastra เอสตรา ซึ่งเป็นชื่อของเทพีแห่งฤดูใบไม้ผลิและความอุดมสมบูรณ์ ของชาวเพเกน ที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของทวีบยุโรป ก่อนที่ศาสนาคริสต์จะเกิดขึ้นมาแล้วมีการแผ่ขยายกว้างออกไปทั่วยุโรป จนทำให้เกิดการผสมผสานกันทั้งลัทธิความเชื่อและศาสนา

สัญลักษณ์ต่างๆ ในเทศกาลอีสเตอร์

เทียนปัสกา (Paschal Candle) เทียนสีขาวขนาดใหญ่ ชาวคริสต์จะเริ่มฉลองเทศกาล ด้วยการจุดเทียนปัสกา เพื่อรำลึกถึงการฟื้นคืนชีพแสงสว่างที่ออกมาจากอุโมงค์ที่มืดมิด

ระฆัง มักจะเป็นสีบรอนซ์หรือช็อคโกแลต ที่บรรเลงบทเพลงของกลอเรีย ตั้งแต่การสวดมนต์ในวันพฤหัสบดีแล้วเงียบลงไปจนถึงวันเสาร์ เพื่อแสดงความเคารพ ระลึกถึงพระเยซูที่ถูกตรึงบนไม้กางเขนในวันศุกร์ และระฆังจะบรรเลงอีกครั้งในวันอาทิตย์

กระต่าย คือสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ และเปรียบเสมือนผู้ส่งสารของอีสเตอร์ กระต่ายเข้ามาเกี่ยวข้องกับเทศกาลอีสเตอร์นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 18

ดอกไม้อีสเตอร์ คือดอกลิตเติ้ลเดซี่ (Little Daisy) ที่เบ่งบานประกาศการกลับมาของฤดูใบไม้ผลิ แม้บางพื้นที่ดอกไม้นี้จะออกดอกเกือบทั้งปี แต่เดือนที่มีการเบ่งบานมาที่สุดคือช่วงเดือนมีนาคม – ตุลาคม นอกจากนี้ยังมี ดอกลิลลี่สีขาว ที่มีเชื่อมโยงกับเทศกาลอีสเตอร์เพราะเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์

วันอีสเตอร์ ประวัติเทศกาลอีสเตอร์ และสัญลักษณ์ต่างๆ

ไข่อีสเตอร์ (Easter Egg) สัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ ชีวิต และการเกิดใหม่ ไข่มีความเกี่ยวข้องกับเทศกาลอีสเตอร์มาตั้งแต่สมัยโบราณ ในช่วงเวลาถือศีลอดของชาวยิว จะห้ามกินไข่ หลังจากแม่ไก่ออกไข่ ไข่เหล่านั้นจะถูกเก็บไว้จนกว่าถึงอีสเตอร์ หลังการให้ศีลให้พรแล้ว ไข่ที่ทาสีจนสวยงามจะถูกนำมามอบให้กับเด็กๆ ตามตำนานแล้ว สัญลักษณ์ที่นิยมกันมากในประเทศฝรั่งเศส และเบลเยี่ยมคือระฆังสีทอง ส่วนกระต่ายอีสเตอร์เป็นที่นิยมในประเทศเยอรมณีและสหรัฐอเมริกา แต่ไข่อีสเตอร์นั้นนิยมกันในหลายประเทศ ไข่อีสเตอร์ที่เราเห็นกันอาจจะมีทั้งไข่จริงๆที่สุกแล้ว หรือเปลือกไข่ ที่นิยมกันมากก็คือไข่ที่ทำมาจากพอร์ซเลน, แก้ว, ไม้ หรือแม้แต่ทำมาจากเงิน หรือทองคำแท้ๆ

วันอีสเตอร์ ประวัติเทศกาลอีสเตอร์ และสัญลักษณ์ต่างๆ

นอกจากนี้แล้วยังมีการละเล่น การแข่งขันเก็บไข่อีสเตอร์ ในครอบครัวพ่อแม่จะเอาไข่อีสเตอร์ไปซ่อนไว้ในสวน แล้วให้เด็กออกไปเก็บไข่อีสเตอร์มาใส่ในตระกร้า ในอเมริกามีประเพณีการกลิ้งไข่อีสเตอร์ (Egg Rolling) และในปี ค.ศ. 1876 ประธานาธิบดี รัทเธอร์ฟอร์ด บี. เฮส ได้เปิดสนามหญ้าของทำเนียบขาว ให้เด็กๆได้เข้ามาละเล่นกลิ้งไข่กัน จนทำให้เกิดประเพณี The White House Easter Egg ที่ปฏิบัติกันเป็นประจำทุกปี

รวมเรื่องน่ารู้ นานาสาระจากมะนาว ดอทคอม