การค้นพบโดยบังเอิญ ของสิ่งของ 10 อย่าง

 

การคนพบโดยบงเอญ ของสงของ 10 อยาง หนงในนนคอ ไมรโครเวฟ

การค้นพบโดยบังเอิญ ของสิ่งของ 10 อย่าง และหนึ่งในนั้นก็คือ ไมรโครเวฟ

การค้นพบโดยบังเอิญ ของสิ่งของ 10 อย่าง

มีสิ่งของหลายอย่างบนโลกใบนี้ที่มาจาก การค้นพบโดยบังเอิญ เรามาดูของใกล้ๆตัว 10 อย่างที่ถูกค้นพบด้วยความบังเอิญว่ามีอะไรบ้าง

ไมโครเวฟ

เพอร์ซี สเปนเซอร์ (Percy Spencer) ซึ่งทำงานที่บริษัทเรธีออน (Raytheon) ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง วันหนึ่งในขณะที่เขากำลังสร้างแมกนีตรอนสำหรับใช้ในระบบเรดาห์ แล้วเขาพบว่า แท่งช็อกโกแลตที่เขาพกมาทานเป็นประจำนั้นละลายจนกระเป๋าเสื้อนั้นเลอะเทอะไปหมด และเขาก็เข้าใจทันทีว่า คลื่นไมโครเวฟ ที่ผลิตจากแม็กนีตรอนนั้นสามารถทำให้อาหารสุกได้ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1946 เพอร์ซี สเปนเซอร์และคณะได้ทำการจดลิขสิทธิ์ไมโครเวฟ ให้ใช้เป็นอุปกรณ์ ในการปรุงอาหาร

เทฟลอน

ในปี ค.ศ.1938 ด็อกเตอร์ รอย เจ พลันเค็ต (Roy J. Plunkett) นักเคมีชาวอเมริกัน ได้ทำการทดลองค้นคว้าหาสารทำความเย็นใหม่ๆ เพื่อใช้ดูดความร้อนในตู้เย็นและเครื่องปรับอากาศ โดยผสมแก็สฟรีออนลงไปในขวดเพื่อให้ได้แก็สตัวใหม่ออกมา เขาได้ทิ้งขวดไว้ข้ามคืนเพื่อให้ทิ้งส่วนผสมดังกล่าวเย็นตัวลง วันรุ่งขึ้นเขาพบว่าส่วนผสมดังกล่าวกลายเป็นของแข็งติดแน่นอยู่กับผิวขวดด้านใน ซึ่งสารดังกล่าวมีความลื่น ทนความร้อนสูงและทนต่อการทำให้หลอมละลาย ด็อกเตอร์ รอย ตั้งชื่อสารชนิดนี้ว่า « เทฟลลอน Teflon »ในปี ค.ศ. 1945 และสารเทฟลอนถูกนำมาใช้เป็นอุปกรณ์ทางทหาร หรืออาวุธในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 จนกระทั้งปัจจุบันถูกนำมาเคลือบภาชนะต่างๆในการหุงต้ม

หมากฝรั่ง

เมื่อปลายปี ค.ศ. 1860 โทมัส อดัมส์ นักประดิษฐ์ ชาวนิวยอร์ก ได้พยายามที่จะเปลี่ยนยางไม้จากต้นไม้ในป่าเม็กซิโก ที่ชาวเม็กซิโกเรียกกันว่า “ชิคลิ” (Chicle) ให้กลายเป็นยาง เขาทำการทดลองหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ ด้วยความผิดหวังเขาเลยเอามันใส่ปากแล้วลองเคี้ยวดู ปรากฏว่าเขาชอบรสชาติของยางชิคลิ ด้วยความที่เขาสั่งซื้อมาเยอะ เลยนำมันมาหั่นเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมแบนๆ วางขายภายใต้ชื่อการค้า “หมากฝรั่งอดัมส์นิวยอร์ก” ราคาแผ่นละ 1 เพนนี ในปี ค.ศ. 1871 รูปภาพข้างล่างเป็นหมากฝรั่งของอดัมส์ที่ออกวางจำหน่ายในยุคแรกๆ

หมากฝรงของอดมสทออกวางจำหนายในยคแรกๆ

คุ้กกี้ช็อกโกแลตชิพ

ในปี 1930 รูท เวคฟิลด์ (Ruth Wakefield) ภรรยาเจ้าของโรงแรม The Toll House Inn ซึ่งเป็นโรงแรมเล็กแห่งหนึ่งในแมสซาชูเซตส์ ในขณะที่เธอกำลังจะทำคุ้กกี้ช็อกโกแลตแบบธรรมดาแต่เนยช็อกโกแลตหมด เธอเลยเอาช็อกโกแลตแท่งรสหวานของเนสท์เล่มาหักเป็นชิ้นเล็กๆแล้วใส่ลงไปในแป้งคุกกี้ที่นวดไว้แล้ว โดยคิดว่าหลังนำไปอบเศษช็อกโกแลตนั้นจะละลาย แต่ช็อกโกแลตที่เธอใช้นั้นละลายแค่นิดหน่อย ไม่หลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกันกับคุ้กกี้ ต่อมามีลูกค้าชาวอังกฤษมาพักที่โรงแรม แล้วเกิดความสนใจคุกกี้ชนิดใหม่ของเธอมาก จึงขอซื้อสูตรการทำคุ๊กกี้ช็อกโกแลตชิพกับเธอ รูท เวคฟิลด์ ได้ขายสูตรให้กับ บริษัท เนสท์เล่ ต่อมาช็อคโกแลตชิพคุกกี้กลายเป็นขนมที่มีชื่อเสียงระดับโลก ในยุคแรกๆ รูปของ Ruth Wakefield และสูตรในการทำช็อคโกแลตชิพคุกกี้ถูกพิมพ์ลงบนหีบห่อช็อกโกแลตแท่งชนิดหวานของเนสท์เล่ด้วย

รปของรท เวคฟลด ทถกพมพลงบนกลอง คกกชอกโกแลตชพ

ขัณฑสกร (Saccharin)

ในปี ค.ศ.1879 คอนสแสตนติน ฟาห์ลเบอร์ก (Constantine Fahlberg) นักเคมีซึ่งทำงานอยู่ที่มหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกิ้น ประเทศสหรัฐอเมริกา คืนหนึ่งหลังจากทำการทดลองเสร็จแล้วเขาลืมล้างมือก่อนทานอาหารเย็น แล้วพบว่าขนมปังมีรสหวานผิดปรกติ เขาจึงกลับไปชิมสารต่างๆในห้องทดลอง จนพบว่ารสหวานดังกล่าว มาจากสารแซคคารีน (Saccharin) และเขายังพบอีกด้วยว่าสารแซคคารีนนั้น ให้พลังงานน้อยมาก ต่อมาเขาได้ดำเนินการขอจดสิทธิบัตรสารแซคคารีน

กาวซุปเปอร์กลู (Super Glue)

ตลอดระยะเวลาที่ทำงานในห้องทดลองของบริษัทโกดัก (Kodak) ประเทศสหรัฐอเมริกา ดร.แฮรี่ คูเวอร์ (Dr.Harry Coover) ได้พยายามสร้างกาวที่มีชื่อว่าไซยาโนอะคริเลตขึ้นมา ในปี ค.ศ. 1942 หกปีต่อมาเขาย้ายมาทำงานที่บริษัทอีสต์แมน (Eastman) ในขณะที่เขากำลังทำงานวิจัยเรื่องหลังคาของเครื่องบินเจ็ต ด้วยบังเอิญเมื่อเขาใช้กาวตัวนี้ติดปริซึ่ม 2 แท่งเข้าด้วยกัน แล้วเขาก็พบว่ามันติดกันแน่นจนไม่สามารถแยกออกจากกันได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ความร้อนเลย ดร.แฮรี่ คูเวอร์ ได้ทำการจดสิทธิบัตรกาวซุปเปอร์กลู ในปี ค.ศ. 1956 

Super Glue กาวมหัศจรรย์ ที่มีความทนทานต่อแรงดึงสูง เพียงทากาวลงบนพื้นผิว 1ตารางนิ้ว ก็สามารถที่จะยกวัตถุน้ำหนัก 1 ตันให้สูงขึ้นได้ 

รังสีเอกซ์เรย์

ในปี ค.ศ. 1895 นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน วิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน (Wilhelm Conrad Roentgen) ซึ่งทำงานอยู่ที่มหาวิทยาลัยเวิร์ซแบร์ก ขณะที่เขากำลังทำการทดลองด้วยการผ่านรังสีแคโทด เข้าไปในหลอดกระดาษแข็งที่ปิดแสงจนมืดสนิท แล้วรังสีแคโทดที่ผ่านออกมาจากหลอดทดลอง สามารถทำให้แผ่นกระดาษแข็งทาสารแบเรียมปลาติโนไซยาไนด์ที่อยู่ห่างออกไปสามารถเรืองแสงขึ้นด้วย เขาจึงตั้งชื่อรังสีนี้ว่า “X-rays” หรือ รังสีเอกซ์ ซึ่ง X หมายถึงสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ใช้เรียกแทน สิ่งที่พวกเขายังไม่รู้ว่ามันคืออะไร

ยางรถยนต์

ในปี ค.ศ.1839 ชาร์ลส กู๊ดเยียร์ทำการทดลองเกี่ยวกับยางรถยนต์ที่ทำมาจากยางพารา แต่ปัญหาในตอนนั้นคือ ยางรถยนต์ที่ได้จะแตกละเอียดเมื่ออากาศเย็นลง และหลอมละลายเมื่ออากาศร้อนขึ้น กู๊ดเยียร์พยายามผสมสารต่างๆลงไป

เพื่อพัฒนาคุณภาพของยางที่จะนำมาทำเป็นยางรถยนต์ให้ได้ วันหนึ่งเขาบังเอิญทำส่วนผสมของน้ำยางกับกำมะถันตกลงลงไปบนเตาไฟร้อนๆ ที่ในครัว แล้วเขาก็พบว่ายางที่ได้จากความร้อนบนเตา มีความแข็งตัวแต่กลับมีความยืดหยุ่นดี จนถูกนำมาใช้เป็นยางรถยนต์ และในหลากหลายอุตสาหกรรมจนถึงปัจจุบันนี้ 

ไม้ขีดไฟ 

ในปี ค.ศ.1827 จอห์น วอล์คเกอร์ เภสัชกรและนักเคมีชาวอังกฤษ ขณะที่กำลังทำการทดลองเขาได้ค้นพบไม้ขีดไฟด้วยความบังเอิญเมื่อเขานำเศษไม้ที่เคลือบด้วยด้วยสารโพแทสเซียมคลอเรตผสมกับแอนติโมนีซัลไฟด์และกาวจากยางไม้ ไปขีดลงบนวัตถุที่มีผิวหยาบอย่างกระดาษทราย แล้วแรงเสียดสีทำให้มันลุกติดไฟขึ้นมา จอห์น วอล์คเกอร์จึงทำไม้ขีดไฟขึ้นมาจำหน่ายครั้งแรกในร้านขายหนังสือใกล้ๆ บ้านของเขา

Corn Flakes ไมขดไฟ และยางรถยนต 3 ใน 10 สงทถกคนพบดวยความบงเอญ

Corn Flakes ไม้ขีดไฟ และยางรถยนต์ 3 ใน 10 สิ่งที่ถูกค้นพบด้วยความบังเอิญ

Corn Flakes

ในปี ค.ศ. 1894 ด็อกเตอร์ จอห์น ฮาร์วีย์ เคลล็อกก์ และวิลเลี่ยม คีท เคลล็อกก์ น้องชาย ซึ่งทั้งคู่ทำงานอยู่ในสถานส่งเสริมสุขภาพ ที่เมืองมิชิแกน ทั้งสองคนกำลังค้นหาอาหารประเภทธัญพืชที่สามารถย่อยได้ง่ายๆสำหรับคนไข้ของพวกเขา วันหนึ่งพวกเขาเผลอลืมวางเล็ดข้าวสาลีไว้บนเตา ด้วยความเสียดายพวกเขาเลยเอาเมล็ดข้าวสาลีเหล่านั้นใส่ลงในเครื่องบดเพื่อยืดให้มันเป็นแผ่น แต่เมล็ดข้าวสาลีก็กลายเป็นเกล็ด เมื่อทำให้สุกแล้วมีรสชาติที่อร่อยมาก พวกเขาได้นำเมล็ดธัญพืชอื่นๆ อย่างเช่น เมล็ดข้าวโพด มาทำแบบเดียวกันบ้างจนกลายเป็น Corn Flakes ที่คนทั้งโลกคนติดใจ

เป็นอย่างไรบ้างคะ การค้นพบโดยบังเอิญของสิ่งของใกล้ๆตัวเราทั้ง 10 อย่าง บางครั้งอุบัติเหตุ หรือความบังเอิญก็ทำให้เราได้พบสิ่งดีได้เช่นกันนะคะ