แคลร์ ฮอลลิงเวิร์ธ นักข่าวสงครามหญิง คนแรกในตำนาน – Google Doodle

Google Doodle วันที่ 10 ตุลาคม 2017 อุทิศให้กับ Clare Hollingworth แคลร์ ฮอลลิงเวิร์ธ นักข่าวสงครามหญิง คนแรกในตำนาน วันคล้ายวันเกิด ครอบรอบ 106 ปี

clare hollingworth firstfemale warcorrespondents

มีผู้หญิงหลายคนที่ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ และ Clare Hollingworth แคลร์ ฮอลลิงเวิร์ธ นักข่าวสงครามหญิง ก็เป็นหนึ่งในนั้น วันนี้เป็นคล้ายวันครบรอบ 106 ปีวันเกิดของเธอ กูเกิ้ลได้อุทิศ Google Doodle ให้ผู้ที่อยู่ในสหราชอาณาจักร, ประเทศออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, ฝรั่งเศส, อิตาลี, โปรตุเกส, กรีก, โครเอเซีย, อิสราเอล, โปแลนด์, เอสโตเนีย และ เปรู ได้รำลึกถึงเธอ

ประวัติ แคลร์ ฮอลลิงเวิร์ธ 

แคลร์ ฮอลลิงเวิร์ธ เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1911 ที่ประเทศอังกฤษ และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 10 มกราคม ค.ศ. 2017 ด้วยวัย 105 ปี ที่ฮ่องกง เธอเป็นผู้สื่อข่าวสงครามที่เก็บพาสพอร์ตไว้ข้างตัวตลอดเวลา เพื่อความพร้อมในการออกไปทำข่าว ครอบครัวของฮอลลิงเวิร์ธเป็นชาวไร่ เธอรู้จักสงครามครั้งแรกเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อมีเครื่องบินรบบินผ่านหลังคาบ้านของเธอเพื่อไปทิ้งระเบิด เช้าวันรุ่งขึ้นฮอลลิงเวิร์ธจึงตามไปดู 

clare hollingworth female warcorrespondents

แม้ว่าเธอจะไม่ใช่นักข่าวสงครามหญิงคนแรก แต่ความรู้ ความชำนาญยุทธวิธีในการทำข่าวสงคราม ทำให้ แคลร์ ฮอลลิงเวิร์ธ นักข่าวหญิง คนแรก ที่เข้าไปรายข่าวให้กับ Daily Telegraph ในช่วงที่ ฮิตเลอร์และกองทัพนาซีของเขา กำลังเตรียมเข้าไปบุกยึดประเทศโปแลนด์ เหตุการณ์นี้เริ่มขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคม ปี 1939 หลังจากเข้าทำงานเพียงแค่ 1 สัปดาห์ ฮอลลิงเวิร์ธยังเป็นเพียงแค่นักข่าวหน้าใหม่

โดยเธอถูกส่งไปที่ชายแดน เยอรมนี – โปแลนด์ เพื่อทำข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์ที่กำลังย่ำแย่ลงในยุโรป วันนั้นเธอยืมรถขับไปชายแดน ในขณะที่เธอกำลังขับรถกลับโปแลนด์ แล้วเธอบังเอิญเห็นว่า ที่นั่นมีทหารเยอรมันจำนวนมากที่ซุกซ่อนอยู่พร้อมกับรถหุ้มเกราะและอาวุธ ที่กำลังตั้งท่า หันหน้าไปทางประเทศโปแลนด์ 

ข่าวใหญ่ที่สุดในนี้ศตวรรษที่ 20 ถูกตีพิมพ์ลงใน Daily Telegraph ฉบับวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ.1939 แค่ 3 วันถัดมา ในวันที่ 1 กันยายน 1939 แค่ 3 วันถัดมากองทัพเยอรมนีก็บุกเข้าไปยึดประเทศโปแลนด์ และนำไปสู่การประกาศสงครามโลกครั้งที่ 2 และเธอเป็นผู้ที่โทรไปยืนยันกับทางสถานฑูตอังกฤษที่กรุงวอร์ซอ เพื่อยืนยันว่าสงครามได้เริ่มขึ้นแล้ว ตอนแรกทางสถานฑูตไม่เชื่อ จนเธอต้องยื่นหูโทรศัพท์ออกไปนอกหน้าต่าง เพื่อให้ปลายสายได้ยินเสียงเครื่องบินรบ การทำงานของเธอมีส่วนช่วยผู้ลี้ภัยชาวยิวมากถึง 3,000 คน

หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เธอยังคงทำหน้าที่รายงานข่าวในสงครามเวียดนาม แอลจีเรีย อินเดียกับปากีสถาน, อิรัก, เปอร์เซีย และสงครามดินแดนปาเลสไตน์ รวมถึงข่าวปฏิวัติวัฒนธรรมในประเทศจีน เพื่อให้ผู้คนได้เห็นความโหดร้ายของสงคราม แคลร์ ฮอลลิงเวิร์ธ ทุ่มเทให้กับการทำข่าว โดยเธอไปฝึกโดดร่ม หรือแม้กระทั่งเรียนขับเครื่องบิน

แคลร์ ฮอลลิงเวิร์ธเป็นนักข่าวคนแรกที่ได้สัมภาษณ์ โมฮัมเหม็ด เรซาปาห์ลาวีชาห์ หรือพระเจ้าซาร์แห่งประเทศอิหร่าน ในสมัยที่ทรงขึ้นครองราชย์ใหม่

ข่าวสำคัญอีกชิ้นหนึ่งของเธอคือ การรายงานข่าวเกี่ยวกับ คิม ฟิลบี สายลับสองหน้าของอังกฤษ ที่แปรพักตร์ไปเป็นสายลับให้กับโซเวียตในปี 1963 ตอนนั้นเธอทำงานกับหนังสือพิมพ์ The Guardian ตอนแรกพวกเขาไม่ยอมตีพิมพ์เรื่องนี้ เนื่องจากกลัวว่าจะถูกฟ้อง 3 เดือนต่อมา หนังสือพิมพ์ The Guardian จึงรายงานข่าวว่า สายลับคนนั้นเป็นสายลับให้กับโซเวียต

และงานสุดท้ายของเธอก็คือ การเป็นผู้สื่อข่าวให้กับหนังสือพิมพ์ Telegraph ปักกิ่ง หลังจากเกษียณเธอจึงย้ายไปใช้วาระสุดท้ายของชีวิต อยู่ที่ฮ่องกง เพื่อนๆสื่อมวลต่างยกย่องให้เธอเป็นนักข่าวตัวจริง เมื่อปี 2009 ฮอลลิงเวิร์ธได้เคยให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเอเอฟพีไว้ว่า “ถ้ามีสงครามเกิดขึ้นที่ใด และโลกต้องการรู้ ฉันจะไปทำข่าวที่นั่น”