ดาวพฤหัสบดีใกล้โลก เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับดาวพฤหัสบดี

วันที่ 8 เมษายน 2560 นี้จะเป็นวันที่ดาวพฤหัสเข้าใกล้โลกมากสุดในรอบปี ก่อนจะไปชมหรือสังเกตุการณ์ ดาวพฤหัสบดีใกล้โลก เราไปรู้จักกับดาวพฤหัสบดีกันก่อน

jupiter

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับดาวพฤหัสบดี (Jupiter)

• อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 5

• เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ ใหญ่กว่าโลก 11 เท่า เล็กกว่าดวงอาทิตย์ประมาณ 10 เท่า

• ไม่มีพื้นผิวที่เป็นของแข็ง ดาวพฤหัสนั้นเป็นเพียงก้อนกลมของก๊าซและของเหลว ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 142,984 กิโลเมตร

• ดาวพฤหัสบดีนั้นหมุนรอบตัวเร็วมาก โดยใช้เวลาเพียงแค่ 10 ชั่วโมงต่อ 1 รอบ

• เป็นวัตถุที่สว่างเป็นอันดับ 3 บนท้องฟ้าในยามค่ำคืน รองจากดวงจันทร์ และดาวศุกร์

• เป็นดาวมีสายฟ้าฟาดที่ทรงพลัง มากกกว่าสายฟ้าที่แรงที่สุดบนโลกนับพันเท่า

• มีระบบวงแหวนเหมือนดาวเสาร์ แต่มันบางเกินกว่ากล้องดูดาวของเราจะเห็น

• มีแถบเมฆ 2 ประเภท แถบเมฆสีเข้มเรียกว่า แถบเข็มขัด (Belts) แถบสีฟ้าอ่อนเรียกว่าแถบโซน (Zones)

• จุดสีแดงขนาดใหญ่ที่มองเห็นจากไกลๆ เรียกว่า Great Red Spot เป็นพายุหมุนขนาดยักษ์ ที่มีความเร็วลม 250 ไมล์ต่อชั่วโมง มันใหญ่มากจนสามารถกลืนโลกทั้งใบได้ถึง 3 ครั้ง และมีมายาวนานถึง 300 ปี

• สภาพอากาศของดาวพฤหัสเป็นการหมุนวนของหมู่เมฆ พายุคะนอง และพายุเฮอริเครนขนาดยักษ์ยามที่มันหมุนวน

• มีดวงจันทร์โคจรรอบดาวเคราะห์ยักษ์ใหญ่นี้ถึง 67 ดวง ซึ่งยานกาลิเลโอได้ทำการศึกษาดวงจันทร์หลักอยู่ 4 ดวง หรือที่เรียกว่า ดวงจันทร์ของกาลิเลียน (Galilean Moons) ที่ค้นพบโดย กาลิเลโอ กาลิเลอิ นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี ได้แก่

1. ไอโอ (Io) เป็นดวงจันทร์ที่ใกล้ดาวพฤหัสมากที่สุด มีขนาดใหญ่กว่าดวงจันทร์ของโลกเราเล็กน้อย แต่บนไอโอไม่มีสิ่งมีชีวิตเพราะมีซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่พุ่งสูงขึ้นหลายร้อยไมล์ในอาวกาศ พื้นผิวที่แปลกประหลาดของมัน มีสีแดง สีเหลือง จนถูกตั้งชื่อเล่นให้ว่า ดวงจันทร์พิซซ่า

2. ยูโรปา (Europa) เป็นดวงจันทร์ที่ลึกลับที่สุด พื้นผิวของมันเป็นน้ำแข็งซึ่งอาจซ่อนมหาสมุทรไว้ข้างล่าง และที่ไหนมีน้ำที่นั่นก็อาจมีสิ่งมีชีวิต

3. แกนิมีด (Ganymead) เป็นดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ ใหญ่กว่าดาวพุธ แกนิมิดมีลักษณะพื้นผิวที่เต็มไปด้วยแผลและโคลนแช่แข็ง

4. คาลลิสโต (Callisto) เป็นดวงจันทร์ของกาลิเลียนที่อยู่นอกสุด ลักษณะพื้นผิวคล้ายแกนิมีดที่เต็มไปด้วยรอยยับย่นแต่น้อยกว่า และอาจมีมหาสมุทรอยู่ข้างใน

moons of jupiter

ยานสำรวจรุ่นใหม่กำลังตั้งค่าออกไปสำรวจความลึกลับของระบบดาวพฤหัส นั่นคือ ยานจูโน่ ยาน Europa Explorer และยานสอบสวนใต้น้ำ Endurance ทั้งสามภารกิจแต่มีเป้าหมายหนึ่งเดียวเพื่อเผยให้เห็นโลกสิ่งมีชีวิตต่างดาวเหล่านี้

ในยุค 1970 และก่อนยุค 1980 ก่อนที่จะมียานกาลิเลโอนั้น ดาวพฤหัสถูกมองเห็นในระยะไกลจากยานไพโอเนียร์ (Pioneer) และยานยานวอยอาเจอร์ (Voyager) ทำให้เกิดความสงสัยเกี่ยวกับดาวเคราะห์ดวงนี้อย่างมากมาย ดาวพฤหัสก่อตัวได้อย่างไร? พายุขนาดใหญ่มีพลังในการก่อตัวขนาดไหน? หรือทำไมระบบดวงจันทร์ของมันจึงมีการเคลื่อนไหวอย่างมากมาย ยานกาลิเลโอจึงถูกส่งไปสำรวจดาวพฤหัสบดีครั้งแรก 1989 ซึ่งต้องใช้เวลาการเดินทางถึง 6 ปี ภารกิจของยานกาลิเลโอทำให้รู้ว่า การก่อตัวของดาวพฤหัสบดีนั้นมีวิธีที่แตกต่างจากดวงอาทิตย์ ผิดไปจากสมมุติฐานที่นักวิทยาศาสตร์ตั้งไว้

ภารกิจใหม่ในปี 2011 ยานจูโน่จึงถูกส่งให้ไปหาคำตอบ โดยบินเข้าใกล้ดาวพฤหัสบดี และพยายามรวบรวมข้อมูลมากกว่าที่เคยทำกันมาก่อน โดยจะเข้าใกล้ดาวพฤหัสบในจุดที่ต่างกันกับยานสอบสวนของกาลิเลโอ โดยใช้เทคโนโลยีเลเซอร์ไมโครเวฟ และเรดิโอมิเตอร์ในการสแกนหาปริมาณน้ำทั่วทั้งดาวพฤหัส เหล่านักวิทยาศาสตร์หวังว่าการหาข้อมูลที่หายไป จะช่วยไขความลับการก่อตัวของดาวพฤหัสได้

ดาวพฤหัสบดีใกล้โลก

วันที่ 8 เม.ย. 60 ตั้งแต่เวลาประมาณ 18.23 น. เราจะสังเกตุเห็นดาวพฤหัสบดีด้วยตาเปล่าอย่างชัดเจน ทั่วทุกพื้นที่ของประเทศไทย โดยดาวพฤหัสจะขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และตกลับขอบฟ้าไปทางทิศตะวันตก ของเช้าวันที่ 9 เมษายน 2560 เวลาประมาณ 06.14 น. หากใช้กล้องดูดาวเราจะสามารถมองเห็นดวงจันทร์ที่เป็นบริวารของดาวพฤหัสทั้ง 4 ดวง ถ้าอยากเห็น Great Red Spot ก็ให้รอดูในช่วงเวลา 19.00-21.00 น. โดยใช้กล้องโทรทรรศน์ที่มีหน้ากล้องตั้งแต่ 8 นิ้ว และกำลังขยายตั้งแต่ 50 เท่าขึ้นไป ทาง สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) หรือ สดร. เตรียมตั้งกล้องโทรทรรศน์และจัดกิจกรรมสังเกตุการณ์ ดาวพฤหัสบดีใกล้โลก 4 จุด คือ

1. ลานพาร์คพารากอน ศูนย์การค้าสยามพารากอน

2. หอดูดาวสิรินธร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

3. หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา

4. หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา

หรือกิจกรรมตามโรงเรียนต่างๆ อีก 160 แห่ง ติดตามรายละเอียดและสถานที่จัดกิจกรรมเพิ่มเติมที่ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page

ที่มา : สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ และรายการสารคดีจากช่อง new tv