ตัวอักษรบนแป้นพิมพ์ ทำไมถึงไม่เรียง ABC : ประวัติเครื่องพิมพ์ดีด

ประวัติเครื่องพิมพ์ดีด ตัวอักษรบนแป้นพิมพ์ ทำไมถึงไม่เรียง ABC ความเป็นมาของแป้นพิมพ์ QWERTY แป้นพิมพ์ภาษาไทย สาเหตุที่ทำให้มีการตัดตัว ฃ และ ฅ ออกไป และใช้ ข และ ค แทน

ตวอกษรบนแปนพมพ ทำไมถงไมเรยง ABC ประวตเครองพมพดด

ในการพิมพ์ข้อความคุยตอบโต้กันนั้น เรามักต้องการความรวดเร็ว แต่ภาษาไทยนั้นมีทั้งตัวอักษร สระและวรรณยุกต์ เพื่อความรวดเร็วจึงมีการใช้คำย่อหรือพิมพ์กันแบบสั้นๆ เช่น “เด๋ว” แทนที่จะพิมพ์ว่า “เดี๋ยว” จนทำให้ภาษาของเราเริ่มจะเพื้ยนๆไป เคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไมตัวอักษรบนแป้นพิมพ์ถึงสลับที่กัน ทำไมมันไม่เรียงกัน ABC หรือ กขคง ซึ่งน่าจะใช้งานสะดวกมากกว่า แป้นพิมพ์ หรือ คีย์บอร์ดที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน มีชื่อเรียกว่า QWERTY (คิเวอร์ตี้) ซึ่งเรียกกันตามตัวอักษร 6 ตัวแรกที่ปรากฎบนแป้นพิมพ์ แถวบนสุดนับมาจากทางด้านซ้ายมือ 

ประวัติเครื่องพิมพ์ดีด

เมื่อปี ค.ศ.1714 เฮนรี่มิลล์ วิศวกรชาวอังกฤษ ได้คิดค้นเครื่องพิมพ์ดีดขึ้นมาเป็นคนแรก แต่คนที่ผลิตเครื่องพิมพ์ดีดออกมาเป็นเครื่องแรกคือ คริสโตเฟอร์ แลตแฮม โซลส์ (Christopher Latham Sholes) นักหนังสือพิมพ์ชาวอเมริกัน ช่วงแรกๆเขาคิดจะผลิตแค่เครื่องพิมพ์ เพื่อพิมพ์ตัวเลขหน้าหนังสือพิมพ์แบบอัตโนมัติ แล้วตอนหลังได้คิดค้นเครื่องพิมพ์ตัวอักษรขึ้นมาด้วย แต่เครื่องพิมพ์ดีดรุ่นแรกที่ออกมาใน ค.ศ.1867 มีแป้นพิมพ์ดีดที่เรียงตามลำดับตัวอักษร ABC เครื่องพิมพ์สมัยก่อนจะมีก้านพิมพ์ที่ส่วนปลายจะมีอักษรกลับด้านสลับอยู่ เมื่อเราพิมพ์ก้านพิมพ์อักษรที่เรากดก็จะถูกดีดขึ้นมา แล้วตัวอักษรจะกระแทกลงบนผ้าคาร์บอน แล้วทับลงบนกระดาษอีกทีหนึ่ง 

แม้ว่าการจัดเรียงอันดับตัวอักษรแบบนี้ทำ ให้ผู้พิมพ์สามารถพิมพ์ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ซึ่งน่าจะเป็นข้อดีแต่ก็กลับมีปัญหาขึ้น เนื่องจากว่าจะทำเราพิมพ์อย่างเพลิดเพลิน รวดเร็วเกินไปจนกลายเป็นปัญหาแทน เพราะทำให้ก้านพิมพ์มันทำงานขัดกันอยู่บ่อยๆ และต้องเสียเวลาในการแกะก้านพิมพ์ออกจากกัน คริสโตเฟอร์ แลตแฮม โซลส์ จึงทดลองใหม่ ในขั้นแรกเขาเอาอักษรที่ใช้บ่อยที่สุด วางไว้ตรงกลางของแป้นพิมพ์ แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จอีก เพราะก้านก็ยังคงตีกันยุ่งเหมือนเดิม คราวนี้เขาเอาตัวที่ใช้บ่อยที่สุดวางให้ห่างกันมากที่สุด วางอยู่กันคนละฝั่งของแป้นพิมพ์ โดยวางอักษร Q-W-E-R-T-Y ไว้บนแถวบนของแป้นพิมพ์ทางซ้ายมือ การพิมพ์อาจจะช้าลงเล็กน้อยแต่ปัญหาเรื่องก้านพิมพ์ที่ขัดกันก็หมดไปและได้เกิดเป็นแป้นพิมพ์ QWERTY ขึ้นมาให้เราได้ใช้กันในปัจจุบัน

เครองพมพดด เรมงตน ตวอกษรบนแปนพมพ

การพิมพ์ของแป้นพิมพ์ QWERTY อาจจะพิมพ์ได้ช้า อีกทั้งเครื่องพิมพ์ไม่ได้ใช้แบบก้านแล้ว จึงทำให้มีผู้พยายามคิดค้นแป้นพิมพ์แบบใหม่ขึ้นมา อย่างเช่นแป้นพิมพ์ DHIATENSOR ที่มีการวางตัวอักษร 10 ตัวที่เป็นใช้สะกดมากถึง 70% ของคำในภาษาอังกฤษ วางไว้ใกล้ๆกันทำให้พิมพ์ได้เร็วกว่า หรือว่าแป้นพิมพ์แบบ The Dvorak ซึ่งแป้นพิมพ์แบบที่มีคนนิยมค่อนข้างมากก็ตาม แต่โรงเรียนพิมพ์ดีดทั้งหลายรับเอาระบบ Q-W-E-R-T ไปใช้ตั้งแต่ทศวรรษ 1880 จึงกลายเป็นมาตรฐานที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไป ผู้คนคุ้นเคยกับการวางอักษรแบบนี้ จนยากที่จะเปลี่ยนแปลงได้ ถึงแม้ว่าระบบอื่นจะมีประสิทธิภาพมากกว่าก็ตามที ความนิยมและคุ้นเคยของการใช้แป้นพิมพ์ QWERTY จึงทำให้ทั่วโลกยังคงใช้ระบบนี้มาจนถึงปัจจุบัน

ประวัติเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย

เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยเครื่องแรก ถูกนำเข้ามาในสยามเมื่อปี พ.ศ. 2435 โดยนาย Edwin Macfarland เลขาส่วนพระองค์ของรัชกาลที่ 5 ได้สั่งให้มีการผลิตเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยรุ่นแรกออกมามีชื่อว่า สมิทพรีเมียร์ ผลิตโดยบริษัท Smith Premier แต่ว่ามีปัญหาในการวางพยัญชนะ เพราะภาษาไทยมีพยัญชนะมากถึง 44 ตัวอีกทั้งยังมีสระและวรรณยุกต์อีก นั่นจึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มีการตัดตัว “ฃ” และ “ฅ” ออกไปแล้วใช้  “ข” และ “ค” แทน ลักษณะเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยรุ่นแรก มีแป้นพิมพ์ 7 แถว ไม่มีแป้นยกตัวอักษร แคร่พิมพ์นั้นไม่สามารถเลื่อนได้ ดังนั้นจึงพิมพ์แบบสัมผัสยังไม่ได้ เมื่อนาย Edwin Macfarland นำเครื่องพิมพ์ดีดมาถวายรัชกาลที่ 5 พอได้ทดลองพิมพ์ก็ทรงพอพระทัยเป็นอย่างมาก จึงถือได้ว่ารัชกาลที่ 5 เป็นคนไทยคนแรกที่พิมพ์ดีดภาษาไทย 

ต่อมาเมื่อ Edwin Macfarland ถึงแก่กรรม ลิขสิทธิ์เครื่องพิมพ์รุ่นสมิทพรีเมียร์จึงตกเป็นของ พระยาอาจวิทยาคม หรือหมอยอร์ช บี แมคฟาร์แลนด์ (Dr.George Bradley Macfarland) ผู้เป็นน้องชาย และมีการสั่งเครื่องพิมพ์ดีด Smith Premier เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยครั้งแรกในปี พ.ศ. 2440 โดยวางขายในร้านทำฟันของท่านเอง ตอนหลังได้มีการก่อตั้งร้านสมิทพรีเมียร์ขึ้นที่หลังวังบูรพา ซึ่งได้รับความนิยมจากบริษัทห้างร้านต่างๆ เป็นอย่างมาก แป้นพิมพ์ภาษาไทยมีอยู่หลายแบบ เช่น แป้นพิมพ์เกษมณี หรือแป้นพิมพ์ปัตตะโชติ ซึ่งเป็นแป้นพิมพ์ที่ไม่มีอักษรตัว ฃ และ ฅ เช่นกัน

แม้ว่าตัวอักษรบนแป้นพิมพ์จะเรียงสลับกัน จนทำให้พิมพ์ได้ไม่รวดเร็วดั่งใจ แต่มองอีกมุมหนึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะช่วยให้เราได้มีเวลาหยุดคิดสักนิดก่อนที่จะพิมพ์อะไรออกไป และขอให้พวกเราร่วมมือร่วมใจกัน อนุรักษ์ภาษาไทยให้เป็นเอกลักษณ์อยู่คู่ชาติไทยตลอดไป