ซุปเปอร์มูน (Supermoon) คืนวันลอยกระทง 14 พ.ย. 59

ซปเปอรมน Supermoon คนวนลอยกระทง 14 พ.ย. 59

ซุปเปอร์มูน (Supermoon) คืนวันลอยกระทง 14 พ.ย. 59

คืนวันลอยกระทง วันจันทร์ที่ 14 พ.ย. 2559 ปีนี้ห้ามพลาดชม ซุปเปอร์มูน (Supermoon) หรือปรากฏการณ์ที่พระจันทร์โคจรเข้ามาใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี ซึ่งเราจะเรียกกันว่า “ซุปเปอร์มูน” พระจันทรจะมีขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น 14 เปอร์เซ็นต์ แล้วก็จะส่องสว่างขึ้นกว่าปรกติถึง 30 เปอร์เซ็นต์ เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ ปรากฏการณ์ซุปเปอร์มูนที่พระจันทร์เคลื่อนเข้าใกล้โลกที่สุด มีขนาดใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2491 หรือเมื่อ 68 ปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ยังบอกไว้ด้วยว่า หากพลาดชมในวันที่ 14 พ.ย. 59 นี้ ต้องรอไปชมในอีก 18 ปีข้างหน้าถึงจะได้เห็นอีกครั้งหนึ่ง ตามการวิเคราะห์ของนักวิทยาศาสตร์ ปรากฎการณ์ซุปเปอร์มูนลักษณะนี้ จะเกิดขึ้นอีกครั้งในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2577 เรียกว่าต้องรอกันอีกนานเลยทีเดียว

เปรจ perigee และ อะโปจ apogee

โดยปรกติแล้วดวงจันทร์มีลักษณะการโคจรรอบโลกของเราเป็นรูปวงรี โดยหนึ่งรอบจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ดังนั้นในแต่ละเดือนก็จะมีตำแหน่งของดวงจันทร์ทีใกล้โลกมากที่สุดเรียกว่า เปริจี (perigee) มีระยะทางประมาณ 356,000 กิโลเมตร และตำแหน่งที่ไกลโลกของเรามากที่สุดเรียกว่า อะโปจี (apogee) ซึ่งมีระยะทางประมาณ 407,000 กิโลเมตร แม้ว่าดวงจันทร์จะโคจรเข้ามาใกล้โลกทุกเดือน แต่ดวงจันทร์จะไม่ปรากฎเต็มดวงทุกครั้ง ดวงจันทร์เต็มดวงและอยู่ในตำแหน่งใกล้โลกเรามากที่สุดจะเกิดขึ้นทุกๆ 411 วันหรือประมาณ 13 เดือนกว่าๆ

นักวิทยาศาตร์ได้ทำการคำนวณไว้ว่า ดวงจันทร์เต็มดวงและอยู่ในตำแหน่งใกล้โลกเรามากที่สุดที่จะเกิดขึ้นอีกครั้งในวันที่ 2 มกราคม 2561 ดวงจันทร์ที่ระยะทางประมาณ 356,565 กิโลเมตร ซึ่งปรากฎการณ์ที่ดวงจันทร์โคจรเข้ามาใกล้โลก แล้วในขณะเดียวกันโลกเราจะหมุนรอบตัวเองและโคจรรอบดวงอาทิตย์ไปด้วย จึงทำให้ทิศทางของแรงที่มากระทำต่อโลกนั้นเปลี่ยนไป จนทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลหนุนหรือที่เรียกว่าน้ำขึ้นน้ำลง แต่มิได้ส่งผลให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติแต่อย่างใด

ซปเปอรมน Supermoon

การเปรียบเทียบขนาดของดวงจันทร์ จากรูปภาพทางซ้ายมือ ขนาดของดวงจันทร์ที่โคจรเข้ามาใกล้โลกที่สุด (perigee) เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2549 โดยอยู่ห่างจากโลกเพียงแค่ 356,896 กิโลเมตร ส่วนภาพทางขวามือ ขนาดของดวงจันทร์ที่โคจรไกลโลกที่สุด (apogee) เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2549 ดวงจันทร์อยู่ไกลจากโลก 402,927 กิโลเมตร  เราจะเห็นว่าระยะทางที่ใกล้เข้ามาจะทำให้เราเห็นขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น 14 เปอร์เซ็นต์ และส่องสว่างมากขึ้นถึง 30 เปอร์เซ็นต์  (Credit: Sky and Telescope, Laurent Laveder)

ความจริงแล้วในปี 2559 นี้ จะมีปรากฎการณ์ซุปเปอร์มูนเกิดขึ้นถึง 3 ครั้งด้วยกันคือ ครั้งแรกในคืนวันที่ 16 ตุลาคม ครั้งที่สองคืน ในคืนวันลอยกระทง ที่ 14 พฤศจิกายน และครั้งที่สาม จะเกิดขึ้นในคืนวันที่14 ธันวาคม แต่ว่าพระจันทร์จะเคลื่อนเข้าใกล้โลกและมีขนาดใหญ่ที่สุด คือในคืนที่ 14 พฤศจิกายน นักวิทยาศาสตร์บอกไว้อีกด้วย ว่าปรากฎการณ์ที่จะเกิดขึ้น จะเป็นซุปเปอร์มูนที่ใหญ่ที่สุดของศตวรรษที่ 21 ลอยกระทงเสร็จแล้วก็อย่าลืมติดตามชมปรากฎการณ์ซุปเปอร์มูนกันนะคะ

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับชื่่อ ซุปเปอร์มูน (Supermoon) 

ถ้าเราไปหาข้อมูลในเวปภาษาอังกฤษเราจะเห็นฝรั่งเรียกซุปเปอร์มูนที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันลอยกระทงนี้ว่า The Beaver Moon หรือ The Hunter’s Moon ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า ในสมัยก่อนชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาจะตั้งชื่อพระจันทร์ในแต่ละเดือนแตกต่างกันออกไป แล้วแต่สภาพอากาศและฤดูกาล ในเดือนพฤศจิกายนอากาศก็จะเริ่มย่างเข้าสู่ฤดูหนาว ตัวบีเวอร์จะพากันเอาดินมาอุดรังเพื่อเตรียมรับมือกับฤดูหนาวที่กำลังจะมาถึง The Beaver Moon เป็นชื่อเรียกตามแบบชนพื้นเมือง แต่ตอนหลังชาวยุโรปย้ายไปตั้งถิ่นฐานในทวีปอเมริกากันมากขึ้น จึงมีการเรียกชื่อพระจันทร์ในเดือนพฤศจิกายนว่า The Hunter’s Moon ที่พอใบไม้ร่วงอาหารสัตว์ป่าก็อุดมสมบูรณ์ ผู้คนจะออกไปล่าสัตว์เพื่อนำมากักตุนไว้ในฤดูหนาวทีกำลังจะมาถึง