วันสืบ นาคะเสถียร 1 กันยายน การจากไปของวีรบุรุษ แห่งห้วยขาแข้ง

วนสบ นาคะเสถยร 1 กนยายน

วันสืบ นาคะเสถียร 1 กันยายน การจากไปของวีรบุรุษ แห่งห้วยขาแข้ง  

แม้ว่าวีรบุรุษ แห่งห้วยขาแข้ง ได้จากพวกเราไปนานนับ 26 ปี  แต่ทุกวันที่ 1 กันยายน ของทุกปีคือ วันสืบ นาคะเสถียร เพื่อระลึกถึงคุณงามความดีของวีรบุรุษท่านนี้ที่ยอมสละชีพเพื่อรักษาป่าไม้และสัตว์ป่าเอาไว้ วันนี้ maanow.com จะพาไปรู้จักกับชีวประวัติผู้พิทักษ์แห่งผืนป่าห้วยขาแข้งกันค่ะ

ประวัติ สืบ นาคะเสถียร 

สืบ นาคะเสถียร มีชื่อเดิมว่า สืบยศ และมีชื่อเล่นว่า แดง เกิดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2492 ที่ตำบลท่างาม อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2492 เป็นลูกชายของ คุณพ่อสลับ นาคะเสถียร ซึ่งเป็นอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี และ คุณแม่บุญเยี่ยม นาคะเสถียร  มีพี่น้องด้วยกันทั้งหมด 3 คน ซึ่งเขาเป็นพี่ชายคนโต และมีน้องชายคนกลางชื่อ กอบกิจ นาคะเสถียร กับน้องสาวคนสุดท้องชื่อ กอบกิจ นาคะเสถียร 

สืบ นาคะเสถียร ได้เข้าศึกษาระดับประถมตอนต้นที่โรงเรียนประจำจังหวัดปราจีนบุรี แล้วย้ายมาเรียนต่อที่โรงเรียนเซนต์หลุยส์ จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อเรียนจบมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในปี พ.ศ. 2511 เขาก็สามารถเข้าศึกษาระดับปริญญาตรีที่คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ และจบการศึกษาระดับปริญญาตรีในปี พ.ศ. 2514 ต่อมาเขาก็ได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโทในสาขาวิชาวนวัฒนวิทยา คณะวนศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และจบการศึกษาระดับปริญญาโทเมื่อปี พ.ศ. 2518 

หลังจากนั้นสืบ นาคะเสถียร ก็ได้เริ่มเข้ามาทำงานที่แก่งเชี่ยวหลานเป็นที่แรก จากนั้นเขาก็มาทำงานที่ห้วยขาแข้ง เมื่อปี พ.ศ. 2532 และในช่วงปลายปี เขาก็ได้รับทุนไปเรียนต่อในระดับปริญญาเอกที่ประเทศอังกฤษ โดยผลงานทางวิชาการของ สืบ นาคะเสถียร ก็มีมากมายซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลงานการวิจัยเกี่ยวกับสัตว์ โดยเฉพาะด้านการสำรวจกวางผา เลียงผา และนก นอกจากนั้นเขายังได้เป็นอาจารย์พิเศษ ประจำภาคชีววิทยาในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อีกด้วย หลังจากที่เรียนจบในระดับปริญญาเอกเขาก็ได้กลับมาประสานงานเรื่องอนุรักษ์สัตว์ป่า ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้งเพื่อมรดกโลก แต่กลับไม่ประสบผลสำเร็จ ด้วยความที่เขาเป็นคนมีความรักและหวงแหนในสิ่งแวดล้อม เขาจึงมีความมุ่งมั่นสูงมากที่จะพยายามอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเอาไว้ 

วนสบ นาคะเสถยร 1 กนยายน 2

แต่ด้วยความพยายามของเขาที่ประสบผลสำเร็จน้อยและแรงกดดันจากหลายๆ ด้าน ทำให้เขาต้องตัดสินใจเรียกร้องต่อหน่วยงานภาครัฐให้ใส่ใจต่อการอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างแท้จริง เขาจึงได้ตัดสินใจฆ่าตัวตายโดยใช้อาวุธปืนยิงเข้าไปบริเวณศีรษะด้านขวา แต่ก่อนที่เขาจะลงมือฆ่าตัวตายนั้นในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2533 เขาก็ยังคงทำงานตามหน้าที่ปกติและได้จัดการทรัพย์สินที่หยิบยืมกับทรัพย์สินส่วนตัวของเขาเพื่อเป็นการอุทิศเครื่องมือของเขาให้กับสถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ หลังจากนั้นในช่วงเวลากลางคืน ก็มีเสียงปืนดังลั่นและมีคนมาพบศพของเขาในตอนเช้า

หลังจากนั้น 2 สัปดาห์ต่อมาทางข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ก็ได้มีการประชุมกำหนดมาตรการป้องกันการบุกรุกป่าห้วยขาแข้งเกิดขึ้น ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว สืบ นาคะเสถียร พยายามอยู่เสมอแต่กลับไม่เป็นผล ทำให้การประชุมในครั้งนี้มีผู้คนได้กล่าวไว้ว่า หากไม่มีเสียงปืนในวันนั้นก็ไม่มีการประชุมดังกล่าวเกิดขึ้น หลังจากสิ้นเสียงปืนจึงทำให้มีการจัดวันที่สืบเสียชีวิต วันที่ 1 กันยายน ของทุกปีให้เป็น « วันสืบ นาคะเสถียร » ขึ้นเพื่อเป็นการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ป่า สัตว์ป่าให้คงมีอยู่ต่อไป