เน็ตตี้ สตีเวนส์ (Nettie Stevens) Google Doodle

เนตต สตเวนส Nettie Stevens Google Doodle

เน็ตตี้ สตีเวนส์ (Nettie Stevens) : Google Doodle 

วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 เป็นวันคล้ายวันเกิดของ เน็ตตี้ สตีเวนส์ (Nettie Stevens) เราจะเห็นว่า Google อุทิศ Doodle ในวันนี้เพื่อเป็นเกียรติแก่นักวิจัยด้านพันธุ์ศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ผู้ค้นพบโครโมโซมเพศถ้าเธอยังมีชีวิตอยู่ในวันนี้เธอจะมีอายุครบ 155 ปี

เน็ตตี้ สตีเวนส์ หรือชื่อจริงของเธอคือ เน็ตตี้ มาเรีย สตีเวนส์ (Nettie Maria Stevens) เกิดเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1861 ที่เมือง คาเวนดิช รัฐเวอร์มอนท์ สหรัฐอเมริกา จบการศึกษาจาก Westfield Normal School ตอนนี้เปลี่ยนชื่อเป็น Westfield State University รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกาพอจบการศึกษาเธอก็ทำงานเป็นอาจารย์สอนหนังสือและบรรณารักษ์ เน็ตตี้ สตีเวนส์นั้นมีความสนใจในด้านชีววิทยามาก จนกระทั่งอายุ 35 ปี เธอได้ศึกษาต่อที่ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด รัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยสมัยใหม่ที่อนุญาติให้นักศึกษาสามารถเลือกเรียนสาขาที่ตัวเองสนใจได้ 

เนตต สตเวนส Nettie Stevens Google Doodle

ในปี ค.ศ. 1900 เน็ตตี้ สตีเวนส์ได้ย้ายไปอยู่ที่ Bryn Mawr College เพนซิลเวเนีย แม้ว่าในปี ค.ศ. 1902 Clarence E. McClung จะได้ทำการศึกษาและนำเสนอเกี่ยวกับเรื่องโครโมโซม แต่เน็ตตี้ สตีเวนส์ ก็เป็นผู้หญิงคนแรกที่ทำให้คนรู้จักเธอในฐานะนักวิจัยด้านพันธุ์ศาสตร์ (Geneticist) หญิงคนแรกที่ค้นพบและอธิบายเรื่องราวของโครโมโซมที่ใช้ในการระบุเพศ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ ระบบโครโมโซม XY

งานวิจัยของเธอถูกตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1905 โดยสมมติฐานว่าเพศจะถูกกำหนดโดยโครโมโซมหนึ่งที่แตกต่างจากโครโมโซมอื่นทั้งหมด โดยเธอได้ทำการย้อมสีตัวอ่อนของด้วงหนอนนก (Mealworms) จำนวน 241 ตัวอย่าง หลังจากการผสมพันธุ์ด้วยสเปิร์มแล้วส่องด้วยล้องจุลทรรศน์แล้วพบว่ามีหนึ่งตัวอย่างที่โครโมโซมนั้นมีขนาดเล็กต่างจากตัวอื่นซึ่งต่อมาก็ป็นที่รู้จักกันว่าเป็นโครโมโซม Y ของเพศชายนั่นเอง ผลงานวิจัยของเธอพอจะอธิบายได้ดังนี้

“โดยปรกติแล้วคนเรานั้นจะมีโครโมโซมด้วยกันทั้งหมด 23 คู่ และโครโมโซมคู่สุดท้าย หรือคู่ที่ 23 นั้นจะเป็นคู่ที่ใช้ในการระบุเพศของมนุษย์แต่ละคน ถ้าโครโมโซมคู่สุดท้ายเหมือนกันคือเป็นแบบ XX ก็สามารถระบุได้ว่าคนๆ นั้นเป็นเพศหญิง สำหรับเพศชายนั้นจะมีโครโมโซมคู่สุดท้ายไม่เหมือนกันคือเป็นแบบ XY”

ต่อมาในปี ค.ศ. 1910 โทมัส ฮันท์ มอร์แกน (Thomas Hunt Morgan) ได้นำเรื่องการค้นพบโครโมโซมเพศที่เน็ตตี้ สตีเวนส์ไปศึกษาค้นคว้าต่อ จนพบว่ามียีนที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมอยู่บนโครโมโซม ยีนด้อยที่ควบคุมและทำให้ตาของแมลงหวี่เป็นสีขาวนั้นมีตำแหน่งอยู่บนโครโมโซมเพศ

เป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่เน็ตตี้ สตีเวนส์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ.1912 ด้วยโรคมะเร็งเต้านม ที่เมืองบัลติมอร์ รัฐแมรี่แลนด์ สหรัฐอเมริกา ในขณะที่เธอมีอายุเพียงแค่ 51 ปี