ประวัติธงชาติไทย ธงสยาม ความเป็นมาของธงชาติ

 

ประวัติธงชาติไทย ความเป็นมาของธงชาติไทย ธงไตรรงค์  และธงสยามแบบต่างๆ วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2560 วันครบรอบ 100 ปี ธงชาติไทย ได้มีการประกาศให้วันนี้เป็น “วันพระราชทานธงชาติไทย” 

ประวตธงชาตไทย ธงสยาม

ประวัติธงชาติไทย ธงสยาม มีความเป็นมาอย่างไร 

นิยามของคำว่า “ธงชาติ” คือ สิ่งหนึ่งที่แสดงถึงความเป็นเครื่องหมาย ซึ่งในแต่ละยุคสมัยนั้นก็จะมีธงที่แตกต่างกันออกไปในอดีตธงจะมีความสำคัญในเรื่องการนำทัพออกรบ การริเริ่มใช้ธง ในอดีตเมื่อสมัยก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ ยังไม่ได้มีการบัญญัติเรื่องเกี่ยวกับธงชาติไว้เลย ไม่ว่าจะเป็นขนาดของธง สีของธง สัญลักษณ์ที่อยู่บนธง เป็นต้น โดยธงที่ใช้ในสมัยนั้นจะขึ้นอยู่กับการนำทัพออกรบ เพราะหากทัพใหญ่ออกรบใหญ่ ธงก็จะใหญ่ตามเช่นกัน การเริ่มใช้ธงในสมัยนั้น ก็เพื่อให้ธงเป็นเครื่องหมายประจำกองทัพในสมัยโบราณ

ธงผืนแรกที่ประเทศไทยใช้ยังไม่ปรากฏเป็นที่แน่ชัด แต่พบหลักฐานที่คาดว่า อาจจะเกิดขึ้นเมื่อสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพราะฝรั่งเศสมีการจดบันทึกไว้ว่า เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2223 ว่า “เลอรโวตูร์” เรือรบฝรั่งเศสได้นำเรือมาถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อเจรฺญพระราชไมตรี นายเรือได้สอบถามทางกรุงศรีอยุธยา ถ้าจะยิงสลุตให้ชาติไทยเวลาที่เรื่อผ่านป้อม ตามธรรมเนียมของชาวยุโรป สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงอนุญาติ ทางฝรั่งเศสจึงขอให้ให้ไทยชักธงขึ้นยอดเสา ตอนนั้นเรายังไม่มีธงชาติ จึงใช้ธงของฮอลันดาชักขึ้นไป ทางฝรังเศสจึงขอให้เราเอาธงของฮอลันดาลง แล้วชักธงอย่างหนึ่งอย่าใดขึ้นแทน เนื่องจากผ้าสีแดงนั้นหาง่าย ทางฝั่งเราจึกชักธงผ้าสีแดงขึ้นไป 

ประวตธงชาตไทย ธงสยาม 1

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ธงจะมีลักษณะเป็นผืนผ้าสีแดงล้วน และมีวงจักรสีขาวอยู่ตรงกลาง ซึ่งวงจักรเป็นหนึ่งในของอาวุธ ของพระนารายน์ ที่มาของผืนผ้าแดงก็เป็นเพราะว่า สีแดงเป็นสีที่เห็นเด่นชัดที่สุดในทางวิทยาศาสตร์ การนำทัพในสมัยกรุงศรีอยุธยาก็ใช้ธงสีแดงอยู่แล้ว ซึ่งธงในลักษณะนี้จะใช้เฉพาะกับเรือหลวงเท่านั้น 

ส่วนประชาชนคนธรรมดาทั่วไปจะใช้ธงเป็นสีแดงล้วน สาเหตุที่มีการห้ามประชาชนทั่วไป ไม่ให้มีใช้ธงที่มีวงจักรตรงกลางก็เป็นเพราะว่า วงจักรนั้นเป็นอาวุธของพระนารายน์ ซึ่งตามตำนานได้กล่าวไว้ว่าพระนารายน์ได้อวตารมาเป็นรัชกาลที่ 1 หรือพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี ดังนั้นวงจักรก็เปรียบเสมือนของสูงประจำพระมหากษัตริย์ สามัญชนคนธรรมดาจึงไม่เหมาะสมที่จะใช้นั่นเอง

ประวตธงชาตไทย ธงสยาม 2

ต่อมาในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2  ได้ทรงโปรดให้สร้างเรือกำปั่นหลวง 2 ลำ เพื่อค้าขามกับสิงคโปร์และมาเก๊า และได้มีการชักธงแดงตรงกลางเป็นวงจักร แต่เรือชวากับมาลายูก็มีการชักธงแดงเช่นกัน เจ้าเมืองสิงคโปร์ จึงขอให้เปลี่ยนไปใช้ธงอย่างอื่น ประกอบกับประเทศสยาม ได้ช้างเผือกเอกมาถึง 3 เชือก การที่เรามีช้างเผือกพร้อมกันถึง 3 ช้าง ไม่มีแผ่นดินใดเคยมีช้างเผือกพร้อมกันมากขนาดนี้ จึงทำให้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ทรงดำริให้นำรูปช้างไว้ตรงกลางวงจักร และให้ชักธงนี้บนเรือกำปั่นหลวง 2 ลำนั้นด้วย ส่วนเรือพ่อค้าทั่วไปยังคงเป็นสีแดงล้วนเหมือนเดิม ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 1-3 ธงจะถูกใช้บนรถเรือกําปั่น เพื่อการค้ากับต่างประเทศ และยังไม่ได้มีการปักธงบนแผ่นดิน เนื่องจากในสมัยนั้นชนชาวมอญ ชาวลาว ชาวพม่า และชาวสยามได้อาศัยอยู่กันแบบบ้านพี่เมื่องน้อง

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ประเทศสยามเริ่มมีการค้าขายกับต่างประเทศมากขึ้น ทำให้ประชาชนที่ใช้ธงสีแดงล้วนไปซ้ำกับธงชวา หรือธงของประเทศอื่น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้ประชาชนมีธงเป็นของตนเอง โดยเปลี่ยนมาใช้ธงแดงที่มีช้างตรงกลาง วงจักรที่เคยมีอยู่ก็จะหายไป ขยายขนาดช้างให้ใหญ่ขึ้น จึงเป็นธงแบบแรกที่ประชาชนทั่วไป สามารถนำมาใช้ได้ทั่วทั้งแผ่นดิน โดยเราเรียกธงนี้ว่า “ธงสยามแบบช้างเผือก

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยาม ลงวันที่ 25  มีนาคม พ.ศ. 2434 กำหนดธงต่างๆถึง 13 ชนิด นับเป็นครั้งแรกที่มีการกำหนดลักษณะธงชาติไทยไว้อย่างแน่นอน เรียกว่า “ธงชาติสยาม” มีลักษณะเป็นธงรูปช้างเผือกพื้นสีแดงสำหรับเรือใช้สำหรับกำปั่น และเรือของพ่อค้าทั่วไป ส่วนเรือหลวงใช้ “ธงช้างเผือกทรงเครื่องยืน

ประวตธงชาตไทย ธงสยาม 4

การเปลี่ยนแปลงกลายมาธงอีกครั้ง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ หรือเรียกได้ว่าเป็นอุทกภัยครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศสยามของเราเลยก็ว่าได้ จากเหตุการณ์นี้เอง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้เสด็จเยี่ยมเยียนประชาชน โดยทรงเสด็จไปทางด้านตะวันออก เรื่อยไปจนถึงจังหวัดอุทัยธานี โดยเฉพาะที่เขาสะแกกรัง และมีคุณยายท่านหนึ่งพยายามที่จะหาธงช้างเผือกมาประดับ เพื่อเป็นการรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ว่าธงช้างเผือกในสมัยนั้นค่อนข้างที่จะหาได้ยาก เพราะว่าส่วนใหญ่ถูกทำขึ้นที่ยุโรป คนธรรมดาทั่วไปอาจจะหาไม่ได้เลย 

แต่ปรากฏว่าคุณยายท่านนี้สามารถหาธงช้างเผือกมาได้ และมีความตั้งใจแน่วแน่ว่า จะนำธงช้างเผือกผืนนี้มารับเสร็จที่วัดเขาสะแกกรัง  เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาถึง คุณยายก็ได้นำธงไปประดับที่บ้าน โดยไม่ทันได้สังเกตุเลยว่า ธงที่แกนำออกมาโชว์ให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงทอดพระเนตรเห็นนั้น ช้างที่อยู่ในธงมีลักษณะกลับหัว และการที่ช้างอยู่ในลักษณะกลับหัวเช่นนี้เป็นการสื่อถึงเจตนาที่ไม่เป็นมงคลอย่างยิ่ง เนื่องจากช้างเผือกเปรียบเสมือนตัวแทนของพระมหากษัตรย์ หากช้างเผือกล้มก็ส่อความหมายไปในทางที่ว่า พระมหากษัตรย์นั้นอาจจะเสด็จสวรรคต แต่คุณยายท่านนี้ไม่ได้มีเจตนาเช่นนั้นเลยแม้แต่น้อย 

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรเห็นเช่นนั้น พระองค์ทรงคิดตลอดการเดินทางกลับว่า หากยายแก่ผู้นี้ไม่ได้มีเจตนาประดับธงไว้เช่นนั้น ก็ต้องมีคนอื่นอีกหลายคน ที่ไม่ได้มีเจตนาจะประดับธงกลับหัวแบบนี้อีก ระหว่างที่กำลังเสร็จกลับพระนคร พระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นธงประชาชนคนอื่นๆ ที่ไม่สามารถหาธงช้างเผือกมาประดับไว้ได้ ก็จะนำธงสีแดงและสีขาวมาประดับไว้แทน โดยสีแดงก็คือสีของผืนธง ส่วนสีขาวนั้นเปรียบเหมือนกับสีของช้างเผือก จากเหตุการณ์นี้เอง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้เปลี่ยนธงให้เป็นธงสีแดงสลับขาวในปี พ.ศ.2459 เพื่อให้ประชาชนสามารถหาได้ง่าย และจะได้ไม่เกิดเหตุการณ์การกลับหัวของช้างเผือกอีกด้วย โดยธงแบบนี้เรียกว่า “ธงชาติสยามแบบ 5 ริ้ว” ซึ่งลักษณะของธงนั้น จะเป็นสีแดงขาวสลับกัน 5 ริ้ว ส่วนตรงกลางจะเป็นสีแดงขนาดใหญ่ว่าริ้วอื่นๆ เล็กน้อย

ประวตธงชาตไทย ธงสยาม 5

ต่อมาเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้นในปี พ.ศ. 2460 ทางเราได้ร่วมกับกลุ่มสัมพันธมิตร ซึ่งธงชาติของกลุ่มสัมพันธมิตร มักจะเป็นธง 3 สี เช่น ประเทศฝรั่งเศส ประเทศอังกฤษและอเมริกา ที่มี 3 สี คือสีแดง ขาว น้ำเงิน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราขดำริว่า หากเราต้องการที่จะเข้าร่วมกลุ่มสัมพันธมิตรและชนะสงครามร่วมกัน ธงชาติเราก็ควรที่จะเป็นธงที่มี 3 สีเช่นกัน มีการระบุไว้ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2460 ไว้อย่างชัดเจนว่า ประเทศสยามได้เข้าร่วมสงครามครั้งที่ 1 และมีการเปลี่ยนแปลงสีของธงชาติเป็นแบบ ไตรรงค์ (ไตร แปลว่า สาม ส่วน รงค์ แปลว่า สี) โดยลักษณะของธงชาติไทยยังคงเป็น 5 ริ้วเช่นเดิม โดยสีแดงตรงกลางเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินขาปหรือสีน้ำเงินอมม่วงแทน เป็นธงชาติ  แดง ขาว น้ำเงินอมม่วง ที่ใช้กันจนมาถึงปัจจุบันนี้

ธงไตรรงค์ก็คือธงสยาม และ ธงชาติไทยในปัจจุบัน

ชื่อ “ประเทศไทย” ได้ถูกเปลี่ยนชื่อมาจาก “ประเทศสยาม” เมื่อปี พ.ศ. 2482 ส่วนธงไตรรงค์ที่เราใช้กันมาจนถึงทุกวันนี้ ได้ถูกเปลี่ยนมาก่อนหน้านี้ นับตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2460 ดังนั้นในช่วงปี พ.ศ. 2460 – พ.ศ. 2481 ธงไตรรงค์ ก็จะมีเชื่อเรียกว่า “ธงชาติสยาม” จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2482 ที่เราเปลี่ยนมาเรียกธงไตรรงค์ว่า “ธงชาติไทย” ที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองมาจนถึงปัจจุบัน ภาพข้างล่างเป็น ธงไตรรงค์ และสัดส่วนของธงชาติ

วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2560 เป็นวันครบรอบ 100 ปี ธงชาติไทยหรือธงไตรรงค์ ได้มีการประกาศให้วันนี้เป็น “วันพระราชทานธงชาติไทย” ซึ่งถือได้ว่าเป็นวันแรกในประวัติศาสตร์ชาติไทย 

ประวตธงชาตไทย ธงสยาม

เกร็ดความรู้ : ธงสามสีของประเทศไทยเราไม่ได้เกิดขึ้นมาจากสงครามโลกครั้งที่ 1 เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะว่าจริงๆ แล้วสีน้ำเงินที่ประเทศไทยเราเลือกมาใช้กับธงชาติไทยจะเป็นลักษณะของสีน้ำเงินปนม่วงหรือเรียกว่าสีน้ำเงินขาป ซึ่งสีนี้มาจากเมื่อสมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จราชสมภพในวันเสาร์ซึ่งเป็นสีม่วงและสีน้ำเงินขาปนี้เป็นสีทรงโปรดของพระองค์อีกด้วย ฉะนั้นสีน้ำเงินของธงไตรคงค์ของชาติไทยเราจึงไม่ใช่สีน้ำเงินธรรมทั่วไปแต่เป็นสีน้ำเงินอมม่วงนั่นเอง

ทราบหรือไม่ว่า การชักธงชาติลงจากเสาในเวลาแล้วปล่อยให้ธงชาติพันคาทิ้งไว้ที่เสาเป็นการกระทำที่ไม่อันควร ขัดต่อพระราชบัญญัติ ตามมาตรา 53 ของพรบ.ธง หมวดที่ 10 (ปี 2522) โดยธรรมเนียม เมื่อมีการชักธงชาติลงจากเสาแล้ว ควรพับเป็นสามเหลี่ยม วางบนพานแล้วอันเชิญไปเก็บที่ห้อง แต่ทั้งหมดดูที่เจตนา ไม่ได้เป็นข้อบังคับ รวมถึงการปล่อยให้ธงขาดวิ่น ถือเป็นความผิดตามกฎหมาย แต่ทั้งหมดทั้งมวลคือจิตสำนึกที่จะดูแลรักษาให้ธงชาติไทยนั้นดูสง่างาม เป็นสิ่งที่พวกเราร่วกันภาคภูมิใจ

ที่มา : พิพิธภัณฑ์ ธงชาติไทย