วันลอยกระทง ประวัติความเป็นมาของเทศกาลลอยกระทง

วนลอยกระทง ประวตความเปนมาเทศกาลลอยกระทง

วันลอยกระทง ประวัติความเป็นมาของเทศกาลลอยกระทง

วันลอยกระทง ปี 2559 นี้ตรงกับวันจันทร์ ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ปีวอก วันนี้เรามีประวัติความเป็นมาของวันลอยกระทง และประวัติเกี่ยวกับนางนพมาศมาฝากกัน

ประวัติวันลอยกระทงและประวัตินางนพมาศ

ยังไม่เด่นชัดว่า เทศกาลลอยกระทงนั้นมีมาตั้งแต่เมื่อไหร่ มีเพียงมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่ปรากฏในศิลาจารึกแผ่นที่ 1 หรือเมื่อประมาณปี พ.ศ. 1800 ที่ได้กล่าวถึง พิธีจองเปรียง ที่มีการลอยเทียนประทีบ การลอยพระประทีบ การลอยโคม หรือ งานเผาเทียนเล่นไฟ ไว้ว่า เป็นงานรื่นเริงใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย จึงทำให้มีการสันนิษฐานว่าอาจเป็นงานลอยกระทง ดังที่ปรากฎในหลักฐานใน “เรื่องนางนพมาศ หรือ ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์”  ที่กล่าวถึงนางนพมาศผู้เป็นสนมเอกของพระร่วง ถึงเรื่องที่นางเป็นผู้ประดิษฐ์กระทงคล้ายๆกับรูปดอกบัวบานขึ้นมาอย่างสวยงามในพระราชพิธีจองเปรียงแทนการใช้โคม จนเป็นที่พอพระทัยของพระร่วง และมีพระบนมราชโองการให้พิธีลอยกระทง ในคืนวันเพ็ญเดือน 12 เป็นประจำทุกปี และนางนพมาศก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นท้าวศรีจุฬาลักษณ์ รวมถึงเป็นสัญลักษณ์ของวันลอยกระทง มาจนกระทั่งทุกวันนี้  

วนลอยกระทง สพรรณบร

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีความชัดเจนว่างานเผาเทียนเล่นไฟนั้นเป็นงานลอยกระทง ประวัติความเป็นมาประเพณีลอยกระทง ว่ามีมาตั้งแต่เมื่อไหร่ยังไม่มีการบันทึกไว้อย่างเด่นชัด ศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน ซึ่งเป็นผู้ศึกษาถึงคติความเชื่อของไทยและชนต่างๆ ในเอเชีย แล้วไม่พบเค้ามูลดั้งเดิมที่แท้จริง มีแต่เพียงเรื่องเล่าที่แต่งเติมขึ้น ตามที่ท่านได้เขียนในประเพณีเกี่ยวกับเทศกาลต่างๆไว้ว่า “การลอยกระทงจะเป็นคติของชนชาติที่ประกอบการกสิกรรม เมื่อพืชพันธุ์ ธัญชาติงอกงามดี จึงขอบคุณแม่คงคาที่ประทานน้ำมาให้อุดมสมบูรณ์ เรื่องขอขมาลาโทษแม่แม่คงคา ก็มีเค้ามาในทำนองนี้”

นอกจากนี้แล้วนักประวัติศาสตร์ท่านอื่นๆ อาทิ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ศาสตราจารย์ ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ และสุจิตต์ วงษ์เทศ ที่สงสัยการมีตัวตนจริงของนางนพมาศและงานลอยกระทงว่า ไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอ้างอิงภาพจิตรกรรม การสร้างกระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่ 1 เป็นการขอขมาพระแม่คงคาที่มนุษย๋ได้ใช้ ได้ดื่มกินน้ำ รวมถึงการทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงในแม่น้ำลำคลอง 

ประเพณีลอยกระทงในภาคกลาง 

งานนักขัตฤกษ์ประจำปี ชาวบ้านจะเย็บกระทงด้วยใบตองหรือกาบพลับพลึงเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ตามแต่จะคิดประดิษฐ์ กัน แล้วปักธูปเทียนใส่ดอกไม้ พอตกค่ำจึงพากันกันไปที่ท่าน้ำ จุดธูปเทียนและตั้งจิตอธิษฐาน แล้วปล่อยกระทงลอยตามน้ำไป ในวันเพ็ญสิบสองนี้ สมัยก่อนเมื่อถึงเวลาเที่ยงคืน พระจันทร์อยู่ตรงศีรษะพอดี ชาวบ้านจะตักน้ำใส่ตุ่มไว้กินและอาบ ด้วยถือกันว่าเป็นช่วงเวลาที่น้ำนิ่งและใสสะอาดที่สุด 

การลอยโคม วนลอยกระทง ประวตวนลอยกระทง

ประเพณีลอยกระทงในภาคเหนือ

ในภาคเหนือเรียกว่า “ยี่เป็ง” เดือนยี่หมายถึงเดือน 12 หากนับแบบปฏิทินชาวล้านนา ซึ่งหมายถึงการทำบุญในเดือน 12 เมื่อถึงเทศกาลเดือนยี่เป็ง หรือเทศกาลลอยกระทง วัดต่างๆจะตกแต่งสถานที่ด้วยต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าวและโคมผลัด ที่มีรูปภาพต่างๆแขวนอยู่รอบๆ เมื่อจุดไฟจึงจะมองเห็นภาพเหล่านี้ ชาวบ้านจะช่วยกันประดิษฐ์กระทง และแห่แหนนำกระทงใหญ่ของวัดไปลอยในแม่น้ำ แล้วมีกระทงเล็กๆทำด้วยกาบมะพร้าวของส่วนตัวลอยไปด้วย กระทงทั้งหลาย ทำให้ท้องน้ำงดงามสว่างไสวไปทั่วในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง ชาวล้านนานิยมประดับโคมไฟตามบ้านเรือน และมีการปล่อย โคมลอย หรือที่ชาวเหนือเรียกว่า “ว่าวฮม” หรือ “ว่าวควัน” เพื่อบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ รวมทั้งมีประเพณีฟังเทศน์มหาชาติที่เรียกว่า “การตั้งธรรมหลวง” ตลอดทั้งคืน

กระทงใบตอง

วัตถุประสงค์ในการลอยกระทงของแต่ละท้องที่นั้น เกิดจากความเชื่อหลาย ๆ ประการ ได้แก่  

1. เพื่อบูชารอยพระพุทธบาท ณ ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทาน เมื่อครั้งที่พระองค์ได้เสด็จไปแสดงธรรมโปรดนาคภิภพ และทรงปประทับรอยพระบาทไว้บนหาดทราย ปัจจุบันแม่น้ำนี้มีชื่อว่าเนรพุททา แคว้นทักขิณาบถของอินเดีย 

2. เพื่อเป็นการขอขมาลาโทษและสำนึกในพระคุณของพระแม่คงคาที่มนุษย์ได้ใช้ดื่มกิน และล่วงเกินโดยการทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงในแม่น้ำ

3. เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ ลอยความทุกข์ความโศกโรคภัย สิ่งไม่ดีต่างๆ ให้ไหลไปกลับแม่น้ำ คล้ายกับพิธีลอยบาปของพราหมณ์ 

4. เพื่อบูชาพระอุปคุตมหาเถระ ซึ่งชาวไทยทางภาคเหนือให้ความเคารพแก่พระอุปคุตเป็นอย่างสูง ตามตำนานเล่าว่าเป็นพระมหาเถระรูปหนึ่ง ที่มากด้วยอิทธิฤทธิ์จนสามารถปราบพญามารได้ ตามคติของชาวพม่า

5. เพื่อความรื่นเริงบันเทิงใจหลังจากสิ้นฤดูกาลเก็บเกี่ยว คืนวันพระจันทร์เต็มดวงในฤดูกาลที่น้ำเต็มฝั่ง แสงจันทร์ที่ส่องกระบนฝืนน้ำนั้นเป็นภาพที่สวยงาม เหมาะแก่การจัดงานรื่นเริง พบปะสังสรรค์กัน

6. เพื่อส่งเสริมงานประดิษฐ์กระทงด้วยใบตอง รวมถึงความคิดสร้างสรรแปลกใหม่ และเพื่อเป็นการรักษาภูมปัญญาของพื้นบ้าน

7. เพื่อเป็นการรักษาวัฒนธรรม ประเพณีที่มีมาแต่ครั้งโบราณไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา

8. เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว นำรายได้เข้าประเทศ

เพื่อเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อย่าลืมใช้กระทงที่ทำมาจากวัสดุธรรมชาติ วันนี้เรามีเพลงวันลอยกระทงมากฝากทุ่นท่าน ลอยกระทงเสร็จแล้วอย่าพลาดชมปรากฏการณ์ซุปเปอร์มูนที่ใหญ่ที่สุดในรอบ 68 ปี หากพลาดชมปีนี้ต้องรอกันไปอีกนานถึง 18 ขอให้ทุกท่านมีความสุขในเทศกาลลอยกระทงปี 2559