การเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2 ประวัติศาสตร์ที่คนไทยควรรู้

การเสยกรงศรอยธยา ครงท 2 ประวตศาสตรทคนไทยควรร

การเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2 ประวัติศาสตร์ที่คนไทยควรรู้

ประวัติศาสตร์ที่คนไทยควรรู้ การเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2 มีสาเหตุมาจากอะไรกันแน่ เคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไมเราต้องเรียนรู้เรื่องราวในประวัติศาสตร์ ทั้งที่เรื่องราวเหล่านั้นก็ผ่านมาเนินนานแล้วหรือที่เราต้องเรียนรู้นั้นก็เพียงแค่จำวันเดือนปีหรือแค่มานั่งท่องชื่อบุคคลสำคัญของประเทศไทยเรา อันที่จริงแล้วเรื่องราวประวัติศาสตร์มันจะมีประโยชน์อะไรกับตัวเราบ้าง? 

ซึ่งจริงๆ แล้วเรื่องราวในประวัติศาสตร์เปรียบเสมือนเป็นเรื่องราวที่เตือนสติของคนเราในปัจจุบันเพื่อไม่ให้เกิดเรื่องราวที่ทำให้ประเทศของเราย่ำแย่ลงไปมากกว่าเดิมหรือเพื่อเป็นการพัฒนาให้ปัจจุบันดียิ่งขึ้นไปอีก แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันประเทศไทยของเราเองก็ยังคงกับปัญหาซ้ำซากต่างๆ ทั้งเรื่องความยากจนที่มีมากขึ้น การทุจริตคอรัปชั่น ความแตกแยกของคนในประเทศ รวมไปถึงการแกร่งแยกอำนาจของนักการเมืองที่มีความสำคัญในเรื่องของการบริหารประเทศ จากเรื่องราวที่เกิดขึ้นในปัจจุบันทำให้เราต้องกลับไปลองมองย้อนดูในประวัติศาสตร์ว่าสาเหตุของการสูญเสียความเป็นชาติของเรานั้นเป็นเพราะอะไร โดยจะย้อนกลับไปเรื่องราวในประวัติศาสตร์ของการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 

ซึ่งแต่เดิมนั้นอาณาจักรอยุธยาถูกปกครองในระบอบที่พระมหากษัตริย์มีอำนาจสูงสุด มีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางในการบริหารงานแผ่นดิน โดยพระมหากษัตริย์ก็จะส่งขุนนางไปดูแลยังเมืองเล็กๆ ต่างๆ การแบ่งการปกครองแบ่งเป็น 3 หัวเมืองคือ

หัวเมืองชั้นใน เป็นเมืองที่รอบล้อมเมืองหลวงไว้ทั้ง 4 ด้าน ในการปกครองส่วนของหัวเมืองชั้นในก็จะมีการส่ง “ลูกหลวง“ ซึ่งก็คือโอรสหรือขุนนางไปดูแล แต่ว่าขุนนางที่ดูแลหัวเมืองชั้นในนั้นไม่ได้มียศเป็นเจ้าเมืองจึงไม่มีสิทธิ์สร้างกองทัพ ไม่มีสิทธิ์บรรชาการรบ โดยจะมีระยะเวลาในการปกครองได้เพียงแค่ 3 ปีเท่านั้น หลังจากครบ 3 ปีแล้วก็จะถูกเปลี่ยนการปกครองไปเรื่อยๆ โดยเมืองลูกหลวงหรือหัวเมืองชั้นในใช้เวลาในการเดินทางมาราชธานีได้ภายใน 2 วัน 

หัวเมืองชั้นนอก เป็นเมืองใหญ่ที่อยู่ไกลออกไป พระมหากษัตริย์ก็จะส่งขุนเมืองไปดูแลซึ่งขุนเมืองจะทำหน้าที่เปรียบเสมือนเจ้าเมืองโดยขุนเมืองที่ได้ไปปกครองเมืองนั้นก็จะมีสิทธ์ในการตั้งกองทัพ มีสิทธิ์ในการบรรชาการรบ และประชาชนที่อยู่ในเมืองนั้นก็จะขึ้นกับเจ้าเมืองเมืองนั้น นอกจากนี้เมืองที่มีขนาดเล็กกว่าก็ต้องขึ้นกับเมืองที่มีขนาดใหญ่กว่า เปรียบได้กับพีรมิดที่ยอดแหลมสุดเป็นการปกครองโดยพระมหากษัตริย์ ต่อมาก็เป็นการปกครองของขุนเมืองในเมืองใหญ่ๆ หลายๆ เมือง และย่อยลงไปก็เป็นการปกครองของขุนนางที่มีหน้าที่ในการปกครองเมืองที่เล็กลงมาตามลำดับ 

เมืองประเทศราช เป็นเมืองต่างภาษาที่ได้มาจากการไปตียึดเมืองมาหรือบางเมืองก็มาขอขึ้นกับอาณาจักรเอง แต่เมืองประเทศราชจะมีสิทธิ์ในการปกครองเมืองตัวเอง แต่อย่างไรก็ตามเมืองประเทศราชก็ต้องส่งไพร่ผลหรือข้าวของเพื่อเป็นเครื่องราชบรรณาการ แต่บางครั้งประเทศราชก็ประกาศอิสรภาพทำให้พระมหากษัตริย์ต้องยกทัพออกไปตีเพื่อยึดเมืองคืนกลับมา

ซึ่งในตอนนั้นตรงกับสมัยของพระเจ้าบรมโกศ ซึ่งพระองค์ได้มีบุตรและธิดาหลายองค์ ทำให้เกิดการแย่งชิงกันในหมู่เครือญาติ โดยมีเจ้าฟ้าจากอัครมเหสีฝ่ายขวาและฝ่ายซ้าย 3 พระองค์ นั่นก็คือ เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศ เจ้าฟ้าเอกทัศน์และเจ้าฟ้าอุทุมพร เจ้าฟ้าธรรมธิเบศถูกจับได้ว่าพระองค์ได้มีความสัมพันธ์ลึกซึ่งกับนางสนมของพระบิดา ทำให้เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศถูกต้องอาญาจนสิ้นพระชนม์ในที่สุด หลังจากนั้นเจ้าฟ้าอุทุมพรก็ได้ถูกแต่งตั้งให้เป็นผู้สืบราชสมบัติและได้ราชาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าอุทุมพรผู้ แต่เจ้าฟ้าเอกทัศน์ไม่ยอมมาอ้างความชอบธรรม ในที่สุดเจ้าฟ้าเอกทัศน์ก็ได้ตั้งตนเป็นกษัตริย์ ทำให้พระเจ้าอุทุมพรเลี่ยงไปผบวช จึงทำให้พระเจ้าเอกทัศน์ได้กลายเป็นกษัตริย์ผู้ปกครองเมือง

ภาพวาดของอยธยา ทไดรบคำสงใหวาดจาก บรษท อนเดยตะวนออกของดตช อมสเตอรดมภาพวาดของอยุธยา ที่ได้รับคำสั่งให้วาดจาก บริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์, อัมสเตอร์ดัม

กล่าวกันว่าในสมัยที่พระเจ้าเอกทัศน์ปกครองเมืองนั้นบ้านเมืองมีความอยู่เย็นเป็นสุข การค้าขายเจริญก้าวหน้า แต่บ้างก็บันทึกไว้ว่าในสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ทรงทำให้เมืองถดถอย พระชายามีอำนาจเท่ากับพระเจ้าแผ่นดิน จากเดิมผู้ที่กระทำความผิดร้ายแรงจะถูกประหารชีวิตแต่กลับเปลี่ยนมาเป็นการริบทรัพย์กลายเป็นของพระชายา จนทำให้เชื้อพระวงศ์หลายคนไม่พอใจแล้วเริ่มตั้งตนเป็นกบฏโดยมีความหวังว่าตนจะได้เป็นใหญ่ซึ่งก็ได้รับการสนับสนุนจากขุนนางและชาวบ้านทำให้บ้านเมืองเริ่มมีการแบ่งเป็นฝักเป็นฝ่ายเพราะเหตุนี้เองที่ทำให้กรุงศรีอยุธยาเริ่มมีความตกต่ำเสื่อมถอยลงไปทุกวัน 

เมื่อพระเจ้าอลองพญาแห่งเมือพม่าได้ทราบถึงปัญหาในกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอลองพญาจึงได้ประกาศสงครามกับเมืองอยุธยาเพื่อที่จะได้เมืองอยุธยาเป็นเมืองขึ้น แต่ในระหว่างการทำศึกพระเจ้าอลองพญาก็ได้สิ้นพระชนม์ลงและพ่ายแพ้กลับไป หลังจากนั้นฝั่งอยุธยาคิดว่าได้โอกาส เจ้าเมืองจึงตอบโต้โดยการส่งทูตไปยั่วยุให้ประเทศราชต่างๆ ของพม่าเกิดการแข็งข้อ เมื่อพระเจ้ามังระกษัตริย์องค์ใหม่ของพม่าได้ทราบถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จึงตัดสินใจส่งเนมียวสีหบดีและมังมหานรธาไปปราบเมืองขึ้นที่แข็งข้อให้หมด 

ทัพของเนมียวสีหบดีก็ได้เข้าตีในแคว้นล้านช้าง เชียงตุงและเชียงใหม่จึงได้รับชัยชนะด้วยจำนวนคน 20,000 คน ส่วนทัพของมังมหานรธาก็ได้เข้าตีเมืองทวาย และทัพของพระเจ้ามังระก็เข้าตีที่เมืองมณีปุระ หลังจากที่ได้ชัยชนะแล้วทัพของพระเจ้ามังระก็ไปรวมตัวกับทัพของมหามังนรธารวมเป็นกำลังผลกว่า 30,000 คน หลังจากนั้นพระเจ้ามังระจึงได้ทำการประกาศศึกกับเมืองอยุธยาเพราะเพียงแค่ต้องการทำลายอิทธิพลของเมืองอยุธยาให้สิ้น เพื่อจะได้ไม่มีใครมายุยงการก่อกบฎอีก โดยพระเจ้ามังระได้ประกาศออกไปว่าหากเมืองใดที่ยอมเข้าร่วมแต่โดยดี โดยส่งกำลังพลส่งเสบียนมาเข้าร่วมด้วยจะเว้นไว้ แต่หากหัวเมืองใดขัดขืนก็จะถูกเผาให้สิ้น ในไม่ช้า

พระเจ้าเอกทัศน์ก็ทราบถึงข่าวแล้วได้รวมกำลังพลกว่า 60,000 คน และวางกำลังพลไว้ที่เมืองกาญจนบุรี เมืองสุโขทัย เมืองพิษณุโลกและได้เตรียมกองทัพไว้ตั้งรับที่กรุงศรีอยุธยา ส่วนในฝั่งของพม่าก็ได้เริ่มการโจมตีโดยแบ่งการโจมตีของทัพของเนมียวสีหบดีโดยเริ่มตีเมืองจากเมืองลำปาง กำแพงเพชร สุโขทัย พิษณุโลก จนไปถึงเมืองอยุธยา ส่วนทางฝ่ายของทับมังมหานรธาก็ได้แบ่งการโจมตีเป็น 3 ทาง ในทางแรกเป็นการโจมตีจากเมืองเมาะตามะแล้วตามด้วยเมืองสุพรรณบุรี ทางที่สองโจมเริ่มจากเมืองมะริด เมืองเพชรบุรี เมืองชุมพร นนทบุรี ในทางที่เป็นการโจมตีเริ่มจากทวาายไปยังเมืองกาญจนบุรีและทั้ง 3 ทัพก็ไปรวมตัวกันที่กรุงศรีอยุธยา และสาเหตุที่ทัพของเนมียวสีหบดีและทัพมังนรธาสามารถเข้าไปถึงกรุงศรีอยุธยาได้ง่ายก็เพราะว่าการต้านทานของแต่ละเมืองแต่ละเมืองนั้นมีการต้านทานเพียงเล็กน้อยที่เป็นเช่นก็เนื่องมาจากความกลัวของหัวเมืองจากการโจมตีของพม่า 

การเสยกรงศรอยธยา ครงท 2 ไฟนไดลกทวมกรงศรอยธยากวา 7 วน 7

ไฟได้ลุกท่วมกรุงศรีอยุธยากว่า 7 วัน 7 คืนก่อนจะดับไป

พระเจ้าเอกทัศน์จึงได้ตัดสินใจให้สร้างค่ายล้อมเมืองเอาไว้ทั้ง 8 แห่ง ซึ่งในวันที่ 14 กันยายน พ.ศ.2309 พม่าได้รุกคืบไปอยู่ใกล้กับกำแพงเมืองและได้สร้างค่ายกว่า 27 ค่ายล้อมรอบกรุงศรีเอาไว้ เมื่อพวกขุนนางรู้ก็พากันกันหนีเอาตัวรอดเพราะคิดว่าอย่างไรกรุงศรีอยุธยาก็ต้องผ่ายแพ้ให้กับพม่าแน่นอน และนั่นเองก็ทำให้พม่าสามารถยึดค่ายของกรุงศรีได้โดยครบแล้วเริ่มเผากำแพงเมืองกรุงศรีอยุธยาจนเมื่อถึงช่วงพลบค่ำของวันที่ 7 เมษายน พ.ศ.2310 กำแพงส่วนหนึ่งได้ทลายลงมา และในที่สุดกรุงศรีอยุธยาก็แตกพ่าย เหล่าพม่าก็ได้เข่นฆ่าผู้คน ข่มขืนหญิงสาว อีกทั้งยังเผาพระราชวังและบ้านเรือน ซึ่งกล่าวกันว่าไฟนี้ได้ลุกท่วมกรุงศรีอยุธยากว่า 7 วัน 7 คืนก่อนจะดับไป จนเหลือเพียงแค่ซากให้เห็นถึงทุกวันนี้ 

จากอดีตสู่ปัจจุบันที่เรากำลังเดินซ้ำรอยเดิม

หากเรามองย้อนกลับไปสาเหตุที่เราพ่ายแพ้ในครั้งนั้น การเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2 เป็นเพราะอะไรกันแน่ เป็นเพราะความแข็งแกร่งของพม่า หรือเป็นเพราะความอ่อนแอของเรา หากนำเรื่องราวในประวัติศาสตร์มาเปรียบเทียบกับปัจจุบันจะเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่าในประวัติศาสตร์ได้มีการแบ่งกันเป็นหลายฝ่าย ในปัจจุบันก็ได้มีการแบ่งกลุ่มพันธมิตรและกลุ่มแนวร่วมเช่นกัน การฉ้อโกงของขุนนางในประวัติศาสตร์สู่การโกงกินคอรัปชั่นของข้าราชการ การแย่งชิงอำนาจในสมัยกรุงศรีอยุธยาสู่การแย่งชิงเก้าอี้นายกรัฐมนตรีในปัจจุบัน 

พวกเราเรียนรู้ถึงประวัติศาสตร์ แต่ทำไมเรากลับเดินซ้ำรอยเดิม เมื่อเรารู้สาเหตุที่แท้จริงของประวัติศาสตร์แล้วทำไมไม่ปรับมาใช้หรือพัฒนาให้ปัจจุบันของเราดียิ่งขึ้น จะปล่อยในประเทศชาติของเราซ้ำรอยเดิมทำไม หากเราสามารถช่วยกันได้ เพียงแค่ทำความดี ไม่ฉ้อโกงคอรัปชั่นและสามัคคีกันเอาไว้ เพียงเท่านี้ประเทศชาติของเราก็จะพัฒนาไปในทางที่ดีกว่าปัจจุบันที่เป็นอยู่ ณ ตอนนี้แล้ว

ชมวีดีโอลำดับเหตุการณ์การเสียกรุง (ขอบคุณคลิปวีดีโอจาก สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณลาดกระบัง)