เพลิงพระนาง ละครในจินตนาการ กับเรื่องเล่า ประวัติศาสตร์พม่า

pleng pranang lakorn

กระแสละคร เพลิงพระนาง กำลังฮิตกันทั่วบ้านทั่วเมือง หลายคนต่างเกาะติดหน้าจอจนแทบไม่อยากจะลุกไปไหน เวลามีละครไทยเรื่องไหนกำลังฮิต ประเทศเพื่อนบ้านของเรา ก็ฮิตตามไปด้วย เมื่อเร็วมานี้ก็มีกระแสต่อต้านละครเรื่องนี้จากชาวพม่า โดยเฉพาะรุ่นเหลนของเชื้อพระวงศ์ ว่าทำให้ราชวงศ์ของพม่านั้นเสื่อมเสีย ทั้งๆที่ในละครก็บอกอยู่แล้วว่า เมืองทิพย์ในละคร นั้นเป็นเมืองสมมุติ ล่าสุดทางกันตนาก็ทำจดหมายชี้แจงกับสื่อมวลชนว่า ละครสร้างจากจินตนาการ และขยายจากเค้าโครงของละครเพลิงพระนางที่ออกอากาศไปเมื่อปี 2539 ซึ่งอาจมีเค้าโครงบางส่วนเป็นเพียงเรื่องเล่า มิได้ตั้งใจลบหลู่ หรืออิงประวัติศาสตร์ของชาติใด วันนี้จึงขอพาผู้อ่านย้อนไปดูประวัติศาสตร์พม่า ในช่วงก่อนที่จะตกอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศอังกฤษ

กษัตริย์องค์สุดท้ายของพม่าก็คือพระเจ้าธีบอ ซึ่งถ้าเราดูในละครแล้วก็คือรุ่นลูก หรือเป็นโอรสของพระเจ้ามินดง ตอนที่พระเจ้ามินดงขึ้นเป็นกษัตริย์นั้นได้ทรงแต่ตั้ง พระนางนันมะดอ (ชเวพญาคยี) น้องสาวต่างมารดาให้ขึ้นเป็นพระอัครมเหสี แต่พระนางทรงเป็นหมันและทรงสิ้นพระชนม์ไปก่อน พระเจ้ามินดงนั้นก็มีพระชายาอยู่ถึง 45 องค์ คนที่ทรงโปรดมากที่สุดคือพระนางอเลนันดอ ถ้าเทียบกับตัวละครก็คืออั้ม พัชราภา พระนางอเลนันดอนั้นมีมีนิสัยไม่เหมือนกับชาววังทั่วไป เนื่องจากแม่ของพระนางเป็นเพียงแค่แม่ค้าในตลาด แต่ก็เป็นที่ทรงโปรดปราณ และถูกแต่งตั้งให้เป็นพระมเหสี เป็นผู้ที่อยู่หลังราชบัญลังก์เช่นกัน พระนางอเลนันดอมีธิดากับพระเจ้ามินดง 3 องค์คือ พระนางสุภยาคเล พระนางสุภยาลัต และพระนางสุภยาคยี (ในละคร เพลิงพระนาง อั้มมีลูกสาว 2 คน) รูปข้างล่างซ้าย-ขาว คือ พระนางสิ่นพยูมาชิน 

Pleng Pranang historyofmyanmar

หลังจากที่พระนางนันมะดอสิ้นพระชนม์ พระเจ้าธีบอก็มิได้ทรงแต่งตั้งให้ผู้ใดขึ้นเป็นอัครมเหสี เนื่องจากอัครมเหสีองค์ก่อนได้ขอไว้ แต่พระเจ้าธีบอก็ทรงแต่งตั้งพระนางอเลนันดอให้เป็น พระนางสิ่นพยูมาชิน (Hsinbyumashin) แปลว่า นางพญาช้างขาว เนื่องจากความเกรงใจมเหสี ทำให้พระเจ้ามินดงก็ไม่ได้แต่งตั้งองค์รัชทายาท แม้จะมีพระราชโอรส 53 พระองค์ พระราชธิดา 81 พระองค์ มีโอรสที่เป็นตัวเก็ง มีความสามารถ เหมาะสมอยู่ 2 พระองค์ แต่ส้มก็มาหล่นที่พระเจ้าธีบอ ซึ่งอยู่ที่อันดับท้ายๆ ในขณะที่พระเจ้ามินดงทรงประชวรอยู่นั้น พระนางอเลนันดอก็ร่วมมือกับเสนาบดีเกงหวุ่นเมงจี ผลักดันให้พระเจ้าธีบอ ขึ้นเป็นผู้สืบต่อราชวงศ์ได้สำเร็จ เนื่องจากเห็นว่าน่าจะควบคุมได้ง่ายกว่า

ในการครั้งนั้นทำให้โอรสและธิดาองค์อื่นๆถูกจับไปขังไว้ มีเพียงเจ้าฟ้า 2 พระองค์ที่หนีไปได้ เมื่อพระเจ้ามินดุงที่ทรงประชวรอยู่เรียกโอรสพระธิดาให้เข้า เจ้าชายเจ้าหญิงจะถูกปล่อยตัวชั่วคราวออกมา แล้วก็นำไปขังไว้เหมือนเดิม พอพระเจ้ามินดุงเสด็จสวรรคต พระเจ้าธีบอก็ถูกสถาปนาให้เป็นกษัตย์ แล้วพระนางสุภยาคเล พระนางสุภยาลัต ลูกสาวของพระนางอเลนันดอก็ถูกแต่งตั้งให้เป็นมเหสี ความจริงแล้วพระนางสุภยาลัตนั้นชอบพระเจ้าธีบอตั้งแต่ยังทรงผนวชอยู่ แต่ตามประเพณีแล้วพี่สาวนั้นต้องออกเรือนไปก่อน แต่ตอนหลังพระนางสุภยาลัตนั้นนแซงองค์พี่ขึ้นมาเป็นราชินีจนได้ พี่สาวถูกกล่าวหาว่าทำเสน่ห์ใส่พระเจ้าธีบอ เลยต้องกลับไปอยู่กับพระนางอเลนันดอ

myanmar history pleng pranang 1

ในการขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าธีบอนั้น ทำให้ธิดาโอรสองค์อื่นๆ และคนใกล้ชิดต้องถูกประหารชีวิตรวม 500 กว่าคน ทำให้หลายคนมองว่าพระนางสุภยาลัตนั้นเหี้ยมโหด แต่นักประวัติศาสตร์เห็นว่าน่าจะเป็นฝีมือขอผู้เป็นแม่ที่จัดการให้ทุกอย่าง แม้ว่าตอนนั้นพระนางสุภยาลัตจะมีอายุ 20 ปี แต่ในทางการเมืองก็ยังถือว่าเด็กอยู่ มีคนเล่าเรื่องเป็นภาพวาดเหตุการณ์ประหารชีวิตของเชื้อพระวงศ์ ซึ่งใช้เวลานานถึง 3 คืน โดยออกอุบายให้มีงานมหรสพเพื่อกลบเสียงฆ่า มีการจัดน้ำจัณฑ์ถวายพระเจ้าธีบอ วิธีการประหารนั้นก็สุดเหี้ยมโหด คือการใช้ไม้ตีที่ลูกกระเดือกเพื่อไม่ให้มีเลือดตกลงบนพื้นดิน แล้วศพถูกนำไปฝังรวมกันในหลุมท้ายพระราชวัง พอหลายวันผ่านไปพอศพเริ่มอืด ดินก็นูนขึ้นมาจนต้องให้มีการเอาช้างหลวงมาเหยียบอยู่ตั้งหลายครั้ง แต่ศพก็ส่งกลิ่นเน่าเหม็นจนทนไม่ไหว มีการสั่งให้ขุดขึ้นมาแล้วเอาแอบไปทิ้งนอกวัง เรื่องเลยแดงขึ้นมา

แม้ว่าจะถูกมองว่าเป็นคนเหี้ยมโหด แต่คนที่อยู่ใกล้ชิดพระนางสุภยาลัตนั้นบอกว่า พระนางเป็นคนที่รักเด็ก แต่พระนางมีข้อเสียก็ตรงที่เป็นคนขึ้หึง จนพระเจ้าธีบอไม่สามารถมีพระสนมได้เลย แม้ตามธรรมเนียมสมัยก่อน เจ้าเมืองต่างๆก็จะนำพระธิดามาถวาย แต่พระนางสุภยาลัตก็ฉีกกฎเหล่านั้น โดยให้มาเป็นนางรับใช้สนองพระโอษแทน ซึ่งเคยมีการเชือดไก่ให้ลิงดู โดยการสั่งโบยคนที่ลักลอบมีอะไรกับพระเจ้าธีบอ ทำให้คนขยาดไปตามกัน และอีกสิ่งหนึ่งที่พระนางไม่ยอมก็คือ เรื่องเกียรติยศและราชบัญลังก์ของพระสวามี

myanmar history pleng pranang

ในตอนที่ขึ้นครองราชย์ใหม่ๆ พระนางอเลนันดอกับเสนาบดีเป็นคนคุมฝ่ายทหาร แต่ตอนหลังพระเจ้าธีบอกับพระนางสุภยาลัตจึงเอาเรื่องนี้ไปดูแลเสียเอง พระนางอเลนันดอเห็นว่าลูกสาวตัวเองดูท่าจะคุมได้ยาก จึงมีความคิดที่จะเชิญเจ้าฟ้าที่หนีไปได้ขึ้นมาเป็นกษัตริย์แทน ประมาณว่าจะยกลูกสาวคนเล็กให้ พระนางสุภยาลัตจึงแก้เกมส์ด้วยการยกพระนางสุภยาคยี น้องสาวคนเล็กให้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าธีบอซะเลย แต่พระนางสุภยาลัตก็ยังหึงหวงแม้กระทั่งน้องสาว ทั้งๆที่ตัวเองเป็นคนยกสามีให้ พระเจ้าธีบอมีโอรสกับพระนางสุภยาคยีด้วยแต่เสียชีวิตไป (รูปข้างบนจากขวาไปซ้าย พระเจ้าธีบอ พระนางสุภยาลัต และ พระนางสุภยาคยี)

ปัญหาระหว่างอังกฤษกับพม่าทวีความรุนแรงขึ้นมาเรื่อยๆ จนนำพาไปสู่การเสียเมือง กษัตริย์และราชินีถูกเชิญให้ลงจากบันลังก์ และถูกนำไปคุมตัวไว้ที่ประเทศอินเดีย พระนางอเลนันดอก็เป็นอีกคนที่ถูกคุมตัวไปที่อินเดียด้วย แต่ตอนหลังมีเรื่องกับพระนางสุภยาลัต รัฐบาลอังกฤษจึงอนุญาติให้กลับมาอยู่ที่ประเทศพม่า ส่วนพระเจ้าธีบอทรงสิ้นพระชนม์อยู่ที่รัตนคีรี หรือเมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย พระนางสุภยาลัตได้รับการอนุญาติให้กลับประเทศพม่าได้ หลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าธีบอ ในบั้นปลายของชีวิตพระนางสำนึกได้ในสิ่งที่เกิดขึ้น และใช้ชีวิตอยู่แบบเรียบง่าย