ละครพิษสวาท ดูย้อนหลัง ทุกตอน

ละครพิษสวาท ดูย้อนหลัง ทุกตอน

ดูย้อนหลัง พิษสวาท ทุกตอน (EP.1 – EP.18)

ข้อมูล ละครพิษสวาท 

บทประพันธ์ : ทมยันตี

บทโทรทัศน์ : พิมพ์มาดา พัฒนอลงกรณ์, วรรณถวิล สุขน้อย, พิมสิรินทร์ พงษ์วานิชสุข, ณัฐกฤตา แย้มศิริ

ผู้กำกับการแสดง : สันต์ ศรีแก้วหล่อ

อำนวยการผลิต : นิพนธ์ ผิวเณร, ถกลเกียรติ วีรวรรณ

นำแสดงโดย : วรนุช ภิรมย์ภักดี, ณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์, เรวิญานันท์ ทาเกิด, เจษฏ์พิพัฒ ติละพรพัฒน์, เกรียงไกร อุณหะนันทน์, อธิวัฒน์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา, ภัทรวรินทร์ ทิมกุล, ปานเลขา ว่านม่วง และนักแสดงมากฝีมืออีกมากมาย

แค่ออกอากาศไปวันแรก คนก็พูดถึงกันทั้งเมือง สำหรับละครใหม่ของช่อง ONE นั่นก็คือ ละครพิษสวาท ละครพีเรียดฟอร์มยักษ์ ของผู้กำกับคนดัง สันต์ ศรีแก้วหล่อ ผู้ที่ฝากฝีมือไว้ในละครบัลลังก์เมฆเมื่อปีที่ผ่านมา ขึ้นชื่อว่า ผู้กำกับสันต์ ศรีแก้วหล่อ ละครที่ออกมาต้องไม่ธรรมดาแน่ๆ กว่าจะมาเป็นละคร “พิษสวาท” ให้เราได้ชมกันนั้น  ทีมงานต้องเตรียมตัวกันมานานเลยทีเดียว เพราะเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่ต้องเจอทั้งฉากรบ เครื่องแต่งกายในสมัยนั้น ซึ่งละครเรื่องนี้ก็จัดกันมาเต็มแบบไม่มีพลาดเลยแม้กระทั่งรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ

ตัวละครในเรื่องนี้แต่งองค์ทรงเครื่องกันแบบวิจิตรอลังการเพื่อสะท้อนมนต์เสน่ห์ภูษาแห่งกรุงศรีอยุธยา ในละครพีเรียดฟอร์มยักษ์ พิษสวาท บทประพันธ์อิงประวัติศาสตร์ของนักเขียนชื่อดัง ทมยันตี กับเรื่องราวของแรงรัก แรงพิษสวาท ความอาฆาตแค้นข้ามภพชาติ โดย ป้อง ณวัฒน์ รับบทเป็น “อัคนี” ที่อดีตชาตินั้นเป็นขุนศึกในสมัยอยุธยา แล้วกลับชาติมาเกิดใหม่เป็นนักโบราณคดี ที่หวนกับมาแสดงคู่กันอีกครั้งกับนางเอกหน้าหวาน นุ่น วรนุช ที่มารับบทเป็นนางรำหลวงแห่งราชสำนักที่เป็นเมียพระราชทาน นามว่า “อุบล” ที่ได้มอบหัวใจรักทั้งชีวิตให้กับขุนศึก แต่กลับถูกผู้เป็นสามีหลอกให้เข้ามาเฝ้าสมบัติและถูกสามีฆ่าฟันคอ ก่อนจะสะกดวิญญาณจองจำเอาไว้ให้มีหน้าที่ดูแลสมบัติของชาติ

ละคร พษสวาท เครองแตงกายสมยกรงศรอยธยา 

ภาพวาดผู้หญิงในสมัยอยุธยากับนุ่น วรนุช ที่มีความคล้ายคลึงกันมาก ขอบคุณรูปภาพจาก oknation/blog/goirish : Posted by หมื่นแผ้ว

 

องค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของละครเรื่องนี้ก็คือ เสื้อผ้าอาภรณ์ย้อนยุคอันงดงาม ที่มีการประยุกต์อิงตามประวัติศาสตร์ชาติไทย ในยุคประมาณปี พ.ศ. 2303 ซึ่งก็ได้มีการระดมทีมผู้เชี่ยวชาญระดับปรมาจารย์ด้านเครื่องแต่งกายโบราณมาเป็นผู้ออกแบบและดูแลทุกขั้นตอนการผลิต ซึ่งก็ได้ผู้เชียวชาญด้านวัฒนธรรมไทยอย่างครูไก่ ดร.สุรัตน์ จงดา และครูบิ๊ก พีรมณฑ์ ชมธวัช มาร่วมสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับในละครเรื่องนี้ ครูบิ๊กกล่าวว่าเครื่องประดับสำคัญที่เป็นตัวต้นเรื่องที่ทำให้ละครดำเนินไปก็คือศิลาภณ์ เครื่องประดับศีรษะคุณอุบลที่เป็นกระบังกรอบหน้าประดับด้วยทับทิมสีแดงเลือดและอัญมณีนี้สามารถถอดได้ ซึ่งบทประพันธ์ของทมยันตีเขียนไว้นี้แบบนี้ตั้งแต่ต้น 

โดยทั้งสองท่านพูดถึงถึงเรื่องนี้ไว้ว่า ทางทีมงานได้พยายามระวัง ถ้าทำได้ก็จะพยายามถอดแบบรูปทรงและอารมณ์เครื่องแต่งกายในยุคสมัยอยุธยามาใช้โดยการทำใหม่ขึ้นมา เช่นลายกนกแบบสมัยกรุงศรีอยุธยาบนเครื่องประดับศีรษะของนุ่นจะไปหาซื้อที่ไหนไม่ได้ ต้องทำขึ้นมาโดยเฉพาะ บางอย่างก็ได้ใช้ผ้าโบราณเลยอย่างเช่น ผ้ายก ผ้าตาดเงิน ตาดทอง ผ้าอัตลัต ผ้ากำมะหยี่ ล้วนเป็นผ้าโบราณมีราคา ที่มีอยู่จริงในสมัยอยุธยา อย่างชุดรำบวงสรวงสีแดงของคุณอุบลก็ศึกษาจากหน้าประวัติศาสตร์ก่อนจะทำขึ้นมา ผ้าถุงสีแดงก็เป็นผ้ายกในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย การนุ่งก็จะแตกต่างจากสมัยอื่นๆ ซึ่งทีมงานไปศึกษาและถอดแบบมาจิตรกรรมฝาผนังวัดเก่าแก่ในพระนครศรีอยุธยา บางฉากผ้าสะไบก็จะเป็นผ้าที่ทำมาจากผ้าอัตลัต 

ละคร พษสวาท การทำผาอตลต

ผ้าอัตลัตเป็นผ้าที่มาจากอินเดีย เป็นผ้ายกทอ ทอลายเป็นดอก ทอลายเป็นดวงๆ เป็นลายทองบนผ้าที่เป็นเนื้อต่วนซาติมันวาว ทอมาจากเส้นไหมแท้ เน้นลายทองให้แวววับ ด้วยการปักเลื่อมทองนิดๆ หน่อยๆ ลงไปให้สะท้อนแสง ผ้าอัตลัต เป็นผ้าที่ปักเลื่อมแบบนุ่มๆ เบาๆ เพราะตามหลักฐานผ้าในสมัยนั้นจะไม่ปักหนา ไม่มีการใช้ดิ้นโปร่งสีเงิน หรือปักจนถี่ยิบจนผ้ามีความแข็งทื่ออย่างในปัจจุบัน 

 

นอกจากเครื่องแต่งกายแล้ว นักแสดงนำทั้งสองคนยังต้องฝึกฝนทักษะต่างๆ เพิ่มเติม ป้อง ณวัฒน์ ที่จะต้องฝึกฝนวิชาฟันดาบเพื่อให้สมกับบทบาท ทหารเอกฝีมือดี โดยมีอาจารย์จากสำนักดาบ ศ. พุทไธสวรรค์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นเกียรติมาเป็นผู้ฝึกสอนวิชาฟันดาบให้ แล้วป้องก็ยังต้องเรียนรู้วิธีการขี่ม้า เพื่อเรียนรู้การบังคับทิศทางและการทรงตัวให้ดูคล่องแคล่ว สง่างาม ซึ่งป้อง ณวัฒน์ กล่าวว่าการบังคับม้านั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องฝึกฝนล่วงหน้ามาเป็นอย่างดี เพราะในวันถ่ายจริงต้องแต่งตัวเต็มยศ แถมยังต้องถือดาบอีก ในวันจริงจะได้ทำอย่างดีที่สุด

ด้านนางเอกสาวนุ่น วรนุช ใครๆ ต่างก็ทราบดีว่าเธอเรียนจบนาฏศิลป์มา เราจะเห็นการรำที่สวยงามของนุ่นมาแล้วจากละครหลายๆ เรื่อง ถึงแม้ว่านุ่นจะมีทักษะการรำไทยอยู่แล้วเป็นทุนเดิม แต่เมื่อต้องมารับบทเป็นนางรำในสมัยกรุงศรีอยุธยา นุ่นก็มาทำการฝึกฝนท่าร่ายรำทุกครั้ง ก่อนที่จะถึงวันถ่ายทำจริง เพื่อให้ได้ท่าทางที่ถูกต้อง งดงาม ตามแบบฉบับศิลปการร่ายรำในสมัยกรุงศรีอยุธยามากที่สุด นุ่นบอกว่า ตัวเองไม่รำมานานแล้ว ตั้งแต่ละครเรื่องอีสา พอไม่ได้รำบ่อยๆ มือไม้ก็อาจจะแข็ง ดังนั้นจึงต้องมีการซ้อมอุ่นเครื่องกันก่อน

การรำในสมัยกรุงศรีอยุธยาจะมีลักษณะพิเศษคือ การตั้งวงแขนจะตั้งแบบหักๆ ลำตัวก็ต้องแอ่นๆ กว่าการรำปรกติ รวมถึงการย่อตัว ก็ต้องย่อตัวลงกว่าปรกติ อาจารย์ไก่บอกว่ากึ่งๆ ท่ารำโนราห์ใต้ผสมกับท่ารำของทางภาคกลาง การใช้กล้ามเนื้อต้องดูมีพลัง เส้นสายของตัวต้องแข็งแรงกว่าท่ารำในสมัยอื่นๆ เพราะถ้าย้อนกลับไปมองแล้วช่วงนั้นผู้คนจะมีความเคร่งเครียด เพราะบ้านเมืองกำลังระส่ำระสาย เกิดความโกลาหล อารมณ์ที่ออกมาก็จะอ่อนช้อยแต่เคร่งขรึมแข็งแรง

ละคร พษสวาท ทารำสมยกรงศรอยธยา

นี่เป็นแค่ส่วนหนึ่งของเบื้องหลังละครเท่านั้น ยังมีส่วนอื่นๆ ที่น่าสนใจ เช่น ฉากรบ การจำลองพิธีต่างๆในสมัยนั้น ฉากการแต่งงาน ที่อ้างอิงความจริงในหน้าประวัติศาสตร์ เพื่อให้บทประพันธ์อันทรงคุณค่าได้ออกมาสมจริงที่สุด ติดตามชม ละครพิษสวาท ได้ทางช่อง ONE 31 ออกอากาศ ทุกวันจันทร์ อังคาร เวลา 20.30 – 22.00 นาฬิกา

ละคร พษสวาท