Master Chef Thailand มาสเตอร์เชฟประเทศไทย EP17 วันที่ 24 ก.ย. 60 Final

รายการ Master Chef Thailand มาสเตอร์ เชฟประเทศไทย Season 1วันที่ 24 ก.ย. 60 รอบ Final มาสเตอร์เชฟคนแรก ของประเทศไทย แก้ว-ปวีณ์นุช ยอดปรีชาวิจิตร

masterchefthailand ep17 24sept17

รายการ Master Chef Thailand มาสเตอร์เชฟ ไทยแลนด์ Season1 รอบสุดท้ายมีผู้แข่งขัน 4 ท่าน คือ

1. ลิซ่า-อลิษา ดอว์สัน อายุ 29 ปี อาชีพรับจ้างสอนภาษาอังกฤษ กรุงเทพมหานคร สาวยลูกครึ่งหน้าฝรั่งหัวใจไทย ที่มาพร้อมกับความมั่นใจว่าจะเป็นเชฟระดับโลก แม้ว่าลิซ่าจะเคยพลาดจนออกจากรายการไป แต่ความตั้งใจมุ่งมั่นทำให้เธอได้กลับมาอีกครั้ง FB: Lisa Dawson Thailand, IG: lisadawson.mc

2. พลอย-ณัฐนิชา บุญเลิศ อายุ 29 ปี อาชีพพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน จากปทุมธานี สาวสวยมั่นใจในตัวเอง พลอยตัดสินใจเข้าร่วมรายการเพื่อติดตามหาความรักที่เธอตามหายไป แม้เราจะเห็นเธออยู่ในเซฟตี้โซนตลอดระยะเวลาการแข่งขัน

3. จำลอง-จำลอง ศรีรักษา หนุ่มนักตกปลา เจ้าของบ่อตกปลา T.J Fishing จากจังหวัดระยอง ที่ก้าวเข้ามาแข่งขันด้วยเมนูของพ่อ การเข้ามาแข่งขันมาสเตอร์เชฟ ไทยแลนด์ ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับเขาเลย เพราะคนบ้านๆอย่างเขาต้องพิสูจน์ความสามารถตัวเอง กับโจทย์อาหารนานาชาติ กับวัตถุดิบที่เขาไม่เคยรู้จัก คนอย่างเขาที่คุ้นเคยและทำอาหารแบบบ้านๆ แต่เขาต้องทำให้มันกลายเป็นอาหารโมเดิร์น จุดเด่นคือ ฝีมือการปรุงอาหารรสจัดจ้านถูกปากคนไทย และพร้อมี่จะพัฒนาศักยภาพตัวเอง จนมาไกลจากจุดที่เขาเคยคิดไว้ เมนูเด่นที่ทุกคนจำได้ คือ “พ่อปลาเก๋าสองใจ” วาร์ปจำลอง FB: Jamlong Sriruksa

4. แก้ว-ปวีณ์นุช ยอดปรีชาวิจิตร อายุ 24 ปี จากจังหวัดปทุมธานี สาวน้อยบอบบาง ที่ตามความฝันของตัวเองโดยที่ครอบครัวไม่เห็นด้วย ทำให้เธอเลือกเดินออกมาจากบ้าน และเธอได้ผ่านบททดสอบมากมาย วันนี้เธอก็ทำมันได้แล้ว เป็นสิ่งแรกที่เธอภูมิใจในชีวิต

กติการอบ Final ช่วงแรกเป็นการแข่งขันแบบ ตัวต่อตัว จากนั้นผู้ชนะทั้ง 2 ฝ่าย มาแข่งขันกัน ผู้ชนะได้เป็น มาสเตอร์เชฟคนแรก ของประเทศไทย รอบแล้วที่แล้วแก้วเป็นผู้ชนะ สัปดาห์จึงเป็นได้เลือกว่าจะจับคู่กับใคร รอบแรกวัตถุดิบมีให้เลือก 2 ชนิด คือ บลูฟินทูน่า กับ ข้าวไทย 5 สายพันธุ์ ได้แก่ ข้าวหอมมะลิ, ข้าวเขี้ยวงู, ข้าวมันปู, ข้าวสังข์หยด และ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ 

** เกี่ยวกับ บลูฟินทูน่า** ภาษาไทยเรียกว่า ทูน่าครีบน้ำเงิน หรือ ปลาทูน่ายักษ์ เป็นทูน่าที่ดีที่สุด มีไขมันสูง เนื้อมีรสชาติอร่อย เป็นปลาทูน่าที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่าเป็นปลาเนื้อแดงที่ดีที่สุด “ราชาเเห่งทูน่า” บลูฟินทูน่าแต่ละตัวที่วางขายอยู่ตามตลาดปลาในประเทศญี่ปุ่น มีราคาตั้งแต่หลักแสน จนถึงหลักล้าน ต่อตัว ส่วนที่นิยมรับประทานมากที่สุดคือ ส่วนท้องปลา ที่เรียกว่า “โอโทโร่” ซึ่งมราคาสูงถึง กิโลกรัมละ 17,000 บาท ตัวที่นำมาแข่งขันในวันนี้ราคาเกือบล้านเลยก็ว่าได้ การนำทูน่าชนิดนี้มาทำอาหาร มีข้อควรระวัง 2 อย่าง คือ อย่าทำให้สุกจนเกินไป เพราะเนื้อจะแห้งมาก จนทำให้ปลาราคากิโลละ 17,000 มีรสชาติเหมือนปลากระป๋อง อีกอย่างคือ การใส่เครื่องปรุง หรื่อเครื่องเทศที่แรงเกินไป จะไปกลบความอร่อย ทำให้ไม่รสที่แท้จริงของบลูฟินทูน่า

รอบตัวต่อตัว แก้ว กับ จำลอง

แก้วอยากได้ข้าวแต่จับได้บลูฟินทูน่า เลยเข้าทางจำลองที่ถนัดเรื่องปลา เมนูที่ทำออกมาคือ “ทูน่าพันปี” จากจำลองที่เน้นเรื่องรสชาติ ทำลาบหัวปลี ลาบทูน่าดิบ ห่อในโอโทโร่ แล้วเสริฟเป็นคำๆ จิ้มกับน้ำจิ้มวาซาบิ มีทูน่าทอดคล้ายๆกับเทมปุระเอาไว้ทานดับความเผ็ดของจาน อีกจานชื่อว่า “แรงบันดาลใจ” ของแก้วที่มีความคิดสร้างสรรทำ ทูน่า 4 แบบ มีแบบน้ำจิ้มซีฟู้ด, ชูชิชู, ทูน่าย่างเตาถ่าน, ชูโทโร่แช่ในน้ำชา (ชูโทโร่ คือเนื้อทูน่าที่มีสีแดงและขาวอย่างละครึ่ง ไขมันน้อย มีความมันปานกลาง แต่อร่อย)

ผู้ชนะ คือ แก้ว ที่ความคิดสร้างสรรมากกว่า มีความหลากหลาย มีลูกเล่นในการกินมากกว่า เพราะเกณฑ์การตัดสินมี 3 อย่าง รสชาติ ความคิดสร้างสรร และ การชูรสชาติของวัตถุดิบหลัก

รอบตัวต่อตัว ลิซ่า กับ พลอย

เมนูที่สร้างสรรขึ้นมาจากข้าว “ข้าวไทยอบซุปเห็ดหอม” ของลิซ่า เป็นข้าวอบสมุนไพรกับสต็อคไก่ เห็ดหอม ใช้ข้าวทุกอย่าง ยกเว้นข้าวเหนียว ลิซ่าต้องการให้คนทานแล้วคิดถึงธรรมชาติ มี 2 กลิ่นที่แตกต่างกัน และใช้ข้าวถึง 4 อย่าง จานของพลอยชื่อว่า “รีซอตโตเห็ดหอมในสวนดอกไม้” ทำจากข้าวหอมมะลิ หุงในน้ำสต๊อกผัก เห็ดเอามา sautée กับเกลือพริกไทยเนย รอบเป็น แครอทครีมชีสกับมิโชะ โดยจานนี้ไม่มีการใส่เนื้อสัตว์เลยเพราะพลอยต้องการชูข้าวให้เด่นขึ้นมา

แต่การทำ Risotto จะมีเอกลักษณ์ตรงที่ ข้าว Arborio ของอิตาเลี่ยน เป็นข้าวจะมีความกรุ๊บตรงแกนในของมัน ซึ่งข้าวหอมมะลิของไทยนั้นต่างจากข้าวของอิตาลีอยู่พอสมควร แต่ถือว่าพลอยก็ทำได้ค่อนข้างดี

ผู้ชนะคือ ลิซ่า จากการชูวัตถุดิบถึง 4 อย่าง และความคิดสร้างสรรมีการทำข้าวออกมาถึง 2 สไตล์ 2 รสชาติ แต่การจัดจานอาจจะทำได้ดีกว่านี้ เพราะจานของพลอยนั้นสวยมาก จานของพลอยก็น่าทึ่ง ถ้าเข้าสุกกว่านี้จะดีมาก

รอบชิงชนะเลิศ แก้ว vs ลิซ่า

โจทย์ทำอาหารคาว 1 อย่าง อาหารหวาน 1 อย่าง ภายในเวลา 90 นาที

แก้ว – ของคาวชื่อว่า “ยามสนธยา ข้าวมันปลาแซมอนต้มยำ” ผืนดินจรดทะเล ผืนดินคือเนื้อปลาทะเลคือน้ำซุป มีลูกเล่นอยู่ที่น้ำซุปข้าวมันไก่ที่ทำจากดอกอัญชันสีฟ้า คล้ายกับสีตอนพระอาทิตย์ตกดน พอเสริฟจะบีบน้ำมะนาวลงไปแล้วมันจะค่อยเปลี่ยนเป็นสีม่วง ของหวานเป็นแบบ Hot-Cold combination กะทิอบควันเทียนกินกับบัวลอยน้ำขิง แบบโมเดิร์น

ลิซ่า – นำเสนอความเป็นตัวเองที่เป็นมีความเป็นฝรั่งและไทย ได้ชิมทุกอย่างในเมนูชื่อ “ข้าวหมกบีร์ยานีแกะอบมิ้นต์กรอบ” กินคู่กับซุปไข่มุก (ซุปหางวัว) ของหวานของลิซ่า ข้าวเหนียวมะม่วง – สาคูใบเตย ไอศกรีมกะทิสดแทนกะทิ ราดสาคูใบเตย ที่ใช้แทนข้าวเหนียว แล้วก็มีมะม่วง นำเสนอได้ดีมาก

masterchef thailand

ผลการตัดสิน มาสเตอร์เชฟคนแรก ของประเทศไทย คือ แก้ว-ปวีณ์นุช ยอดปรีชาวิจิตร

Video: Master Chef Thailand มาสเตอร์เชฟ ไทยแลนด์ EP.17 วันที่ 24 ก.ย. 60