คำศัพท์เกี่ยวกับการทำอาหาร (Cooking Vocabulary)

คำศพทเกยวกบการทำอาหาร

 คำศัพท์เกี่ยวกับการทำอาหาร (Cooking Vocabulary)

สวัสดีดีค่ะ ช่วงนี้กำลังสนใจการทำอาหารเลยไปหาสูตรอาหารต่างประเทศมาลองทำดู แต่ว่า คำศัพท์เกี่ยวกับการทำอาหาร หรือ Cooking Vocabulary โดยเฉพาะ verbs หรือคำกริยาในการทำอาหาร บางคำก็ดูคล้ายกัน จนทำให้เราสับสนว่าตกลงต้องทำอย่างไรกันแน่นะ เอาง่ายๆ เลยอย่างคำว่า fry กับ deep fry ตกลงว่ามันต้องทอดต่างกันยังไง ใส่น้ำมันขนาดไหน เพื่อนๆ บางคนเวลาไปทานอาหารไทยกับฝรั่งแล้วเขาอาจจะถามเราว่าอาหารนี้ทำยังไงทำไมอร่อยจัง การรู้คำศัพท์ก็ช่วยให้เราอธิบายการทำอาหารไทยแบบคร่าวๆ ได้ หรือแม้กระทั่งไปทานอาหารในต่างประเทศ เวลาเลือกอาหารจากเมนู เขาก็จะมีคำศัพท์เหล่านี้ อธิบายต่อท้ายจากชื่ออาหาร ถ้าเรารู้คำศัพท์ก็จะช่วยให้เราเลือกอาหารได้ตรงใจเรากับที่เราอยากรับประทานมากที่สุด วันนี้เลยรวบรวมเอาคำศัพท์ที่เกี่ยวกับการทำอาหารมาฝากทุกคนค่ะ

Culinary การทำอาหาร การปรุงอาหาร

Culinary Arts เป็นคำรวมๆ สำหรับเรียกศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดเตรียมอาหาร การปรุงอาหารและการทำครัว

Chef เชฟ คือบุคคลที่ ส่วนมากมักจะจบศาสตร์ในการอาหารและมีใบประกาศ หน้าที่คือ บริหารครัว บริหารพนักงานที่ทำงานในครัว ออกแบบเมนูอาหารในซีซั่นต่างๆ  ส่วนมากเชฟจะไม่ได้เป็คนลงมือทำอาหารเอง ผู้ช่วยเชฟจะเป็นคนทำ แต่เชฟเป็นคนดูแลตรวจสอบ ควบคุมคุณภาพอาหาร หรือแม้กระทั่งการตกแต่งอาหารแต่ละจาน 

Cook คือพ่อครัว แม่ครัวหรือคนที่ทำอาหาร อาจจะมีหรือไม่มีใบประกาศก็ได้

Commis ส่วนมากคนจบใหม่จะเริ่มต้นจาก Commis ระดับต่างๆ เช่น Commis1, Commis2, Commis3 และ Commis4 ก่อน พอสะสมประสบการณ์มากขึ้นก็ไปเป็นเชฟ

Food stylist คนที่ตกแต่งอาหาร เพิ่มค่า ทำให้อาหารดูสวยงามน่าทานมากขึ้น 

Recipe แปลว่าสูตรอาหาร

Ingredient แปลว่าวัตถุดิบหรือเครื่องปรุงต่างๆ  

Verbs หรือคำกริยาในการตัดหรือหั่น

Chop / Dice / Rondelle/ Batonnet /Juienne

คำกริยาที่แปลว่า ซอยหรือหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ โดยหั่นแบบไวๆ เช่นหั่นต้นหอมใส่ลาบ ถ้าเป็นคำนามยกตัวอย่างที่บ้านเรารู้จักกันดีก็คือ chopped garlic หมายถึงกระเทียมสับ สำหรับเราๆ การหั่นก็น่าจะหมายถึง Chop แต่สำหรับคนที่เป็นเชฟแล้ว Chop ยังแบ่งย่อยๆ ออกเป็น

Batonnet ศัพท์การทำอาหารส่วนมากจะมาจากภาษาฝรั่งเศส Batonnet หมายถึงหั่นให้เป็นแท่งเล็กๆ

Rondelle การหั่นเป็นแว่นกลมๆ ตามรูปร่างของวัตถุดิบ 

Dice หั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋าเล็กๆ การหั่นแบบนี้เหมาะสำหรับการทำอาหารแบบยัดเป็นไส้ข้างใน ถ้าเป็นเมนูบ้านเราก็ ไข่ยัดไส้ เมนูอาหารฝรั่งเศสก็เป็นพวกเมนู farci ทั้งหลาย

Julienne มาจากภาษาฝรั่งเศส เป็นชื่อคน เป็นการหั่นหรือซอยแบบบางๆ ยาวๆ ความยาว 5 มิลลิเมตร หนา 1-2 มิลลิเมตร กว้าง 1-2 มิลลิเมตร คล้ายการหั่นแบบ Allumette (มาจากภาษาฝรั่งเศส แปลว่าก้านไม้ไฟ)  

คำศพทเกยวกบการทำอาหาร 1

Slide หั่นเป็นชิ้นที่ใหญ่ชึ้น มีพื้นที่ผิวที่มากขึ้น เช่นการสไลด์หอมใหญ่ ใส่ในแฮมเบอร์เกอร์ เป็นต้น 

Carve แล่ เช่นการแล่เนื่อสัตว์ต่าง 

Cut ตัดให้ขาดจากกันด้วยมีด

Mince การสับหรือบดให้ละเอียดด้วยเครื่อง หมูบด เนื้อบด

Grate ขูดหรือทำอาหารให้เป็นชิ้นเล็กลงด้วยที่ขูด เช่นการขูดชีส การขูดมะพร้าว รวมถึงการขูดด้วยตระแกรง

Peel ปอกเปลือก

Verbs ในการย่างหรืออบ

Bake อบในเตาอบ โดยความร้อนจะมาจากทั้งด้านบนและล่าง เวลาที่เรา bake อะไรซักอย่างมักมีการระบุอุณหภูมิและเวลาที่แน่นอน เช่นการอบขาแกะที่ตอนแรกควรอบที่อุณหภูมิสูงๆ ประมาณ 240 เซลเซียส นาน 15 นาที เพื่อให้ขาแกะนั้นมีสีสวย แล้วค่อยลดอุณหภูมิลงมา 180 เซลเซียสนาน 1 ชั่วโมง หรือการอบขนมต่างๆ อย่างเค้ก เป็นต้น

Barbecue ย่างบาร์บีคิว

Grill แปลว่าย่างเหมือนกัน ย่างแบบธรรมดา ย่างในเตาอบ ไก่ย่างที่ขายในร้านขายส้มตำเรียกว่า Grilled chicken ที่ไก่จะสัมผัสกับเปลวไฟโดยตรง

Broil ย่างหรือผิงในเตาอบ โดยความร้อนสูงจะมาจากข้างบนของอาหาร อาหารจะสุกอย่างรวดเร็ว ผิวด้านบนของอาหารจะกรอบนิดๆ เช่น Broiled chicken ไก่อบ 

Roast เป็นการทำให้สุกในเตาอบ คล้ายกับ Broil แต่ว่าความร้อนจะมาจากด้านล่างและรอบข้างของอาหาร อาหารจะสุกช้ากว่า Roast chicken ก็เป็นไก่อบเหมือนกัน แต่จะไม่สัมผัสกับไฟเหมือนการย่างแบบในร้านขายส้มตำบ้านเรา อย่างไรก็ตามไก่อบทั้ง 3 อย่างก็แปลเป็นไทยว่าไก่อบเหมือนๆ กัน แต่ชื่อภาษาอังกฤษจะมาจากวิธีการทำ พอเสิร์ฟมาในจานหน้าตาก็อาจจะดูเหมือนกัน ลิ้นจระเข้แบบเราอาจจะแยกไม่ค่อยออกว่าทำมายังไง แต่คนที่เป็นเชฟพอชิมก็จะรู้วิธีการทำ

Nuke เป็นคำใหม่ที่เกิดขึ้นมาในปี ค.ศ. 1981 พร้อมๆ กันกับไมโครเวฟ ถ้าแปลเป็นภาษาวัยรุ่นก็คือการเวฟอาหาร ตัวอย่างการใช้ I nuke my food. คือฉันใส่อาหารในไมโครเวฟ เป็นคำกริยาที่ใช้เฉพาะกับไมโครเวฟ

Verbs ในการทอดหรือผัด

Fry / Deep fry เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?

อย่าว่าแต่คนไทย ฝรั่งบางคนก็สับสนกับสองคำนี้ ทั้งสองคำเป็นการทอดอาหารโดยใช้น้ำมันเหมือนกัน แต่ต่างกันตรงที่ว่า การทอดแบบ deep fry นั้นจะใส่น้ำมันจนท่วมอาหาร ชิ้นอาหารจะจมลึก (deep) อยู่ใต้น้ำมันในขณะที่กำลังทอด ส่วน fry หรือบางคนก็เรียกว่า shallow fry นั้นจะทอดหรือผัดโดยใช้น้ำมันแค่นิดเดียว เช่น หอยทอด การผัดหมู ตัวอย่างชื่ออาหารที่เรารู้จักกันดีก็อย่างเช่น Fried rice หรือข้าวผัด ส่วนตัวอย่างอาหารที่ทอดกันเแบบ deep fry กล้วยแขก กุ้งชุบแป้งทอด มันฝรั่งทอด เป็นต้น 

Stir fry ผัดหรือคนส่วนผสมให้เข่ากันในขณะที่ทอด stir แปลว่าคน เช่น Stir Fried Chicken with Cashew Nuts ก็คือ ไก่ผัดเม็ดมะม่วงหิมพานต์

Saute คำนี้มาจากภาษาฝรั่งเศสหมายถึงการทอดหรือผัดแบบเร็วๆ คล้ายกับ Sitr fry ยกตัวอย่าง เช่น Boeuf sauté au basilic. ก็คือชื่อของผัดกระเพราเนื้อในภาษาฝรั่งเศส

Steam การทำอาหารให้สุกด้วยไอน้ำหรือการนึ่ง เช่น Thai Steamed Eggs (ไข่ตุ๋น)

Boil / Simmer ทั้งสองคำนี้หมายการต้ม แต่ต่างกันตรงที่ Boil ต้มให้เดือดพล่าน จนน้ำเดือดปุดๆ ส่วน Simmer เป็นการต้มด้วยไฟอ่อนๆ คล้ายกับการต้มซุปหรือการตุ๋นนั่นเอง 

Scramble การกวนทำให้ไข่ขาวและไข่แดงผสมกันในกะทะ

Seasoning การปรุงรส ยกตัวอย่างเช่นการปรุงแต่งรสด้วย พริกไทย เกลือ น้ำมะนาว เป็นต้น

Sprinkle  โรย เช่น โรยด้วยชีส, โรยด้วยต้นหอมหั่น

Soak แปลว่า จุ่มหรือแช่ เช่น การนำเมล็ดอัลมอนด์ไปแช่น้ำ

Grease การทาหรือชโลมด้วยน้ำมัน

Marinate แปลว่าจุ่มในน้ำซอสหรือหมักในน้ำซอส

Crush แปลว่า บด ทุบ หรือ ทำให้แหลก

Melt ทำให้หลอมละลายด้วยความร้อน

Beat การตีส่วนผสมให้เข้ากันอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง เช่น การตีไข่ (เวลาเราทำไขเจียว)

Whisk การตีหรือปั่น อย่างเช่นนม ครีม

Sift การร่อนแป้ง 

Knead การนวดแป้ง

Add การเติมส่วนผสมหนึ่งลงในอีกส่วนผสมหนึ่ง

Pour ใช้กับของเหลว แปลว่า เทหรือริน

Combine การรวมส่วนผสมเข้าด้วยกัน 

Mix ทำให้ส่วนผสมนั้นเข้ากัน 

มีประโยคภาษาอังกฤษ What’s cookin’ ? แปลเป็นไทย “ทำอะไรกิน หอมจัง?” แต่ประโยคนี้บางทีก็ใช้เป็นสแลง คุณไม่ได้กำลังทำกับข้าว แต่เพื่อนฝรั่งถามด้วยประโยคนี้ก็หมายถึง (ชีวิตตอนนี้) เป็นไงบ้าง? 

คำศัพท์เกี่ยวกับการทำอาหาร ยังมีอีกเยอะแยะมากมายเลยนะคะไว้วันหน้าจะนำมาเขียนเพิ่มเติม การรู้คำศัพท์จะช่วยให้เราเข้าใจสูตร อ่านคู่มือการทำอาหารได้เข้าใจมากขึ้น หรือบางครั้งเวลาเราทำอาหารให้เพื่อนฝรั่งทานแล้วอร่อยจนขอสูตรไปทำบ้าง เราก็สามารถที่จะอธิบายให้เพื่อนเข้าใจวิธีทำได้อย่างชัดเจน