วิธีตรวจสอบผลิตภัณฑ์เห็ดหลินจือ ว่ามีคุณค่าทางยาหรือไม่

วิธีตรวจสอบผลิตภัณฑ์เห็ดหลินจือ ว่ามีคุณค่าทางยาหรือไม่

วิธีตรวจสอบผลิตภัณฑ์เห็ดหลินจือ ว่าในแต่ละผลิตภัณฑ์มีคุณค่าทางยาหรือไม่

ผลิตภัณฑ์เห็ดหลินจือมีอยู่มากมายหลายชนิด ตั้งแต่ราคาถูกไปถึงแพง วันนี้จะนำเสนอวิธีตรวจสอบผลิตภัณฑ์เห็ดหลินจือแบบง่ายๆ ว่ามีคุณค่าทางยาคุ้มกับเงินที่จ่ายไปหรือไม่ 

หลายๆ ท่านอาจจะทราบกันอยู่แล้วว่าเห็ดหลินจือนั้น เป็นเห็ดที่มีประโยชน์มากมาย ซึ่งเห็ดหลินจือนอกจากจะนำมารับประทานการปรุงอาหารแล้วยังมีเห็ดหลินจือที่บรรจุอยู่ในรูปแบบแคปซูล โดยคนส่วนใหญ่ก็มักจะเลือกรับประทานกันเพราะมันรับประทานง่ายและเชื่อว่ามีประโยชน์มากกว่าการรับประทานแบบสดๆ แต่ทราบหรือไม่ว่าจริงๆ หากเป็นเห็ดหลินจือแบบแคปซูลนั้นต้องผ่านกระบวนอะไรบ้าง กว่าจะกลายมาเป็นเห็ดหลินจือแบบแคปซูล แล้วคุณค่าทางยาและคุณประโยชน์ยังคงหลงเหลืออยู่หรือเปล่าและมีมากน้อยเพียงใด? 

ส่วนที่มีประโยชน์และมีคุณค่าทางยามากที่สุดคือ สปอร์เห็ดหลินจือ เพราะว่ามีสารไตรเทอร์พีนอยด์ หรือสารในกลุ่มไตรเทอร์พีน (Triterpene) ที่จะช่วยรักษาอาการของโรคเรื้อรังต่าง เช่น โรคความดันโลหิตสูง เส้นเลือดอุดตันในสมอง โรคเบาหวาน ซึ่งสรรพคุณเหล่านี้ได้รับการยอมรับ และมีงานวิจัยรองรับจากหลายสถาบัน ส่วนอื่นๆของเห็ดหลินจือ อย่างเช่นที่เป็น ร่ม เมื่อนำมาสกัดจะมีสารกลุ่มโพลีแซคคาไรด์ ที่จะช่วยเรื่องโรคภูมิแพ้ 

เห็ดหลินจือที่บรรจุอยู่ในรูปแบบของแคปซูล ถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่า เห็ดหลินจือที่เราได้รับประทานนั้นผ่านกระบวนการสกัดหรือแค่นำมาบดเฉยๆ หรือผ่านกระบวนอะไรมาบ้าง แต่เราสามารถตรวจสอบได้โดยการดูผ่านกล้องจุลทรรศน์ ซึ่งการดูผ่านกล้องจุลทรรศน์นั้นเราจะสามารถมองเห็นโครงสร้างของเห็ดหลินจือ ที่จะช่วยให้เราทราบได้ว่าเห็ดหลินจือที่อยู่ในรูปแบบของแคปซูลนั้นมีประโยชน์ และคุณค่าทางยาที่ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้หรือไม่ โดยจะดูในส่วนที่เป็นสปอร์ของเห็ดหลินจือ ว่าเปลือกของสปอร์นั้นถูกกะเทาะหรือไม่  เพราะเปลือกของสปอร์นั้นมีความแข็งมาก จนน้ำย่อยของเราไม่สามารถย่อยได้ เมื่อทานเข้าไปร่างกายก็จะขับถ่ายออกมา

วิธีตรวจสอบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเห็ดหลินจือ 

หากนำไปส่องกล้องจุลทรรศน์ จะเห็นได้ว่าแต่ละสปอร์ของมันจะมีลักษณะเหมือนมีเปลือกหุ้มเป็นฟิล์มบางๆ สองชั้นแสดงว่าเป็นสปอร์ที่ยังไม่กะเทาะออก เวลารับประทานเข้าไปทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมประโยชน์จากเห็ดหลินจือได้ เรียกได้ว่ากินเข้าไปเท่าไหร่ก็ออกมาเท่านั้น ร่างกายเราจึงต้องการเห็ดหลินจือที่มีการกระเทาะเปลือกของสปอร์เรียบร้อยแล้ว เพื่อให้ร่างกายสามารถดูดซึมเอาไปใช้งานได้นั่นเอง ถาพซ้ายมือคือสปอร์เห็ดหลินจือ ขวามือคือสปอร์เห็ดหลินจือที่ถูกทำให้แตก

วิธีตรวจสอบผลิตภัณฑ์เห็ดหลินจือแบบง่ายๆ ว่ามีคุณค่าทางยาหรือไม่

ลักษณะของสปอร์เห็ดหลินจือที่ถูกกะเทาะเปลือกสปอร์เห็ดออกเรียบร้อยแล้วนั้น เมื่อเราดูผ่านกล้องจุลทรรศน์จะเห็นได้ว่าเป็นลักษณะแตกๆ แหว่งๆ เว้าๆ แต่ก็ยังคงมีบางส่วนที่ยังคงเป็นรูปร่างของสปอร์ที่ยังไม่กะเทาะแต่มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้น เพราะเวลาเราบดละเอียดมากๆนั้นมันเป็นไปได้ยากมากที่จะละเอียดเท่ากันหมด แต่ส่วนมากเห็ดหลินจือที่นำมากะเทาะเปลือกสปอร์ออกนั้นเราสามารถบดนานๆ เพื่อให้เปลือกของสปอร์แตกละเอียดหมดเลยก็ได้ แต่ส่วนมากจะกระเทาะเปลือกออกเพียง 90 เปอร์เซนต์ เท่านั้น เพียงเพื่อให้สามารถพิสูจน์ได้ว่านี้คือสปอร์ของเห็นหลินจืออย่างแท้จริง

วิธีตรวจสอบแบบไม่ใช้กล้องจุลทรรศน์

วิธีการง่ายๆ ที่ใช้ตรวจสอบเห็ดหลินจือตัวอย่างที่เราได้ทำการซื้อมาเพื่อบริโภคนั้น เราสามารถทำได้เองโดยที่ไม่ต้องพึ่งกล้องจุลทรรศน์ และยังสามารถนั่งทดลองเองได้ที่บ้านอีกด้วย วิธีการทำคือ โดยการนำน้ำธรรมดาใส่ในหลอดทดลอง หรือภาชนะที่มีลักษณะใส เพื่อให้เห็นความแตกต่างของเห็ดหลินจือที่เรานำมาทดลอง ดังนี้

ตัวอย่างที่ 1 : เมื่อเราเปิดแคปซูลเห็นหลินจือที่เราซื้อมาเพื่อรับประทานนั้น เมื่อเรานำมาเทลงในน้ำมันจะค่อยๆจมลงมา แต่สีของน้ำนั้นจะมีลักษณะใสอยู่ และจะตกตะกอนลงมาเรื่อยๆ จนหมด น้ำก็ยังคงมีสีใสดังเดิม เพราะตะกอนที่ถูกกะเทาะแล้วมันจะหนักจึงจมลงไปในน้ำเป็นตะกอนนำก็ยังคงความใสดังเดิม

ตัวอย่างที่ 2 : เมื่อเราเปิดแคปซูลเห็นหลินจือที่เราซื้อมาเพื่อรับประทานนั้น เมื่อเรานำมาเทลงในน้ำ มันจะฟุ้งกระจายอยู่ในน้ำ น้ำมีสีขุ่นออกเป็นสีน้ำตาลของเห็ด เพราะว่าสปอร์ที่ยังไม่ได้กะเทาะจะมีลักษณะเล็กมาก จึงแขวนลอยอยู่ในน้ำอย่างชัดเจน

สรุปได้ว่า เวลานำมาทดลองถ้าน้ำมีลักษณะใสมีตะกอนด้านล่างคือเป็นสปอร์ของเห็ดหลินจือที่ได้มีการกะเทาะเปลือกเรียบร้อยแล้ว ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้งานได้อย่างเต็มที่ แต่ถ้าน้ำมีสีขุ่นเมื่อเทลงไปนั้นคือเป็นสปอร์ของเห็ดหลินจือที่ยังไม่ได้กะเทาะ ทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมไปใช้งานได้นั่นเอง

สรรพคุณเห็ดหลินจือ กินอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด

ที่มา: รายการยาหมอบอก โดยรศ.ภญ.นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ คณะเภสัชวินิจฉัย มหาวิทยาลัยมหิดล