ประวัติ สตีฟ จอบส์ ตอนที่ 2 – การก่อตั้งบริษัท Apple
มาต่อกันโดยไวเลยนะคะกับ ประวัติการก่อตั้งบริษัท Apple – ประวัติ สตีฟ จอบส์ ตอนที่ 2
คอมพิวเตอร์ Apple I เครื่องแรกของโลก
ในช่วงปี ค.ศ.1976 คอมพิวเตอร์ยังเป็นเครื่องจักรที่มีขนาดใหญ่และกินพื้นที่ทั้งห้อง ไม่มีแป้นพิมพ์ ไม่มีหน้าจอ ซึ่งคอมพิวเตอร์ในสมัยนั้นมันช่างแตกต่างกับคอมพิวเตอร์ในสมัยนี้อย่างสิ้นเชิง หลังจากที่สตีฟ วอซเนียกนำคอมพิวเตอร์ที่เขาสร้างขึ้นออกมาให้เพื่อนๆ และสตีฟ จอบส์ดู เพื่อนๆ ต่างมารุมดูด้วยความตื่นเต้น และนั่นก็ทำให้สตีฟ จอบส์เกิดไอเดีย ในหัวของเขาก็มีความคิดเพียงเรื่องเดียวก็คือ การทำตลาดคอมพิวเตอร์ เขาบอกกับสตีฟ วอซเนียก ว่าเราจะทำมันขึ้นมาขาย แต่วอซไม่แน่ใจว่ามันจะขายได้ สตีฟ จอปส์เลยบอกว่างั้นเราจะตั้งบริษัทกันเลย ซึ่งในขณะนั้นเขามีอายุเพียงแค่ 21 ปีเท่านั้น
ในปี ค.ศ. 1976 สตีฟ จอบส์ และสตีฟ วอซเนียก ก็ร่วมกันก่อตั้งบริษัทแอปเปิ้ล คอมพิวเตอร์ ขึ้นมาโดยใช้โรงรถข้างบ้านเป็นออฟฟิศ พร้อมๆ กับเครื่องมือแห่งอนาคต คือคอมพิวเตอร์แอปเปิ้ลเครื่องแรก ภายนอกอาจจะดูเหมือนของเล่นกล่องไม้อย่างหนึ่ง แต่จริงๆแล้วมันคือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเครื่องแรก ที่ระบบ CPU มีความเร็วถึง 1 เมกกะเฮิร์ซ ซึ่งถือว่าเร็วมากในยุคนั้น มี RAM 8 K สิ่งที่ Apple I ทำได้ในสมัยนั้นคือเขียนโปรแกรมและคำนวณผล แต่ว่ามันเชฟหรือบันทึกข้อมูลไม่ได้ ราคา Apple I คือ 666.66 ดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่ง 6666 นั้นเป็นเลขท้ายของเบอร์โทรสำหรับตอบรับการเล่าเรื่องตลกของสตีฟ วอซเนียก การเปิดตัวแอปเปิ้ล วันก็กลายเป็นการปฏิวัติวงการคอมพิวเตอร์ทั้งหมด
ประวัติ สตีฟ จอบส์ และ สตีฟ วอซเนียก
แต่อย่างไรก็ตามในช่วงแรกที่เขาเริ่มคิดจะขายคอมพิวเตอร์โดยการตั้งบริษัทขึ้นมานั้น เขาก็ได้คิดถึงความแตกต่างและตระหนักว่ากลุ่มลูกค้าที่เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ที่จะมาเป็นลูกค้าของ Apple I นั้นมีจำนวนจำกัด ดังนั้นเขาจึงมีความคิดที่ต้องขายคอมพิวเตอร์ให้สาธารณชน ให้ทุกคนสามารถใช้คอมพิวเตอร์ของเขาได้ สตีฟ จอบส์ก็เลยไปขอให้สตีฟ วอชเนียกปรับแต่งสิ่งประดิษฐ์ของเขาเพื่อที่จะให้เข้าถึงคนกลุ่มใหญ่ได้ จากนั้นสตีฟ วอชเนียกก็ได้ลงมือทำ ในไม่กี่อาทิตย์ต่อมาก็ประสบความสำเร็จจนกลายมาเป็น Apple II ที่ออกมาตามหลัง Apple I เพียงแค่ 1ปี ซึ่งสตีฟ วอซเนียกเคยให้สัมภาษณ์และเขาได้โชว์รหัสที่อยู่ในแอปเปิ้ล ทู ที่ทำให้มันทำงาน ซึ่งรหัสทั้งหมดนั้นไม่มีข้อผิดพลาดใดๆ เลย เขาบอกว่าเขาไม่รู้ว่าเขาทำมันขึ้นมาได้ยังไง และยังพูดติดตลกด้วยว่าถ้าให้ทำอีกเขาคงทำไม่ได้
วอซเนียกและจอปส์ออกแบบให้ Apple II นั้นดูแตกต่างโดยเปลี่ยนจากเครื่องที่ดูทึมๆ ให้กลายเป็นคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปที่ใครๆ ก็ใช้ได้ โดยมันถูกห่อหุ้มด้วยกรอบพลาสติก มาพร้อมกับหน้าจอ และดิสก์ไดรฟ์ ซึ่งนั่นก็กลายเป็นการปฏิวัติ Apple II คือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเครื่องแรก เพราะมันเป็นคอมพิวเตอร์ที่พร้อมที่จะออกจากกล่องแล้วนำมาใช้งานได้เลย ในปี ค.ศ 1978 สตีฟ จอบส์มีแผนการตลาดที่จะโน้มน้าวครอบครัวชาวอเมริกันให้ใช้ Apple II ด้วยการโฆษณาสินค้า Introducing Apple II คือแคมเปญแรกของบริษัทแอปเปิ้ล ที่เป็นเรื่องของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในชีวิตประจำวัน เจ้าของ Apple II สามารถเช็คหุ้นในตลาดได้จากในห้องครัว
ในยุค 20 ก่อนที่จะมีอินเตอร์เน็ต ในโฆษณาอาจจะเหมือนกับการโกหกในตอนนั้น แต่หลังจากที่มีการโฆษณาออกไปก็ทำให้ Apple II ของเขาสามารถขายได้ 1,000 เครื่องต่อเดือนเลยทีเดียว แอนดี้ เฮิสฟิลล์ (Andy Hertzfeld) วิศวกรที่สตีฟ จอปส์จ้างให้มาทำงานให้กับแอปเปิ้ลตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 เล่าว่าการขาย Apple II ได้มากถึงพันเครื่องต่อเดือนเป็นเรื่องที่พวกเขามีความสุขกับมันมาก ซึ่งนั่นก็กลายเป็นการประสบความสำเร็จของพวกเขาทั้งคู่ ถึงแม้ความสำเร็จนี้จะเริ่มเกิดขึ้นจากในโรงรถขนาดเล็ก แต่ก็สามารถกลายมาเป็นบริษัทที่สำคัญของซิลิคอน วัลเลย์ได้ในเวลาเพียงแค่ 4 ปีเท่านั้น แอปเปิ้ล ทู ถูกขายออกไปทั้งหมด 300,000 เครื่องในสหรัฐอเมิกา
ประวัติ สตีฟ จอบส์
แต่นั้นมันเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นของสตีฟ จ๊อบส์เท่านั้น ในปี ค.ศ.1981 บริษัทแอปเปิ้ล ตอมพิวเตอร์ก็กลายเป็นดวงรุ่งพุ่งแรง 3 ปีหลังจากเปิดบริษัทก็กลายมาเป็นบริษัทมาชน มีการเปิดขายหุ้นให้กับบุคลลทั่วไป หุ้นจำนวน 5 ล้านหุ้นของแอปเปิ้ลถูกซื้อในไม่กี่นาที และมูลค่าของบรัทกระโดดขึ้น 32 เปอร์เซ็นต์ในวันแรก จอบส์อายุ 25 วอซเนียกอายุ 30 กลายเป็นเศรษฐีในชั่วข้ามคืน หากนำหุ้นของทั้งสองคนมารวมกันจะมีมูลค่าสูงถึง 300 ล้านดอลล่าร์เลยทีเดียว
แต่ สตีฟ วอซเนียกนักประดิษฐ์อัจฉริยะก็ค่อยๆ ถอนตัวออกไปจากบริษัท เพื่ออุทิศตนต่อสิ่งที่เขาหลงใหล เช่นการซ่อมแซมสิ่งประดิษฐ์แปลกๆ หรือแม้กระทั่งการจัดคอนเสิร์ตดนตรีโพร์ค เพราะว่าการมีสตีฟ จอปส์เป็นคู่หูนั้นไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลย เพราะจอปส์ไม่เคยพอและต้องการควบคุมทุกอย่างโดยสิ้นเชิง แต่สำหรับสตีฟ จอปส์ การผจญภัยเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้น
มาถึงตรงนี้แล้วดูเหมือนว่าสตีฟ จอปส์ นั้นเป็นคนเลิศเลอเพอร์เฟค แต่ความจริงแล้วศาสดาของโลกยุคใหม่นั้นก็เป็นเหมือนคนธรรมดาทั่วไป แถมนิสัยการทำงานของเขานั้น เป็นคนที่ดุดัน ฉุนเฉียว อารมณ์ร้าย เป็นคนแปลกๆ ไม่อาบน้ำเป็นอาทิตย์ เป็นคนอ่อนไหว บทจะร้องไห้ ก็ร้องไห้โฮออกมาเลย
คุณสุทธิชัย หยุ่น บรรณาธิการหนังสือชีวประวัติ “สตีฟ จอปส์” ภาคภาษาไทยนั้นได้เขียนเปิดหน้าไว้ ประมาณว่าในหนังสือชีวประวัติ สตีฟ จอปส์ นั้นมีทั้งเรืองราวน่าทึ่ง น่าประหลาด น่าหมั่นไส้ น่าชื่นชม และน่ากระทืบ อย่างบางเรื่องที่เขาทำไว้กับคนอื่น เช่นเพื่อนรักที่ชื่อว่า แดเนียล คอตคี (Daniel Kottke) ซึ่งร่วมทุกข์ร่วมสุข แชร์บ้านเช่าด้วยกันตั้งแต่สมัยเรียน เดินทางไปศึกษาลัทธิเซนด้วยกันที่อินเดีย รวมทั้งทำงานร่วมงานกันมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัทในปี ค.ศ. 1976
พอจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชน มีการจัดสรรหุ้น IPO มีพนักหลายคนได้ส่วนแบ่งหุ้น แต่แดเนียล คอตคีกลับหลุดโผไปซะงั้น ซึ่งตอนนั้นเขาก็งงๆ และคาใจจนเดินไปถามแต่สตีฟ จอปส์ก็ไม่ตอบ ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่เขาอาจจะไม่อยากจำ แต่สำหรับแดเนียล คอตคีนั้นจำได้แม่นและนั่นก็เป็นต้นเหตุให้เขาลาออกจากบริษัทแอปเปิ้ลโดยไม่คิดที่จะหวนกลับไปร่วมงานกับจอปส์อีกเลย
ประวัติ สตีฟ จอบส์
แดเนียล คอตคียังคงเป็นเพื่อนที่ดีและอาศัยอยู่ร่วมกันในคูเปอร์ติโน ภาพข้างบนคือภาพที่ Kottke ร่วมเป็นสักขีพยานการเปิดตัวงานของคอมพิวเตอร์แอปเปิ้ล จากนั้นความแตกแยกระหว่างคนทั้งสองก็เริ่มขึ้น โดยเขาเล่าว่า ในปีค.ศ. 1975 สติฟ จอปส์และเพื่อนๆ มักจะไปชุมนุมกันในสวนแอปเปิ้ลแห่งหนึ่งที่โอเรกอน ทั้งเขาและจอปส์นั้นถือศีลคือกินผลไม้เป็นอาหาร ส่วนมากก็คือแอปเปิ้ล ที่พอกินมากๆ เข้าก็น่าเบื่อและไม่อร่อยเลย แดเนียลบอกว่านั่นคือที่มาของชื่อบริษัท
ตอนที่พวกเขาเดินทางไปอินเดียด้วยกันนั้นทั้งจอปส์และคอตคีก็ใส่ชุดอินเดีย โกนหัวเหมือนพระแต่มีเป้สะพายหลังเหมือนแบ็คแพ็คเกอร์ ขึ้นรถไฟชั้นสามเดินทางไปทั่วอินเดีย สตีฟ จอปส์ยังเคยช่วยเหลือเขาตอนที่เดินทางของเขาหาย คอตคีนั้นไม่เหลือเงินซักบาทจอปส์นั้นเดินทางกลับมาก่อน แต่ก่อนจากมาสตีฟ จอปส์ก็ให้เงินทั้งหมดที่เขามีอยู่ให้กับแดเนียล โดยช่วงเริ่มก่อตั้งบริษัท แดเนียล คอตคีเข้าทำงานในตำแหน่งช่าง และเป็นพนักงานคนที่ 12 ของบริษัทแอปเปิ้ลจนกระทั่งปี 1980 ขณะที่เริ่มมีการจัดสรรหุ้น พอคอตคี เริ่มรู้ว่าไม่ได้รับส่วนแบ่งเขาก็เดินไปถามจอปส์ว่าทำไมแต่ก็ไม่เคยไดรับคำตอบ
แดเนียล คอตคีเริ่มมองหางานใหม่แต่มันก็ยากเพราะเขาไม่ได้จบวิศวกรมา ซึ่งตอนนั้นเองเพื่อนร่วมงานที่ชื่อ Rod Holt ซึ่งเป็นวิศวกรและเป็นพนักงานคนที่ 12 ของแอปเปิ้ลเห็นเหตุการณ์มาตลอดและทนไม่ได้ถึงขนาดเดินเข้าไปถามจอปส์ว่าทำไมไม่แบ่งหุ้นให้แดเนียลบ้าง พร้อมกับเสนอว่าเอางี้มั๊ยถ้าจอปส์แบ่งให้เท่าไหร่เดี๋ยวเขาจะแบ่งส่วนของเขาให้เท่าๆ กันแต่จอปส์ก็ปฏิเสธพร้อมกับบอกว่าเขาให้ 0 หุ้น
หนึ่งปีผ่านไป สตีฟ วอซเนียกได้นำหุ้นของเขามูลค่า 10 ล้านดอลล่าห์สหรัฐมาแบ่งให้กับวิศวกรบริษัทจำนวน 100 คน แดเนียล คอตคี ก็หลุดโผอีกเพราะเขาไม่ได้เป็นวิศวกร ทำให้คอตคีรู้สึกแย่มาก ปลายปี 1984 เขาจึงตัดสินใจลาออกหลังจากที่ทำงานมานานถึง 8 ปี หลังจากที่เขาลาออกไปแล้วหนึ่ง สตีฟ วอซเนียก ก็ได้แบ่งหุ้นให้เขาจำนวนหนึ่ง
จนกระทั่งทุกวันนี้ แดเนียล คอตคีก็ยังคาใจว่าทำไมเขาไม่ได้ส่วนแบ่ง เขาสงสัยว่าสตีฟ จอปส์อาจจะหมั่นไส้เขาเรื่องที่เขาไปวอแวกับสาวของจอปส์ เพราะช่วงที่เป็นวัยรุ่นจอปส์กับคอตคีได้รู้จักกับสาวคนหนึ่งในงานปาร์ตี้ แต่จอปส์ก็ตัดสินใจไม่สานต่อความสัมพันธ์เพราะเธอคงไม่ย้ายมาอยู่แคลิฟอร์เนียและจอปส์ก็คงไม้ย้ายไปอยู่ชิคาโกแน่ๆ แต่มันก็เป็นเรื่องเพราะแดเนียล คอตคีนั้นเคยเดินทางไปหาเธอครั้งหนึ่งที่ชิคาโก และจอปส์คงแอบรู้แม้คอตคีจะบอกว่ามันไม่มีอะไรไปมากว่านั้นก็ตาม
แม้เวลาจะผ่านไปนานขนาดไหนแต่ แดเนียล คอตคีก็จดจำเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ตาม คุณณงลักษณ์ จารุวัฒน์ ผู้แปลหนังสือชีวประวัติ “สตีฟ จอปส์” ภาคภาษาไทย ได้กล่าวไว้ว่าในความร้ายๆ ของเขานั้นก็จะมีความน่ารักแบบอยู่เสมอ เวลาน่ารักกับใครเขาก็จะแสดงออกแบบสุดๆ อย่างเช่นตอนที่สตีฟ จอปส์ไปชวน จอห์น สกัลลี่ย์ ให้มาเป็น CEO ให้กับบริษัทแอปเปิ้ล สตีฟ จอปส์ก็จีบกันอยู่นาน แล้วจอห์น สกัลลี่ย์นี่แหละที่เป็นคนไล่จอปส์ออกจากบรอษัทของเขาเอง อย่าลืมติตาม ประวัติสตีฟ จอบส์ และเส้นทางการบุกเบิก Apple ตอนที่ 3 กันนะคะ
ที่มา : เส้นทางนักบุกเบิก-สตีฟ จ๊อบส์ จากรายการ new tv, รายการ รายการแบไต๋ไฮเทค และคุณสุทธิชัย หยุ่น บรรณธิการหนังสือสตีฟ จ็อบส์
เรียบเรียงโดย maanow.com
รวมเรื่องน่ารู้ นานาสาระจากมะนาว ดอทคอม