วิธีป้องกันฟ้าผ่า หรือวิธีหลีกเลี่ยงไม่ให้โดนฟ้าฝ่า

บ้านเราก็เกิดฝนฟ้าคะนองบ่อยมากและได้ยินข่าวว่ามีคนเสียชีวิตเพราะโดนฟ้าฝ่าอยู่บ่อยครั้ง วิธีป้องกันฟ้าผ่า หรือการหลีกเลี่ยงไม่ให้โดนฟ้าฝ่าได้อย่างไร?

วิธีป้องกันฟ้าผ่า วิธีหลีกเลี่ยงไม่ให้โดนฟ้าฝ่า

ฟ้าผ่า ฟ้าแลบ เกิดขึ้นได้อย่างไร?

ปรากฏการณ์ ฟ้าผ่า ฟ้าแลบ เกิดขึ้นจากเมฆฝนฟ้าคะนอง (Cumulonimbus) โดยก้อนเมฆแต่ละก้อนมีประจุไฟฟ้าสะสมเคลื่อนที่ เมื่อเกิดการไหลของประจุไฟฟ้าภายในเมฆก้อนเดียวกัน จะทำให้เกิดปรากฏการณ์ ฟ้าแลบ แต่ถ้าประจุไฟฟ้าเกิดการเคลื่อนที่ ไหลข้ามจากเมฆก้อนหนึ่งไปยังเมฆอีกก้อนหนึ่ง จะทำให้เกิดเส้นสายฟ้า ซึ่งถือเป็นปรากฏการณ์ฟ้าผ่าชนิดหนึ่ง แต่หากพื้นดินมีวัตถุแหลมสูงขึ้นมาจากพื้นดิน สายฟ้าอาจจะผ่านลงมาที่วัตถุได้ เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า ฟ้าผ่า แต่ละปีทั่วโลกมีพายุฝนฟ้าคะนองที่ทำให้เกิดฟ้าแลบ ฟ้าผ่ามากถึง 16 ล้านครั้ง แต่ประเทศไทยจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งในดือนเมษายน – พฤษภาคม พบบ่อยในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และพื้นที่ใกล้เคียงเขตอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เนื่องจากอนุภาคเล็กในควันที่ปล่อยสู่ท้องฟ้า รวมทั้งฝุ่น ละอองน้ำ จนทำให้เกิดประจุไฟฟ้าได้ง่าย

ก่อนอื่นมาดูจุดเสี่ยงที่จะเกิดฟ้าผ่ากันก่อน จุดที่เสี่ยงที่สุดคือ ที่โล่งแจ้งไม่มีที่กำบัง ที่เราอาจจะได้ยินข่าวบ่อยคืออยู่เพิงกลางทุ่งนาหรือติดชายน้ำ สนามกอล์ฟ สนามฟุตบอล หรือแม้กระทั่งในสระว่ายน้ำ หรืออยู่ที่สูงๆอย่างต้นไม้ การเกิดฟ้าไม่จำเป็นต้องมีโลหะนำไฟฟ้าอย่างที่เราเคยได้ยินมา เพราะปรากฏการณ์ฟ้าผ่าสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ ในยามที่ฝนฟ้าคะนอง และมักจะเกิดก่อนที่ฝนจะตกลงมา แม้ว่าไม้ได้อยู่ตรงจุดที่ฟ้าลงมาแต่ก็อาจเสียชีวิตได้ เนื่องจากเมื่อมีสายฟ้าฟาดลงมาบนวัตถุต่างๆ กระแสไฟจะกระเพื่อมเป็นคลื่นออกไปรอบวัตถุุนั้นๆ

วิธีป้องกันฟ้าผ่า หรือวิธีหลีกเลี่ยงไม่ให้โดนฟ้าฝ่า

1. เมื่อต้องเผชิญกับฝนฟ้าคะนองควรเข้าไปหลบในบ้าน หรือในอาคารขนาดใหญ่ และควรยืนให้ห่างจากผนัง หน้าต่าง หรือประตูบ้าน
2. กรณีที่กำลังอยู่ในรถยนต์ ควรรีบปิดประตูรถ รวมถึงปิดกระจกรถยนต์ให้มิดชิด ไม่ควรสัมผัสกับตัวถังรถยนต์ซึ่งเป็นโลหะ ความจริงแล้วรถเป็นสถานที่ปลอดภัย แม้ฟ้าจะผ่าที่รถแบบจังๆ แต่กระแสไฟฟ้าจะวิ่งผ่านผิวโลหะรอบรถ และไหลลงดินไปจนหมด หากมีฟ้าผ่าควรรออย่างน้อย 30 นาที ให้แน่ใจว่าไม่มีกระแสไฟฟ้าหลงเหลืออยู่ แล้วจึงเปิดประตูออกจากรถ

3. ในกรณีที่หาที่หลบไม่ได้ ให้ทำให้ตัวต่ำลงด้วยการนั่งยองๆ ซุกศีรษะไว้ระหว่างเข่า แขนทั้งสองข้างแนบกับเข่า เอามือปิดหูไว้ ส่วนเท้าทั้งสองข้างชิดกันหรือเขย่งอยู่บนปลายเท้าเพื่อให้มีผิวสัมผัสกับพื้นดินให้น้อยที่สุดและให้ส้นเท้าทั้งสองข้างแตะกัน ไม่ควรหมอบตัวราบไปกับพื้น เพราะกระแสไฟฟ้าอาจะวิ่งมาตามพื้นดินก็ได้

วิธีป้องกันฟ้าผ่า

วิธีการเอาตัวรอดจากการโดนฟ้าผ่า
ในช่วงที่กำลังจะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ถ้าเห็นว่ามีสายฟ้าเปรี้ยงลงมา หากนับ 1-6 แล้วได้ยินเสียงดังเปรี้ยง แสดงว่าเมฆก้อนนั้นอยู่ห่างไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร แต่ถ้าดังถี่ขึ้น สั้นขึ้น แสดงว่ามันกำลังเคลื่อนที่มาทางเรา ให้ออกจากสถานที่นั้นให็เร็วที่สุด หากหนีไม่ทัน ให้ทำตัวให้ต่ำลงด้วยการนั่งยองๆ ตามรูปภาพ ใช้มือทั้งสองข้างปิดใบหูไว้ กระแสไฟอาจวิ่งมาตามดิน ควรเขย่งส้นเท้าขึ้นเพื่อสัมผัสกับดินให้น้อยที่สุด ส้นเท้าทั้งสองข้างควรชิดกัน กรณีที่มีแสไฟวิ่งเข้าเท้าข้างหนึ่งจะได้วิ่งไปอีกเท้าข้างหนึ่งแทนที่จะวิ่งผ่านเข้าไปในร่างกาย ห้ามสัมผัสโลหะหรือน้ำในบริเวณนั้น

4. อย่ายืนหลบใต้ต้นไม้ใหญ่ ที่สำคัญ อย่ากางร่ม! ในขณะที่ฝนฟ้าคะนองมีฟ้าแลบ เพราะจะเสี่ยงต่อการโดนฟ้าฝ่าได้
5. ไม่ควรสัมผัสกับโลหะทุกชนิด เพราะโลหะเป็นตัวนำไฟฟ้าอยู่ให้ไกลจากสายไฟ
6. หลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำ ซึ่งเป็นตัวนำไฟฟ้าได้เช่นกัน

7. ควรทำการถอดอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านออกให้หมด เพราะถ้ามีฟ้าลงมาที่เสาไฟฟ้า หรือสายไฟฟ้า ก็อาจทำให้กระแสไฟกระชากเครื่องใช้ไฟฟ้า จนทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าเสียหายได้ ควรดึงสายอากาศออกจากตัวโทรทัศน์ เพราะถ้าหากฟ้าผ่าที่เสาอากาศบนหลังคาบ้านกระแสไฟอาจวิ่งเข้าสู่โทรทัศน์จนทำให้เสียหายได้

ความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับฟ้าผ่า
การใช้โทรศัพท์มือถือขณะที่ฝนตก หรือโครงเสื้อชั้นในที่เป็นเหล็กของผู้หญิง ไม่ใช่ตัวล่อสายฟ้า หรือต้นเหตุแห่งการเกิดฟ้าผ่า แต่พอมีฟ้าผ่าแล้ว มักจะเห็นว่าวัสดุเหล่านั้นมีรอยไหม้ เนื่องจากเป็นโลหะ จึงทำให้เกิดการเข้าใจผิดว่าสิ่งเหล่านั้นคือตัวล่อฟ้า ส่วนตามสายไฟฟ้าแรงสูงต่างจะมีสายล่อฟ้าเชื่อมต่อลงดิน หากเกิดฟ้าผ่ากระแสไฟฟ้าก็จะไหลลงดิน ไม่สร้างความอันตรายให้กับคน ตัวล่อฟ้าจะล่อให้ฟ้ามาผ่าตรงจุดๆนั้น แต่ว่าเป็นฟ้าผ่าที่ปลอดภัยเนื่องจากมีสายให้กระแสไหลลงดินนั่นเอง

อ่านเรื่องน่ารู้ นานาสาระ จากมะนาวดอทคอม->คลิ๊ก..