การปรับเวลาให้เร็วขึ้นจากปริกติ หรือ Daylight Saving Time
หลายๆ ประเทศในโลกมีการปรับเวลาให้เร็วกว่าเดิม หรือปรับให้เวลาช้าลงจากปรกติถึงปีละ 2 ครั้ง สำหรับบางคนที่เพิ่งย้ายไปอยู่ใหม่อาจจะงงๆ ที่เวลาไปซื้อแล้วทำไมร้านค้าถึงยังไม่เปิด เราก็ว่าเราออกจากบ้านตรงเวลา แต่พอไปถึงห้องเรียนอาจารย์กลับสอนไปแล้วหนึ่งตั้งชั่วโมง ทำไมถึงต้องมีการปรับเวลาให้ช้าลง หรือว่าเร็วขึ้นจากปรกติ แล้วเมื่อไหร่ถึงจะมีการปรับเวลากลับคืนเหมือนเดิม วันนี้ทางเวบไซต์ maanow รวบรวมข้อมูลมาฝากค่ะ
การปรับเวลาเร็วขึ้นจากปรกติ หรือ DST ย่อมาจาก Daylight Saving Time มีการนำมาใช้ในเมืองหนาว ยกตัวอย่างเช่นประเทศในทวีปยุโรป เพราะในฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน ช่วงเวลากลางวันมีแสงสว่างค่อนข้างยาวนาน ซึ่งแตกต่างกับในประเทศไทยเราที่พระอาทิตย์จะขึ้นและตกดินค่อนข้างตรงเวลาคือประมาณทุก 6 เช้าและเย็น แต่ในขณะที่ประเทศทางยุโรป แม้เวลา 4 ทุ่มแล้วก็ยังคงมีแสงอาทิตย์อยู่เลย โดยเฉพาะในฤดูร้อน อย่างประเทศนอร์เวย์บางช่วงเวลาพระอาทิตย์ก็ตกดินเอาเกือบๆ เที่ยงคืน แต่พอเข้าสู่ฤดูหนาวหรือฤดูใบไม้ร่วง เวลา 5-6 โมงเย็นพระอาทิตย์กลับลับขอบฟ้าไปแล้วซะอย่างงั้น
พอเข้าสู่ฤดูในไม้ผลิจึงการปรับเวลาให้เร็วขึ้นจากเดิม หรือที่เรียกกันว่า Summer Time เพื่อเป็นการออมแสงสว่าง และประหยัดพลังงาน การปรับเวลาจากปรกติให้เร็วขึ้น เริ่มมีการนำมาใช้ครั้งแรก เมื่อครั้งที่โลกเกิดภาวะวิกฤตด้านพลังงานเชื้อเพลิง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เมื่อปีคริสตศักราชที่ 1916
จริงๆ แล้วมีคนให้ความสนในเรื่องนี้มาก่อน โดยในปี ค.ศ. 1784 นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันที่ชื่อว่า เบนจามิน แฟรงคลิน มีความคิดว่าเราน่าจะมีการปรับเวลาให้เร็วขึ้นจากเดิม เพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน แต่ในตอนนั้นยังไม่ค่อยมีใครเห็นด้วย แถมมองว่าเป็นเรื่องน่าขัน แนวคิดเรื่องการปรับเวลาจึงเงียบไป
ในปี ค.ศ. 1907 วิลเลียม วิลเล็ตต์ สถาปนิกชาวอังกฤษเห็นว่าในฤดูร้อนพระอาทิตย์ขึ้นเร็วกว่าปรกติ แต่น่าเสียดายที่ไม่มีใครตื่นทันจึงได้นำเสนอแนวคิดดังกล่าวหลายครั้ง แต่ก็ยังไม่ทันได้มีการนำ DST มาใช้ วิลเลียม วิลเล็ตต์ ก็เสียชีวิตลงซะก่อน จนกระทั่ง ในปี ค.ศ. 1916 เกิดภาวะวิกฤตด้านพลังงาน รัฐบาลเยอรมนี และอังกฤษจึงประกาศให้มีการนำระบบการปรับเวลามาใช้กันอย่างจริงจัง
ในปัจจุบันมี 70 ประเทศทั่วโลกที่มีการนำระบบ DST มาใช้ ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป มีการปรับเวลาให้เร็วกว่าเดิมอีก 1 ชั่วโมงในเช้าวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนมีนาคม และปรับเวลาคืนให้เป็นปรกติ (หรือปรับเวลาให้ช้าลง 1 ชั่วโมง) ในเช้าวันอาทิตย์ (02.00 น.) ของเดือนตุลาคม ส่วนรัสเซียจะมีการปรับเวลาให้เร็วกว่าปรกติถึง 2 ชั่วโมงในช่วงฤดูร้อน และประเทศที่อยู่ทางขั้วโลกใต้ ฤดูร้อนจะมาเยือนในช่วงปลายปี ดังนั้นช่วงเวลาของการปรับเวลาก็จะต่างกันออกไป เช่น ที่ประเทศนิวซีแลนด์ ในช่วงเดือน ตุลาคม – มีนาคม จะมีการปรับเวลาให้เร็วกว่าเดิมอีก 1 ชั่วโมง
อย่างไรก็ตาม การปรับเวลาให้เร็วขึ้นจากปรกติ หรือ DST จะแตกต่างกันไปตามแต่ละเขตเวลา หรือตามแต่ Time zone แต่บางประเทศอย่าง เม็กซิโก ซึ่งเป็นประเทศที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรแต่ก็มีการปรับเวลา หรือนำระบบ DST มาใช้เพราะมีความผูกพันทางเศรษฐกิจกับสหรัฐอเมริกา จึงมีการปรับเวลาตามกันด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจนั่นเอง
ส่วนประเทศไทยของเรามีแสงแดดมากมายเหลือเฟือเกือบทุกวัน จึงไม่จำเป็นต้องมีการปรับเวลาให้ช้าลง หรือเร็วขึ้นให้ยุ่งยาก แต่เวลาไปเที่ยวต่างประเทศในช่วงเวลาดังกล่าว ก็ควรระวังว่าอาจจะมีการปรับให้ช้าลง หรือเร็วขึ้นจากปกติ เพราะไม่เช่นนั้นก็อาจไปไม่ทันนัดหรือพลาดเที่ยวบินได้ แต่สมัยนี้เวลาในคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสารต่างๆก็จะมีการปรับเวลากันแบบอัตโนมัติ
เมื่อตีสอง วันอาทิตย์ ที่ 27 มีนาคม 2559 ใครที่อยู่โซนยุโรป ต้องลุกขึ้นมาหมุนนาฬิกาย้อนเวลากลับอีก 1 ชั่วโมงกันบ้างคะ? หลายคนตื่นเช้าขึ้นมาอาจจะยังง่วงๆอยู่เพราะได้นอนน้อยไปตั้งหนึ่งชั่วโมง.. คลิ๊กอ่านเรื่องน่ารู้อื่นๆ จากเว็บมะนาวดอทคอม