คำว่า นาฬิกา มาจากอะไร มีความเกี่ยวข้องอะไรกับกะลามะพร้าว?

คำว่า นาฬิกา (ภาษาอังกฤษ clock) หมายถึงเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและแสดงเวลา มีหลายชนิด เช่น นาฬิกาข้อมือ นาฬิกาปลุก นาฬิกาทราย แต่ทราบหรือไม่ว่า “นาฬิกา” เป็นคำที่มีที่มาจากคำอะไร

clock nalika wordmean

นาฬิกา (ภาษาอังกฤษ clock) หมายถึงเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและแสดงเวลา มีหลายชนิด เช่น นาฬิกาข้อมือ นาฬิกาปลุก นาฬิกาทราย แต่ทราบหรือไม่ว่า “นาฬิกา” เป็นคำที่มีที่มาจากคำอะไร มีการสันนิษฐานถึงที่มาไว้หลายอย่างดังต่อไปนี้

• มาจากคำบาลีว่า นาล /นาฬ ที่หมายถึง ก้าน หลอด ลำ ช่อง แล้วแผงอีกทีจนกลายเป็น นาลิ นาลี / นาฬิ นาฬี แต่คำว่านาล (นา-ละ) พอออกเสียงแบบไทยๆจะกลายเป็น นาน น่าจะมีความหมายกับคำว่า “ทะนาน” ซึ่งเป็นคำนามหมายถึงเครื่องตวงอย่างหนึ่งของคนโบราณที่ทำด้วยกะลามะพร้าวด้านที่มีตา ใช้สำหรับตวงสิ่งของ เช่น ข้าวเปลือก 10 ทะนาน

• บ้างก็ว่ามาจากภาษาบาลี นาฬิเกร (อ่านว่า นา-ลิ-เก-ระ) ที่แปลว่ามะพร้าวชนิดหนึ่ง มีผลขนาดเล็ก สีเหลืองหรือสีส้ม น้ำมะพร้าวมีรสชาติหอมหวาน บ้างก็เรียกว่ามะพร้าวนาฬิเกร์ ตามเพลงกล่อมเด็กของทางภาคใต้สมัยโบราณ ที่ชื่อมะพร้าวมาเกี่ยวข้องกับนาฬิกาก็เพราะว่า ในอดีตมีการนำกะลามะพร้าวชนิดนี้มาจะรู แล้วนำไปลอยน้ำ นับเวลาตามการจมน้ำของกะลาว่า 1 จม เท่ากับ 1 ยก หรือเท่ากับ 1 นาฬิกา

coconut nalika

อาจารย์วัฒนะ บุญจับ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา วรรณกรรม และวัฒนธรรม กล่าวว่า คำว่านาล (นา-ละ) พอออกเสียงแบบไทยๆจะกลายเป็น นาน น่าจะมีความหมายกับคำว่า “ทะนาน” ซึ่งเป็นคำนามหมายถึงเครื่องตวงอย่างหนึ่งของคนโบราณที่ทำด้วยกะลามะพร้าวด้านที่มีตา ใช้สำหรับตวงสิ่งของ คำๆนี้จึงน่าจะมาจากรากศัพท์ตัวเดียวกัน แต่ความ นาฬิ ไม่ได้มีความหมายถึงเครื่องจับเวลาเลย ส่วนคำว่านาฬิเกรก็แปลว่ามะพร้าว แต่กะลามะพร้าวก็เคยถูกนำมาใช้เป็นเครื่องจับเวลาในหลายๆสังคมด้วยเช่นกัน

• ยังมีการสันนิษฐานอีกว่าอาจจะมาจากคำว่า นาฑิกา ในภาษาสันสกฤต ที่หมายถึงเครื่องกำหนดเวลา แล้วแผลงจาก “ฑ” ในภาษาสันสกฤตมาเป็นตัว “ฬ” ในภาษาบาลี กลายเป็น นาฬิกา

นาฑิกา (ภาษาสันสกฤต) เครื่องกำหนดเวลา —> นาฬิกา (ภาษาบาลี) ตัว “ฑ” ในภาษาบาลี สันสกฤต จะออกเสียงเป็ฯ “ด” หรือ “ท” ก็ได้

** ดังนั้น คำว่า นาฬิกา อาจจะมาจาก นาฬิเกร หรือ นาฑิกา ก็มีความเป็นไปได้ทั้งคู่ แต่เราอาจจะคุ้นชินกับนาฬิเกรกันมากกว่า

เนื้อเพลงกล่อมเด็กที่มีการกล่าวถึงมะพร้าวนาฬิเกร์

“มะพร้าวนาฬิเกร์

ต้นเดียวโนเน กลางทะเลขี้ผึ้ง

ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง

กลางทะเลขี้ผึ้ง ถึงได้แต่ผู้พ้นบุญเอย”

โดยภายหลังพระธรรมโกศาจารย์หรือพระพุทธทาสภิกขุ ได้ถ่ายทอดเนื้อความบทนี้เป็นปริศนาธรรม เสื่อความหมายถึงการพ้นทุกข์ มุ่งสู่นิพพานเรียกขานกันว่ามะพร้าวนาฬิเกร์ มีความหมายว่า “นิพพานนั้นอยู่ท่ามกลางวัฏสงสาร”

ที่มา: เพียงคำเดียว (thaipbs)