ตัวเลขบนกระสอบปุ๋ย 3 หลักคืออะไร? ปุ๋ย N-P-K สูตรไหน เหมาะกับอะไร?

ตัวเลขบนกระสอบปุ๋ย คืออะไร?

ปุ๋ยเคมี (Inorganic Fertilizer) ทำไมตัวเลขบนกระสอบจึงต่างกัน ตัวเลขบนกระสอบปุ๋ย 3 หลัก บ่งบอกอะไร? วิธีเลือกใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยสูตรไหน เหมาะกับอะไร ข้อแนะนำในการใช้ปุ๋ยเคมี ข้อเสียของการใช้ปุ๋ยต่อเนื่องเป็นเวลานาน

เชื่อว่าหลายคนที่เคยซื้อปุ๋ยคงเคยเห็น ตัวเลขบนกระสอบปุ๋ย 3 หลัก หรือคนทั่วๆ ไปที่กำลังจะเลือกซื้อปุ๋ย อาจเกิดข้อสงสัย ไม่เข้าใจว่าทำไม ตัวเลขอยู่ 3 หลักบนถุงปุ๋ยจึงต่างกัน เช่น 15-15-15 , 16-8-8 หรือ 16-20-0 เป็นต้น แล้วตัวเลข 3 หลักที่ปรากฏอยู่บนกระสอบปุ๋ยคืออะไร และมีไว้เพื่ออะไรกันแน่?

ความหมายของตัวเลข 3 หลักบนกระสอบปุ๋ย

ความเป็นจริงแล้ว ตัวเลขบนกระสอบปุ๋ย 3 หลัก ที่อยู่ปรากฏบนกระสอบปุ๋ยนั้นก็คือ สูตรเคมีของปุ๋ย หรือเกรดปุ๋ม โดยตัวเลขทั้ง 3 หลักนี้เอง จะเป็นตัวเลขที่บ่งบอกให้ทราบถึงปริมาณธาตุอาหารหลักๆ ที่มีอยู่ 3 ชนิดด้วยกันก็คือ N-P-K

1. ไนโตรเจน แทนด้วยสัญลักษณ์ “N” ก็คือตัวเลขที่อยู่ในหลักแรก
2. ฟอสฟอรัส แทนด้วยสัญลักษณ์ “P” ก็คือตัวเลขที่อยู่ในหลักที่สอง
3. โพแทสเซียม แทนด้วยสัญลักษณ์ “K” ก็คือตัวเลขที่อยู่ในหลักสุดท้ายนั่นเอง

ตัวเลขบนกระสอบปุ๋ย 3 หลัก

ยกตัวอย่างเช่น ปุ๋ยเคมีสูตร 21-8-11 คือ ปุ๋ยที่มีปริมาณของธาตุอาหารหลักโดยจะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ หรือร้อยละของน้ำหนักปุ๋ย หากปุ๋ยกระสอบนั้นมีน้ำหนัก 100 กิโลกรัม ปุ๋ยเคมีสูตร 21-8-11 นั้นก็จะมีปริมาณของธาตุอาหารหลักดังต่อไปนี้

1. ตัวเลขในหลักแรกคือ 21 หรือก็คือ ปริมาณของธาตุอาหารหลักที่เป็นไนโตรเจนอยู่ร้อยละ 21 หรือ 21% ต่อน้ำหนักปุ๋ย 100 กิโลกรัม จะมีไนโตรเจนอยู่ 21 กิโลกรัม
2. ตัวเลขในหลักที่สองคือ 8 หรือก็คือ ปริมาณของธาตุอาหารหลักที่เป็นฟอสฟอรัสอยู่ร้อยละ 8 หรือ 8% ต่อน้ำหนักปุ๋ย 100 กิโลกรัม จะมีฟอสฟอรัสอยู่ 8 กิโลกรัม
3. ตัวเลขในหลักที่สุดท้ายคือ 11 หรือก็คือ ปริมาณของธาตุอาหารหลักที่เป็นโพแทสเซียมอยู่ร้อยละ 11 หรือ 11% ต่อน้ำหนักปุ๋ย 100 กิโลกรัม จะโพแทสเซียมอยู่ 11 กิโลกรัม

ดังนั้นปริมาณธาตุหลักของปุ๋ยเคมีสูตร 21-8-11 จะมีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชเพียง 40 กิโลกรัม เท่านั้น ส่วนอีก 60 กิโลกรัมที่เหลือนั้นจะเป็นฟิลเลอร์ (Filler) หรือก็คือสารเติมแต่ง

สารเติมแต่งในปุ๋ยเคมีคืออะไร?
สารเติมแต่งส่วนใหญ่ที่อยู่ในปุ๋ยเคมีก็คือ ดินขาว ซึ่งดินขาวนั้นเป็นส่วนประกอบสำคัญโดยมันจะมีหน้าที่ช่วยให้สามารถปั้นปุ๋ยให้เป็นเม็ดกลมสวย และไม่แตกได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้ดินขาวยังมีส่วนช่วยให้ธาตุอาหารหลักอย่างไนโตรเจนนั้นคงอยู่ได้นานยิ่งขึ้น เนื่องจากดินขาวจะทำปฏิกิริยาช่วยเหนี่ยวรั้งไนโตรเจนเอาไว้ เพราะเหตุนี้เองไนโตรเจนจึงไม่สลายตัวไปกับอากาศเร็วเกินไป ซึ่งอย่างไรก็ตามดินขาวไม่ได้มีประโยชน์ใดๆ ต่อพืชเลยแม้แต่น้อย

นอกจากนี้แล้ว หากเรานำปุ๋ยที่มีส่วนผสมของดินขาวใส่ลงไปในดินเป็นระยะเวลาหนึ่ง ตัวดินขาวเองก็จะไปทำปฏิกิริยากับดินโดยมันจะแทรกตัว และอัดแน่นตามช่องว่างของเนื้อดิน และยึดเกาะเม็ดดินส่งผลทำให้เนื้อดินนั้นจับตัวกันแน่นขึ้น ในเวลาเดียวกันนั้นมันก็จะขับไล่อากาศที่อยู่ในดินออกไปจากเนื้อดิน ฉะนั้นหากใช้ปุ๋ยเคมีเป็นระยะเวลานานก็จะส่งผลเสียต่อดิน เนื่องจากมันจะทำให้ดินเป็นกรด และยังทำให้ดินนั้นแข็งกระด้างหรือกลายเป็นดินเสียในที่สุด

ปุ๋ยสูตรไหน เหมาะกับอะไร
● 16-16-16 ปุ๋ยสูตรเสมอหรือสูตรเร่งใบ เหมาะสำหรับพืชที่กำลังเติบโตทางใบและกิ่ง มีธาตุไนโตรเจนกับธาตุอื่นอัตราส่วน 1:1:1 ไนโตรเจน องค์ประกอบของเซลล์ ช่วยในเรื่องการการสังเคราะห์แสง ช่วยให้มีการเจริญเติบโต ช่วยซ่อมแซม ใช้ได้ดีกับไม้ประดับที่ปลูกมาซักระยะแล้ว วิธีใช้คือ 3-4 สัปดาห์ต่อ 1 ครั้ง

● 16-32-16 สูตรเร่งดอก เหมาะสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพการออกดอก ธาตุฟอสฟอรัส ช่วยในการผลิตพลังงาน ATP ที่ไกระตุ้นทำให้เนื้อเยื่อพัฒนาไปเป็นดอกและตา

● 16-32-32 สูตรเร่งผล เหมาะสำหรับพืชที่ออกดอก ธาตุโพแทสเซียมที่เพิ่มขึ่นมาในสูตรนี้ มีบทสำคัญช่วยในการลำเลียงสารอาหารไปยังดอก ทำให้ดอกมีสุขภาพที่ดี และกลายเป็นผลที่สมบูรณ์

● 46-0-0 ในสูตรจะเห็นว่ามีธาตุไนโตรเจนแบบล้วนๆ เป็นปุ๋ยสูตรเร่งใบสำหรับต้นไม้ที่ปลูกใหม่ซัก 3-7 วัน ปุ๋ยชนิดนี้จะทำให้ต้นไม้ที่เพิ่งปลูกใหม่ แตกใบออกมาเยอะๆ เพื่อช่วยในเรื่องของการสังเคราะห์แสง

● ปุ่ยละลายช้า เป็นปุ๋ยเคมีที่ออกแบบมาให้ธาตุอาหารแบบเข้มข้น บรรจุอยู่ในสารเคลือบโพลิเมอร์ สารอาหารจะค่อยๆ ถูกปลดปล่อยออกมาจากเปลือกโพลิเมอร์ทีละน้อยๆ อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

ข้อแนะนำในการใช้ปุ๋ยเคมี : หากจำเป็นหรือหลีกเลี่ยงในการใช้ปุ๋ยเคมีไม่ได้จริงๆ ก็ควรที่จะใช้ปุ๋ยเคมีสลับกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ตามธรรมชาติไปด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้ดินนั้นไม่กลายเป็นกรดหรือเนื้อดินมีความแข็งกระด้างนั่นเอง

Credits : รายการ Did you know, หนังสือหลักการพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย ผศ.สมพร ทรัพยสาร

อ่านเรื่องน่ารู้ นานาสาระ จากมะนาวดอทคอม->คลิ๊ก..