เคล็ดลับเรียนเก่ง และทำอย่างไรให้จำได้ดีขึ้น

เคลดลบเรยนเกง และทำอยางไรใหจำไดดขน

.เคล็ดลับเรียนเก่ง และทำอย่างไรให้จำได้ดีขึ้น

หลายๆคนอาจจะเป็นคนขี้ลืม ได้ยิน ได้ฟังอะไรมาแป๊บเดียวก็ลืม พอออกจากน้องเรียนก็คืนสิ่งที่อาจารย์เพิ่งจะสอนมาไปซะอย่างงั้น ทำอย่างไรให้จำได้ดีขึ้น เทคนิค หรือ เคล็ดลับเรียนเก่ง ทำอย่างไร?

ฟัง คิดตามและเขียนไปด้วย 

ในการเรียนรู้ของคนเราต้องใช้ความจำเข้ามาช่วยด้วย โดยปกติแล้วคนเราสามารถเรียนรู้จากทักษะต่างๆ เช่น การฟัง การอ่าน การเขียน การมอง หรือแม้กระทั่งการที่ลงมือทำด้วยตัวเอง ซึ่งมีนักจิตวิทยาได้กล่าวไว้ว่า ความจำที่เกิดจากการเรียนรู้ด้วยทักษะอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงแค่อย่างเดียว จะทำความจำนั้นคงอยู่ได้้ไม่นานนัก เนื่องจากข้อมูลที่เราได้รับด้วยการฟังอย่างเดียวจะทำให้ความจำนั้นลดลง หรือหายไปอย่างแน่นอนโดยความจำจะหายไปในระยะเวลาเพียงไม่นาน แต่ถ้าหากในขณะที่เราฟังแล้วเราได้เขียนตามไปด้วยและคิดตามไปด้วยในเวลาเดียวกัน จะทำให้ความจำของเรานั้นลดลงช้ากว่าการฟังเพียงอย่างเดียวถึง 1 เท่าตัว ดังนั้นการที่คุณครูเขียนบนกระดานแล้วให้นักเรียนจดตามนั้นจะเป็นผลดีต่อความจำในระยะยาวมากกว่าที่นักเรียนใช้สมาร์ทโฟนถ่ายรูปข้อมูลที่อยู่บนกระดานแล้วเก็บไว้อ่านทีหลังเสียอีก 

ฝึกตั้งคำถาม 

นอกจากนั้นหากในขณะเดียวกันได้มีการพูดคุยไปด้วยและมีการตั้งคำถามทำให้เด็กคิดตามไปด้วยก็จะส่งผลต่อ ความจำ ทำให้เด็กมีความจำที่ดีขึ้นเช่นกัน และเวลาที่ไม่เข้าใจต้องกล้าที่จะถาม อย่าอาย

การทบทวน 

นอกจากการดูมองเห็น การได้ยิน แล้วคิดตาม การจดบันทึกในสิ่งที่เห็นหรือได้ยิน ตั้งคำถามและจดบันทึกแล้ว การทบทวนสิ่งต่างๆ ที่ได้เรียนรู้มาก็เป็นสิ่งที่จำเป็นเช่นกัน โดยผู้เชี่ยวชาญทางสมองจากมหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัมก็พบเคล็ดลับสำคัญในการทบทวนเพื่อกระตุ้นความจำ ทำให้มีประสิทธิภาพและมีความจำที่นานขึ้น ก็คือ การทิ้งช่วงเวลาให้เหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญได้ระบุว่า การทบทวนสิ่งต่างๆ ถี่เกินไปนั้นจะทำให้เกิดผลเสีย เพราะนั่นจะทำให้จิตสำนึกบอกกับเราว่า ตรงนี้รู้แล้ว ตรงนี้จำได้แล้ว ดังนั้นผลที่ได้ก็คือจะทำให้เรานั้นจำได้น้อยลงหรือจำได้ไม่แม่นนัก และควรใช้เวลาให้การทบทวนสิ่งต่างๆ ไม่เกิน 2 ชั่วโมง เพราะความล้าของสมองไม่เป็นผลดีต่อการจำ

ในขณะที่กำลังทบทวนอยู่ก็อาจจะตั้งคำถามและตอบคำถามด้วยตัวเองมากๆ คนที่เรียนเก่ง มักจะตั้งคำถามกับตัวเอง แล้วก็ไปค้นคว้าหาคำตอบให้ตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นจากหนังสือ, เอนไซโคพีเดีย หรือจากโลกอินเตอร์เน็ต เช่น google, youtube ที่ในปัจจุบันนี้ยิ่งมีความสะดวกมากขึ้นเพราะมีแหล่งข้อมูลออนไลน์ อย่าง  wikipedia

Mind mapping 

การฝึกที่จะเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ เข้าหากันให้เป็นเรื่องเป็นราว ที่เรียกว่า แผนภาพ หรือ Mind mapping ซึ่งวิธีนี้นอกจากจะทำให้มีความจำที่ดีขึ้นแล้ว ยังทำให้เกิดจินตาการและความสร้างสรรค์ ทำให้จินตนาการและความสร้างสรรค์มีเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย ตัวอย่างแผนภาพการเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆเข้าหากัน หรือ  Mind mapping ที่คุณดำเกิง ไรวา หรือคุณโอ่ง สร้างจาก samsung.com

Mind mapping

ทำแบบฝึกหัด หรือทำข้อสอบเก่า คนที่เรียนเก่งมักจะทำแบบผึกหัดกันเยอะมาก หรือไม่หาข้อสอบเก่ามาทำ ที่ตอนนี้ยิ่งสะดวกสบายเพราะสามารถที่จะดาวน์โหลดข้อสอบเก่าๆมาให้ฝึกลับสมอง

พักผ่อนให้เพียงพอ

การอ่านหนังสือจนหามรุ่งหามค่ำจนสมองล้า ไม่ได้ทำให้เรียนเก่ง หรือจำได้ดีขึ้น การพักผ่อนที่เพียงพอจะทำให้สมองจัดการกับระบบจัดเก็บข้อมูลในขณะที่หลับสนิทได้อย่างมีประสิทธิภาพ เคยสังเกตุหรือไม่ว่าการอ่านหนังสือทั้งคืนเพื่อไปสอบ พอออกจากห้องสอบแล้วเราแทบจะจำเนื้อหาเหล่านั้นแทบไม่ได้เลย การพักผ่อนให้เพียงพอทำให้สมองพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆตลอดเวลา 

สิ่งที่สำคัญที่สุดในการจำก็คือ ทัศนคติ เพราะถ้าหากเราคิดว่ามันยาก  ทำไม่ได้ หรือว่าคิดลบ ก็จะทำให้แรงผลักดันและความสามารถในการจำ การจินตาการและความคิดสร้างสรรค์ เกิดขึ้นได้น้อยลง ดังนั้นควรปรับทัศนคติ ฝึกที่จะคิดบวกเพื่อเพิ่มความสามารถในการจำ จินตาการและความคิดสร้างสรรค์ให้มากขึ้น