เหรียญ 10 บาทปี 2533 ทำไมถึงมีมูลค่านับแสน

เหรยญ 10 บาทป 2533 ทำไมถงมมลคานบแสน

เหรียญ 10 บาทปี 2533 ทำไมถึงมีมูลค่านับแสน

ความจริงของเหรียญ 10 บาท ทำไม เหรียญ 10 บาทปี 2533 ทำไมถึงมีมูลค่าสูงนับแสนบาท ความแตกต่างระหว่างเหรียญ 10 บาทปี 2533 กับเหรียญที่ผลิตในปีอื่นๆ

หลายคนอาจจะเอากระปุกออกมาแคะ เพราะข่าวเหรียญ 10 บาทที่มีมูลค่ากว่า 100,000 บาท กำลังเป็นกระแสที่มาแรงมากในช่วงนี้ แต่เหรียญ 10 บาทที่ว่ามานี้จะต้องเป็นเหรียญที่ถูกผลิตขึ้นมาในปี พ.ศ. 2533 เท่านั้น เนื่องจากในปี พ.ศ.2533 นี้ ได้มีการผลิตเหรียญ 10 บาทขึ้นมาเพียงแค่ 100 เหรียญเท่านั้น นอกจากนี้คาดว่าในประเทศไทยจะเหลือเหรียญ 10 บาทเพียงแค่ 30 เหรียญเท่านั้น ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าในช่วงปี พ.ศ. 2530 คนไทยเรายังใช้ธนบัตร 10 บาทกันอยู่ และต่อมาในปี พ.ศ. 2531ก็ได้เริ่มมีการผลิตเหรียญกษาปณ์ที่มีมูลค่า 10 บาทออกมา โดยปี พ.ศ. 2531ได้มีการผลิตเหรียญ 10 บาทออกมากว่า 60,200 เหรียญ หรือในปีอื่นๆ ก็จะผลิตเหรียญ 10 บาทออกมาจำนวนมากมาย ซึ่งในบางปีอาจจะผลิตมากถึง 10 ล้านเหรียญเลยทีเดียว 

ในปี พ.ศ.2533 มีการผลิตเหรียญ 10 บาทออกมาเพียงแค่ 100 เหรียญเท่านั้น นั่นก็เป็นเพราะว่าเพื่อเป็นที่ระลึกในการจัดการแสดงเหรียญกษาปณ์ขึ้นที่ประเทศอังกฤษ ดังนั้นทางประเทศไทยของเราก็ได้มีการนำเหรียญ 10 บาทนี้ไปแสดงเพื่อให้เห็นถึงการพัฒนาของเทคโนโลยีของบ้านเรา เนื่องจากในยุคนั้นประเทศไทยเรามีเทคโนโลยีที่สามารถผลิตเหรียญเช่นนี้เป็นอันดับสองของโลก ซึ่งก็คือการผลิตเหรียญที่มี 2 สีอยู่ในเหรียญเดียวกันนั่นเอง ประเทศไทยของเราจึงได้มีการผลิตเหรียญ 10 บาทไปเพื่อเป็นที่ระลึกให้กับการจัดงานเหรียญกษาปณ์ในครั้งนั้นด้วย แต่เหรียญ 10 บาทที่นำไปเป็นที่ระลึกนั้นกลับมาประเทศไทยเพียงแค่ 30 เหรียญเท่านั้นเอง ด้วยเหตุผลนี้เองจึงทำให้เหล่าบรรดานักสะสมเหรียญนั้นมีความต้องการเหรียญรุ่นนี้เป็นอย่างมาก จึงทำให้ตั้งมูลค่าของเหรียญ 10 บาทที่ผลิตขึ้นในปี พ.ศ. 2533 สูงกว่า 100,000 บาทต่อเหรียญเลยทีเดียว

เหรยญ 10 บาทป 2533 ขอแตกตาง

© รูปภาพ: ngeonboran.blogspot 

ความแตกต่างระหว่างเหรียญ 10 บาทปี พ.ศ. 2533 กับปี พ.ศ. 2537 

เลข ๗ ไทยใน พ.ศ. ๒๕๓๗ พอนำมาตะไบเอาหางออกก็จะกลายเป็นเลข ๒๕๓๓ แต่ร้านรับซื้อหรือคนที่เป็นเซียนจะมองออกเพราะว่าเหรียญปี พ.ศ. 2533 นั้นมีความแตกต่างจากปีอื่นๆ ดังต่อไปนี้

1. ระยะห่างตัวหนังสือกับขอบเหรียญ เนื่องจากว่าตราหรือแม่พิมพ์ที่นำมาใช้ในการผลิตเหรียญในปีพ.ศ. 2537 นั้นได้ย่อขนาดลง เลยทำให้ตัวหนังสือในปี พ.ศ.2537 นั้นจะติดกับขอบเหรียญ ส่วนเหรียญปี พ.ศ. 2533 จะอยู่ห่างจากขอบเหรียญมากกว่าเมื่อนำเหรียญทั้งสองปีนี้มาเทียบกัน

2. บริเวณยอดพระปรางค์วัดอรุณ ในปี พ.ศ. 2533 จะมีความแตกต่างจากปีอื่นๆ เนื่องจากลายน้ำด้านล่างของพระปรางค์อรุณของเหรียญที่ผลิตในปี พ.ศ.2537 จะมีความหนาที่มากกว่าเมื่อเทียบกับเหรียญปี พ.ศ. 2533 ซึ่งเป็นเพราะแม่พิมพ์ปี พ.ศ. 2537 มีการย่อขนาดลง

3. ขอบเหรียญข้างในระหว่างสีทั้งสองปี สำหรับปี พ.ศ. 2533 จะมีขอบเป็นสีเงิน ส่วนปี พ.ศ. 2537 นั้นจะเป็นสีทอง เนื่องจากการผลิตนั้นเมื่อผลิตมากๆ ก็จะทำให้แม่พิมพ์มีการสึกหรอ ดังนั้นเหรียญปี พ.ศ. 2537 ก็จะมีขอบสีเงินเช่นกันแต่จะเป็นเหรียญที่ผลิตเป็นเหรียญแรกๆ นั่นเอง