โรค Night Eating Syndrom หิวตอนกลางคืนบ่อยอาจกำลังป่วยเป็นโรคนี้

โรค Night Eating Syndrom คืออะไร? อาการหิวตอนกลางคืนบ่อยๆ อาจเป็นเพราะว่าคุณกำลังเป็นโรคนี้ ลักษณะอาการของโรค วิธีรักษาโรค Night Eating Syndrom

night eating syndrom

ว่าด้วยเรื่องกิน หลายคนอาจจะชอบหิวตอนกลางคืนหรือช่วงดึกๆ แต่ก็ไม่ได้สนใจอะไร เพราะมันอาจจะเป็นความเคยชิน แต่รู้หรือไม่ว่าจริงๆ แล้วคุณอาจจะกำลังเป็นโรค Night Eating Syndrom นี้อยู่ก็ได้ แล้วเจ้าโรคนี้คือโรคอะไร อาการเป็นอย่างไร มีวิธีรักษาหรือไม่? ตามไปทำความเข้ากันเลยค่ะ

Night Eating Syndrom คืออะไร?

โรค Night Eating Syndrom คือ ลักษณะของการกินอาหารที่ผิดปกติ โดยในวารสาร American Medical Association ได้กล่าวไว้ว่า ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการหิว หรืออยากกินอาหารในช่วงตั้งแต่ 18.00 นาฬิกาเป็นต้นไป โดยบางคนอาจจะมีอาการสะดุ้งตื่นเพื่อมากิน 3-4 รอบในช่วงดึกเลยทีเดียว หรือบางครั้งก็จะรู้สึกเหมือนกับว่าถ้าไม่ได้กินอะไรในมื้อดึกจะทำให้นอนไม่หลับ แต่กลับกันในช่วงเช้า หรือระหว่างวันจะไม่มีอาการหรือความรู้สึกหิวเท่าไหร่นัก และในบางคนอาจจะไม่กินข้าวในมื้อเช้าเลยก็ว่าได้

อาการเหล่านี้เป็นความผิดปกติที่ถูกค้นพบเมื่อไม่นานมานี้ โดยผู้ที่คนพบคือ Albert Stunkard นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เพื่อปี ค.ศ.1955 และหลังจากนั้นก็ได้มีหลักฐานทางการแพทย์อธิบายว่า ผู้ป่วยเป็นโรคนี้นั้นส่วนใหญ่จะเป็นผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับผู้ป่วยโรคจิตเวช ที่มีปัญหาในเรื่องของการเสพติดอะไรสักอย่าง จนกลายมาเป็นพฤติกรรมที่เคยชิน และนอกจากนี้มันยังมีสาเหตุที่เกิดจากความผิดปกติของระดับฮอร์โมนเมโทนิน สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคนอนไม่หลับ หรือโรคเครียดก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน

ลักษณะอาการของโรค Night eating syndrome

1. ในช่วงเช้าจะไม่มีความรู้สึกหิว ทำให้บ่อยครั้งที่มื้อเช้านั้นถูกมองข้ามไป

2. ในระหว่างวันจะสามารถกินอาหารได้น้อยมาก แต่จะกินได้มากหลังมื้อเย็น

3. มีอาการนอนไม่ค่อยหลับถ้าไม่ได้กินมื้อดึก และจะคิดว่าหากกินข้าวมื้อดึกจะช่วยทำให้นอนหลับได้สบาย

4. มีอาการสะดุ้งตื่นเพื่อมากินอาหารในช่วงกลางดึก 3-4 ครั้งต่อคืน

5. ในบางคนอาจจะมีอาการละเมอลุกมากินอาหารเองในตอนกลางคืน

6. มีความรู้สึกว่าการกินอาหารในมื้อดึกนั้นเป็นวิธีช่วยในการคลายเครียดได้อีกวิธีหนึ่ง

วิธีรักษาโรค Night eating syndrome

1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินใหม่ทั้งหมด โดยขั้นแรกจะต้องจัดตารางการกินอาหารให้อยู่ตามช่วงเวลาที่เป็นปกติ เพื่อเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมการกินของผู้ป่วย ซึ่งจะต้องให้นักโภชนาการเข้ามาดูแลในของตารางการกินอาหาร

2. โดยวิธีลดความเครียดลง เนื่องจากบางกรณีถูกวินิจฉัยว่าเกิดจากสาเหตุการนอนไม่หลับ เลยต้องลุกมากินอาหารเพื่อเป็นการระบายความเครียด ฉะนั้นแพทย์จะให้ความสำคัญกับโรคเครียดโดยการรักษาด้วยยา หรือจะแนะนำให้ผู้ป่วยใช้วิธีอื่นในอาการนอนไม่หลับ อย่างเช่น การออกกำลังกาย เป็นต้น

3. การรักษาด้วยวิธีจิตวิทยา หรือให้นักจิตแพทย์เข้ามาช่วยดูแล โดยการบำบัดจะเป็นการบำบัดด้วยการเผชิญกับสาเหตุการรับรู้และพฤติกรรมของผู้ป่วยเอง อย่างเช่น หากผู้ป่วยต้องการกินอาหารก่อนนอนเพราะกลัวว่าจะนอนไม่หลับ ก็ให้ผู้ป่วยนั้นเผชิญหน้ากับการนอนไม่กลับแล้วหาวิธีแก้ด้วยตัวเองโดยห้ามใช้วิธีกอนมื้อดึกเป็นทางออกโดยเด็ดขาด

4. การรักษาด้วยฮอร์โมน เนื่องจากผู้ป่วยบางรายอาจจะมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของฮอร์โมน แพทย์จึงจะทำการรักษาผู้ป่วยโรคนี้ด้วยยาเพื่อเป็นการปรับระดับฮอร์โมนของผู้ป่วยให้อยู่ในสภาวะปกติ

สำหรับใครที่ชอบกินอาหารมื้อดึกเป็นประจำก็ควรที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเช่นนี้ได้แล้ว เพราะมันจะส่งผลเสียต่อร่างกายของเราได้มากมาย อย่างเช่น อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ เสี่ยงต่อการเป็นโรคกรดไหลย้อน เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระเพาะ เป็นต้น นอกจากนี้มันยังส่งผลทำให้ร่างกายของเรานั้นพักผ่อนไม่เพียงพอและก่อให้เกิดภาวะน้ำเกินตามมาได้ในภายหลัง ฉะนั้นหากใครที่ไม่อยากมีอาการเหล่านี้ก็ควรที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินให้อยู่ในช่วงเวลาปกติ เพียงเท่านี้คุณก็จะมีสุขภาพที่ดีขึ้นได้