อาการบวมน้ำ คืออะไร สาเหตุเกิดมาจากอะไร จะแก้ไขอย่างไร?

อาการบวมน้ำ เกิดมาจากสาเหตุอะไร

อาการบวมน้ำ หรือ ภาวะบวมน้ำ (Edema)

จะเกิดขึ้นเมื่อภาวะของร่างกายคนเราขาดความสมดุล โดยเฉพาะในช่วงเช้าเมื่อตื่นนอนขึ้นมาจะรู้สึกอึดอัดบริเวณหน้าท้อง ต้นแขนและต้นขา ถึงแม้ว่าในช่วงนั้นร่างกายจะยังไม่ได้รับประทานอาหารอะไรเลยก็ตาม หรือเมื่อเราส่องกระจกแล้วสังเกตุตัวเองจะพบว่า ใบหน้าใหญ่หรือบวมขึ้น หรืออาจะพบได้ที่บริเวณอื่นๆ เช่น รอบดวงตา ขา ปอด ช่องท้อง หรือสมอง

อาการเช่นนี้เกิดจากของเหลวที่อยู่ภายในร่างกายของคนเรานั้นได้แทรกซึมเข้าไปสู่ช่องว่างต่างๆ ในเซลล์ภายในร่างกาย ซึ่งมันจะทำให้เลือดและน้ำเหลืองไม่สามารถไหลเวียนได้ตามปกติ จึงทำเกิดเป็นภาวะบวมน้ำขึ้นนั่นเอง ภาวะบวมน้ำอาจเกิดจากการคั่งของน้ำ หรือน้ำเหลืองก็ได้ แต่ส่วนมากจะเกิดจากการคั่งของน้ำ นอกจากนี้ภาวะบวมน้ำก็อาจจะเป็นการบ่งบอกถึงการเป็นโรคไตได้เช่นกัน ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้ก็อาจจะทำให้กลายเป็นโรคอ้วนได้ในเวลาต่อมา

ลักษณะของการบวมน้ำ
ภาวะบวมน้ำที่เมื่อกดแล้วบุ๋ม โดยการใช้นิ้วมือกดนานประมาณ 5 วินาที แล้วมีการยุบหรือบุ๋มลงไป ระยะหนึ่ง แล้วบวมขึ้นมาเหมือนเดิม อาจเกิดจากภาวะโรคหัวใจ ตับ ไต หรือเกิดจากภาวะการมีโปรตีนในเลือดต่ำ ทำให้การไหลเวียนในหลอดเลือดดำไม่ค่อยดี อาจพบบ่อยตามบริเวณแขนขา ส่วนภาวะบวมน้ำที่เมื่อกดแล้วไม่บุ๋ม เกิดจากอาการคั่งของน้ำเหลือง จะรักษาได้ยากกว่าแบบแรก ถ้าเกิดอาการบวมแบบนี้ตามแขนขา ให้ใช้วิธีการยกสูงขึ้นจะช่วยได้

อาการบวมน้ำ คืออะไร

ภาวะบวมน้ำเกิดจากอะไร?
1. เกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เต็มไปด้วยโซเดียมหรือเกลือ
2. ภาวะการขาดโปรตีนอัลบูมิน โปรตีนชนิดนี้มีหน้าที่สำคัญ ในการดึงสารน้ำต่างๆที่รั่วออกจากกระแสเลือดกลับมาในเส้นเลือด
3. ภาวะอุดตันของหลอดเลือด หรือหลอดน้ำเหลือง
4. การติดเชื้อ ทำให้หลอดเลือดมีการอักเสบ
5. เกิดจากการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ
6. เกิดจากการดื่มเหล้า สูบบุรี่
7. เกิดขึ้นกับผู้หญิงที่กำลังอยู่ในช่วงการมีรอบเดือน
8. การตั้งครรภ์

วิธีช่วยลดอาการบวม
1. เมื่อเกิดอาการบวมน้ำแล้วเราเริ่มรู้สึกได้ ก็ควรที่จะหลีกเลี่ยงอาหารจัดที่มักจะมีปริมาณโซเดียมสูง
2. ควรดื่มน้ำเปล่าให้มากๆ เพื่อเป็นการขับโซเดียมออกจากร่างกาย
3. ในขณะที่นอนหลับนั้นก็ควรที่จะยกเท้าให้สูงขึ้นกว่าปกติ
4. การออกกำลังกายโดยการว่ายน้ำ ประมาณ 30-60 นาทีต่อวัน ซึ่งการว่ายน้ำเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดอาการบวมได้ เนื่องจากแรงดันน้ำที่สูงกว่า จะช่วยดันน้ำในส่วนที่ขังอยู่ในร่างกายออกมาได้
5. หากจะให้ดีก็ควรเลือกรับประทานอาหารที่ส่งผลในการช่วยลดการบวมน้ำ อย่างเช่น ไข่ขาว ทูน่า กล้วย อโวคาโด ผักคึ่นช่าย เป็นต้น
6. หากอาการยังไม่ดีขึ้นก็ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย เพื่อจะได้ดำเนินการรักษาอย่างถูกต้อง

อย่างไรก็ตามหากเกิดบวมน้ำนั้นไม่ควรปล่อยทิ้งไว้หรือละเลย เพราะมันอาจจะก่อให้เกิดเป็นโรคต่างๆ ตามมาได้โดยที่เราไม่รู้ตัวอย่างเช่น อาจจะกลายเป็นโรคอ้วนและเป็นโรคไตได้นั้นเอง ฉะนั้นเราก็ควรมั่นสังเกตตัวเองว่าตัวเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือมีพฤติกรรมเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดภาวะการบวมน้ำหรือไม่ หากเริ่มมีอาการก็ควรจะรีบรักษาให้ทันท่วงที

คลิ๊กอ่าน->เรื่องน่ารู้ นานาสาระ เรื่องอื่น ๆ