นาฬิกาชีวิต คืออะไร มีความจำเป็นกับเราแค่ไหน ?

นาฬกาชวต คออะไร มความจำเปนกบเราแคไหน

นาฬิกาชีวิต คืออะไร มีความสำคัญกับเราแค่ไหน?

เคยสงสัยหรือไม่ว่า ร่างกายรู้ได้ยังไงว่าต้องทำอะไรบ้างในหนึ่งวัน ทำไมเราถึงง่วง ทำไมเราถึงตื่น นาฬิกาชีวิต คืออะไร จำเป็นกับเราแค่ไหน ? ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องหันมาฟังเสียงนาฬิกาชีวิตของตัวเอง ไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับนาฬิกาชีวิตกันเลย

นาฬิกาชีวิต หรือ นาฬิกาชีวภาพ (Biological clock) ก็คือนาฬิกาหรือเวลาที่บอกเราว่าในหนึ่งวันร่างกายของเราควรทำอะไรบ้าง และเจ้านาฬิกาชีวิตก็มีอยู่กับคนทุกคน ซึ่งสัตว์ก็เช่นกัน เพราะเจ้านาฬิกานั้นควบคุมทุกอย่างของเราเลยไม่ว่าจะเป็นการนอน ความรู้สึกหิว ความดันโลหิต อุณหภูมิในร่างกาย และที่สำคัญที่สุดก็คือการนอน เนื่องจากเมื่อไรก็ตามที่พระอาทิตย์ขึ้น แล้วมีแสงแดดมันก็จะทำให้ส่งผลไปยังสมองและทำให้สมองหยุดหลั่งสารเมลาโทนิน เมื่อพระอาทิตย์ตกดินเมื่อไหร่สมองก็จะสั่งให้หลั่งสารเมลาโทนินอีกครั้ง 

นาฬิกาชีวิต คืออะไร มีความสำคัญกับเราแค่ไหน?

จริงแล้วๆ นาฬิกาชีวิตหรือนาฬิกาชีวภาพนั้นสามารถเสียได้ แต่ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้้นกับคนสูงอายุและคนที่เป็นโรคความเสื่อมของสมองหรืออัลไซเมอร์ เนื่องจากกลไกลของนาฬิกาชีวภาพนั้นขึ้นอยู่กับสมองนั้นเอง ฉะนั้นเหล่าผู้สูงอายุหรือคนที่เป็นอัลไซเมอร์นั้นก็จะมีการพักผ่อนที่ไม่เป็นเวลา หรือสำหรับนักเรียน วัยรุ่นทั่วไปก็จะมีการนอนดึก นอนไม่เป็นเวลา และหากทำเช่นนี้เป็นประจำติดต่อกันเป็นเวลานานๆ ก็จะทำให้เกิดความเคยชินแล้วติดเป็นนิสัยในที่สุดและก็จะกลายเป็นปัญหาเรื้อรังจากนั้นมันยังทำให้เกิดการเสื่อมของนาฬิกาชีวิตได้ในเวลาต่อมา 

นอนหลับไม่อิ่มควรทำอย่างไร ?

หากเรานอนแล้วเป็นเวลาหลายชั่วโมงแล้วแต่กลับรู้สึกเหมือนร่างกายไม่สดชื่น ให้กลับมาดูว่าการนอนของเรานั้นเป็นการนอนที่มีคุณภาพหรือไม่ ด้วยปัจจัยต่างๆ อย่างเช่น การกรนที่มากเกินไปทำให้เราหยุดหายใจไปชั่วขณะจึงทำให้เราสะดุ้งตื่นบ่อยจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้การนอนของเรานั้นถูกขัดจังหวะ เป็นต้น ซึ่งจากการพักผ่อนไม่เพียงพอจะก่อให้เกิดปัญหาของเรื่องความดันโลหิตสูงตามมาได้ และมีโอกาสเป็นโรคหัวใจมากกว่าคนปกติทั่ว

วิธีแก้ปัญหาการนอนไม่ตรงเวลา มี 2 กรณีด้วยกัน

1. นอนดึกจนเคยชิน หากปกติเรานอนตอนตี 3 จนเกิดความเคยชิน ก็ให้เรานั้นนอนช้าไปอีกเรื่อยๆ จากตี 3 เป็นตี 5 ในวันถัดมาก็นอน 7 โมงเช้า วันต่อมาให้นอน 9 โมงเช้า หรือก็คือให้เรานอนช้าลงวันละ 2 ชั่วโมง ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงเวลาปกติที่เราต้องการนอนซึ่งเวลาที่ดีที่สุดในการนอนคือช่วง 4 ทุ่ม หรือไม่เกินเที่ยงคืน และหลังจากนั้นก็ให้เรานอนให้ตรงเวลาแล้วก็ควรทำให้เกิดความเคยชินหรือทำเป็นประจำ จากนั้นการนอนก็จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ

2. นอนเร็วเกินไป สำหรับใครบางคนที่นอนเร็วเกินไปหรือง่วงนอนตั้งแต่ 6 โมงเย็น จากนั้นก็ตื่นมาในช่วง ตี 2-3 แล้วนอนไม่หลับในเวลาต่อมา ซึ่งคนกลุ่มนี้จะใช้การรักษาโดยแสงไฟหรือ light box ที่เป็นตู้ไฟที่ส่งแสงไฟโดยแสงนั้นจะมีความสว่างมาก จากนั้นก็ให้ไปอยู่บริเวณที่มีแสงไฟนานกว่า 30 นาที เพื่อสั่งให้สมองคิดว่าพระอาทิตย์ยังไม่ตกดิน สารเมลาโทนินจะได้ยังไม่หลั่งออกมาและเราก็จะได้ไม่ง่วงในเวลาต่อมานั้นเอง จากนั้นเราก็ให้เราเริ่มปรับตัวให้นอนในเวลาปกติหรืออยู่ในช่วง 4 ทุ่มถึงเที่ยงคืนจะดีที่สุด

โดยรวมแล้วนาฬิกาชีวภาพหากทำงานได้ดีก็จะทำให้การใช้ชีวิตหรือการดำเนินชีวิตของเราเป็นไปอย่างปกติก็จะทำให้เรานั้นแข็งแรงทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต เพราะฉะนั้นก็ควรที่จะหันมาดูแลนาฬิกาชีวิตของเราโดยการนอนให้เป็นไปตามธรรมชาติหรือนอนไม่เกิน 4 ทุ่ม เพียงเท่านี้คุณก็จะมีชีวิตที่ดีขึ้นได้