คำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับโลกออนไลน์ Post-Truth แปลว่าอะไร?
ในทุกๆ ปี ทางออกซ์ฟอร์ดจะมีการจัดรายงานคำแห่งปี Oxford dictionaries word of the year และคำยอดฮิตแห่งปี 2016 ก็คือคำว่า « Post-Truth » คำคำนี้แปลว่าอะไร เราไปดูความหมายกันเลย
Post-Truth แปลว่าอะไร?
“สะท้อนหรือแสดงต่อสถานการณ์ต่างๆ โดยที่ความจริงเป็นปรวิสัย (สิ่งทีมีพื้นฐานอยู่บนข้อเท็จจริง) ไม่มีผลต่อความคิดเห็นของสาธารณชนมากเท่ากับความรู้สึก” แปลไทยเป็นไทยคือ “จริงเท็จไม่แคร์ ขอแชร์ก่อน” ไม่ให้ค่าแก่ข้อเท็จริง ข้อเท็จเป็นอย่างไรฉันไม่แคร์ แคร์แต่อารมณ์และความเชื่อของตัวเองเท่านั้น
มีคนทำงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้เกี่ยวกับพฤกติกรรมของคนในยุคปัจจุบัน เกี่ยวกับการแชร์ข้อมูลข่าวสารโดยที่ไม่สนใจว่ามันจริงหรือไม่จริง ยกตัวอย่างให้เห็นกันชัดๆ ในงานราชพิธีที่เพิ่งจะผ่านไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีข่าวลือที่ผู้คนแชร์กันเยอะมากๆ อยู่ 4-5 เรื่องคือ
– ก่อนงานราชพิธี ทางรัฐบาลได้ประกาศวันหยุดเพียงแค่ 1 วัน คือวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560 แต่มีคนสร้างข่าวลือขึ้นมาว่า ตลอดสัปดาห์นั้นคือวันหยุดทั้งหมดเลย
– มีคนถ่ายคลิปวีดีโองานแ ล้วก็บอกว่านี้เป็นคลิปที่ทุกคนไม่เคยเห็น ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผิด
– มีคนส่งต่อคลิปวีดีโอเกี่ยวกับพิธีลักพระศพ ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่ เป็นแค่การเตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการอัญเชิญพระยานมาศสามลำคาน พระราชพิธีเท่านั้น
– มีการแชร์ภาพเกี่ยวกับ พระบรมราชอัฐิ และ พระบรมราชสรีรางคาร แล้วบอกว่านี่คือภาพที่คนไทยไม่เคยเห็น
นี่เป็นเพียงแค่ตัวอย่าง ข่าวลือเด่นๆ ที่แชร์กันอย่างมากมายใน 2-3 อาทิตย์ที่ผ่านมา นี่คืออุทาหรณ์ของคนยุคนี้ที่เสพย์ติดการแชร์ข่าวอย่างรวดเร็วโดยไม่แคร์ว่าความจริงนั้นเป็นอย่างไร
ตัวอย่างในบ้านเรา มีกรณีศึกษาเรื่องการแชร์ในทำนองนี้ มีเวบไซต์อยู่เวบไซต์หนึ่งที่ทำงานตรวจสอบเกี่ยวกับข้อเท็จจริงบนโลกโซเซี่ยล โดยทดลองปล่อยข่าวลวงเรื่อง “แพทย์ออกโรงเตือน อั้นตด เสี่ยงกรดไหลย้อน” ปรากฎว่ามีคนเข้ามาอ่านเป็นจำนวนมากถึง 1,100,000 ครั้ง ภายในระยะเวลา 12 วัน แต่ 2 วันหลังจากนั้นนักวิชาการออกมาบอกว่านี่คือข่าวปลอม การอดกลั้นการผายลมไม่มีผลอะไรกับโรคกรดไหลย้อน ที่น่าประหลาดจก็คือยอดแชร์ว่าเรื่องนี้เป็นเท็จมีไม่ถึง 2,000 ครั้ง ซึ่งนั่นแสดงให้เห็นว่าคนส่วนมากอีโก้สูง พอแชร์เรื่องไม่ถูกต้องออกไป แต่ไม่ยอมกลับมาแก้ไข
ต่อไปนี้ก่อนที่จะแชร์อะไรออกไปควรดูให้ดีก่อนว่าเรื่องนี้จริงหรือเท็จ? อย่าเห็นค่าการแชร์ข้อความอย่างรวดเร็ว ทั้งที่ยังไม่มั่นใจว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ หากต้องการเช็คว่าข่าวไหนจริง ข่าวไหนลวง ให้เข้าไปเช็คข้อมูลก่อนที่เวบไซต์ เช็กก่อนแชร์.com โดยการใส่หัวข้อข่าว หรือชื่อเวบไซต์ จากนั้นกดเอ็นเทอร์ ทางเวปไซต์จะเช็คให้ว่าข่าวนั้นชัวร์หรือมั่วนิ่ม
การให้คุณค่ากับความเร็ว มากกว่าความเป็นจริง ย่อมไม่เกิดผลดีต่อสังคม และความสัมพันธ์กับผู้คนที่เราติดต่อด้วย