วิธีเรียกชื่อเนื้อสัตว์ และสัตว์ชนิดต่างๆ (Animals and Their Meat)

คำศัพท์เกี่ยวกับการทำอาหาร (Cooking Vocabulary) ตอน คำศัพท์ที่เรียกสัตว์ตัวเป็นๆ วิธีเรียกชื่อของเนื้อสัตว์

วิธีเรียกชื่อเนื้อสัตว์ และสัตว์ชนิดต่างๆ (Animals and Their Meat)

คำในภาษาอังกฤษนั้นส่วนมากจะมาจากภาษาเยอรมัน แต่คำศัพท์เกี่ยวกับอาหารส่วนใหญ่ มักจะมาจากภาษาฝรั่งเศส ซึ่งในความเป็นจริง ภาษาฝรั่งเศสก็ไปเอามาจากภาษาละตินอีกทีหนึ่ง เช่น Beef ในภาษาละตินคือ bōs ในภาษาฝรั่งเศสยุคนั้นเรียกว่า boef แล้วกลายมาเป็น bœuf ในภาษาฝรั่งเศสสมัยใหม่ เรื่องนี้มีมาตั้งแต่ช่วงปลายศตวรรษที่ 11 สมัยที่ฝรั่งเศสส่งราชวงศ์ชั้นสูงซึ่งพูดภาษาฝรั่งเศสมาปกครองอังกฤษ ในตอนนั้นก็จะมีการเรียกชื่อเนื้อสัตว์เป็นภาษาฝรั่งเศสทับศัพท์ไปเลย ทำให้เนื้อสัตว์กับสัตว์ตัวเป็นๆกลายเป็นคำที่ไม่เกี่ยวข้องกัน จนทำให้เกิดคู่คำศัพท์ animals and their meat มาดูว่า คำศัพท์ที่เรียกสัตว์ตัวเป็นๆ และ วิธีเรียกชื่อเนื้อสัตว์ นั้นมีอะไรบ้าง

วิธีเรียกชื่อเนื้อสัตว์ และสัตว์ชนิดต่างๆ (Animals and Their Meat)

ประวัติความเป็นมา

คำในภาษาอังกฤษนั้นส่วนมากจะมาจากภาษาเยอรมัน แต่คำศัพท์เกี่ยวกับอาหารส่วนใหญ่ มักจะมาจากภาษาฝรั่งเศส ซึ่งในความเป็นจริง ภาษาฝรั่งเศสก็ไปเอามาจากภาษาละตินอีกทีหนึ่ง เช่น Beef ในภาษาละตินคือ bōs ในภาษาฝรั่งเศสยุคนั้นเรียกว่า boef แล้วกลายมาเป็น bœuf ในภาษาฝรั่งเศสสมัยใหม่ เรื่องนี้มีมาตั้งแต่ช่วงปลายศตวรรษที่ 11 สมัยที่ฝรั่งเศสส่งราชวงศ์ชั้นสูงซึ่งพูดภาษาฝรั่งเศสมาปกครองอังกฤษ ในตอนนั้นก็จะมีการเรียกชื่อเนื้อสัตว์เป็นภาษาฝรั่งเศสทับศัพท์ไปเลย ทำให้เนื้อสัตว์กับสัตว์ตัวเป็นๆกลายเป็นคำที่ไม่เกี่ยวข้องกัน จนทำให้เกิดคู่คำศัพท์ animals and their meat มาดูว่า คำศัพท์ที่เรียกสัตว์ตัวเป็นๆ และ วิธีเรียกชื่อเนื้อสัตว์ นั้นมีอะไรบ้าง

Cattle (cow or bull) วัว

Beef เนื้อวัว (ภาษาฝรั่งเศส bœuf)

Calf (young cow) ลูกวัว

Veal เนื้อลูกวัว (ภาษาฝรั่งเศส Veau)

Pig สุกร

Pork เนื้อหมู (ภาษาฝรั่งเศส Porc)

Deer กวาง

Venison เนื้อกวาง (ภาษาฝรั่งเศส Venaison)

Rabbit กระต่าย, เนื้อกระต่าย (ภาษาฝรั่งเศส Lapin)

Sheep แกะ

Ram แกะตัวผู้

Ewe แกะตัวเมีย

Mutton เนื้อแกะ (ภาษาฝรั่งเศส Mutton)

Lamb เนื้อลูกแกะที่มีอายุต่ำกว่า 12 เดือน ในอเมริกาก็จะเรียกลูกแกะเป็นๆที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปีว่า Lamb ด้วยเช่นกัน เนื้อลูกแกะจะนุ่มลิ้น รสชาติดี เพราะลูกแกะเล็กอยู่ ฟันยังไม่ทันขึ้นเลยนะคะ (ภาษาฝรั่งเศสเรียกเนื้อลูกแกะว่า Agneau)

Hoggart เนื้อลูกแกะที่มีอายุ 1-2 ปี เนื้อจะหยาบขึ้นมาหน่อย (ภาษาฝรั่งเศส Hoggart)

Mutton เนื้อแกะที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป (ภาษาฝรั่งเศส Mutton) เนื้อจะหยาบ เหนียวกว่า รสชาติเข้มข้น และมีกลิ่นสาบมากกว่า แต่ในบางประเทศ อย่างที่อินเดีย ก็เรียก mutton ว่า goat meat ถ้าในเมนูอาหารเขียนว่า mutton-curry, goat-curry หรือ lamp-curry ที่ใส่เครื่องเทศอินเดีย อาหารจานนี้มักจะทำมากจาก goat meat

เรื่องเนื้อแกะมีเรื่องให้เล่าเยอะ คนส่วนมากจะชอบกินเนื้อลูกแกะมากกว่าเนื้อแกะ จึงทำให้มีสำนวนอันหนึ่งขึ้นมา “mutton dressed as lamb” หมายถึงผู้หญิงที่อายุมากแล้วแต่ยังแต่งตัวเหมือนสาววัยรุ่น

Water Buffalo ควาย / Carabeef เนื้อควาย (ภาษาฝรั่งเศส Carabeef)

Goat แพะ / Chevon เนื้อแพะ (ภาษาฝรั่งเศส Chevon เนื้อแพะ, Chèvre แพะ)

เนื้อของสัตว์ปีก 

สัตว์ปีกภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า volaille ภาษาอังกฤษเรียกว่า poultry

– Pigeon นกพิราบ / Squab เนื้อนกพิราบ (ภาษาฝรั่งเศส Squab) Squab เป็นเนื้อนกพิราบบ้านที่อายุต่ำกว่า 4 สัปดาห์ รสชาติคล้ายไก่ดำ ส่วน เนื้อนกเขา (dove) และเนื้อนกพิราบที่ล่ามาเพื่อการกีฬาส่วนใหญ่ไม่ค่อยเรียกว่า squab

– Chicken ไก่ Chicken เนื้อไก่ (ภาษาฝรั่งเศส Poulet)

– Duck เป็ด, เนื้อเป็ด (ภาษาฝรั่งเศส Canard)

– Turkey ไก่งวง / Turkey เนื้อไก่งวง (ภาษาฝรั่งเศส Dinde)

ส่วนเนื้อคนเคยถูกเรียกว่า “long pig” ในสมัยที่มีมนุษย์กินคน