วันสตรีสากล International Women’s Day

วันสตรีสากล International Women's Day

Google Doodle : วันสตรีสากล International Women’s Day

วันที่ 8 มีนาคม 2560 กูเกิ้ลร่วมฉลอง วันสตรีสากล International Women’s Day โดยการออก Google Doodle : International Women’s Day 2017

ประวัติวันสตรีสากล

ความเป็นมาของวันสตรีสากลเริ่มต้นเมื่อปี 1908 เมื่อกลุ่มสตรีมารวมตัวกันในนครนิวยอร์ก เพื่อเรียกร้องค่าจ้างและสวัสดิภาพในการการทำงานที่ดีขึ้น รวมถึงสิทธิในการออกเสียงอย่างเท่าเทียมกัน การออกมาชุมนุมในครั้งนี้จุดประกายเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันในประเทศอื่นๆ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1911 วันสตรีสากลถูกจัดอย่างเป็นทางการครั้งแรกในประเทศออสเตรีย เดนมาร์ก เยอรมนี และสวิตเซอร์แลนด์ และในปัจจุบันก็มีการจัดงานวันสตรีสากลไปทั่วโลก

กูเกิ้ลเฉลิมฉลองวันสตรีสากล ด้วยการออก Google Doodle ที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คน โดยมองย้อนกลับไปในอดีตที่มีผู้หญิงเป็นนักต่อสู้ บุกเบิกจนทำให้เรามีทุกวันนี้ ในสไลด์โชว์ของกูเกิ้ลวันนี้จะเป็นเด็กหญิงตัวน้อยๆกับคุณยาย ที่จะมาเล่านิทานก่อนนอนให้ฟังเหมือนอย่างเคย ในคืนนี้หนูจะได้ฟังสุดยอดนิทานเรื่องราวของสตรีในความทรงจำที่มาจากต่างที่ ต่างอาชีพ มีความสามารถที่แตกต่างกัน 13 คน และหนูน้อยคนนี้ยังได้ย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ที่เธอชื่นชอบ กับพวกเธอทั้ง 13 คนด้วย ไปดูกันเลยว่าใครบ้าง

วันสตรีสากล International Women's Day

1. ไอด้า เวลส์ (Ida Wells)
เกิดในปี 1862 เป็นนักหนังสือพิมพ์และนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชน ชาวอเมริกัน-แอฟริกัน เป็นนักเขียนผู้มีพรสวรรค์ นอกจากนี้แล้วเธอยังเป็นนักพูด ที่เดินทางไปพูดให้ผู้หญิงเรียนรู้วิธีการที่จะยืนหยัดต่อสู้กับความอยุติธรรม และเธอยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้งสมาคม National Association for the Advancement of Colored People (NAACP) ไอด้าเป็นผู้หญิงที่พิสูจน์ให้เห็นว่า คำพูด นั้นมีประสิทธิภาพมาก และแข็งแรงพอที่จะต่อสู้แม้แต่กับการยึดที่มั่นที่สุด

2. ลอตเฟีย เอล นาดี (Lotfia El Nadi) 
เอล นาดี เป็นนักบินหญิงแรกของอียิปต์ ที่บิดาของเธอคัดค้านแบบหัวชนฝา แต่ด้วยความช่วยเหลือของแม่ ทำให้เธอได้ลงทะเบียนเรียนในโรงเรียนการบินของอียิปต์ครั้งแรกในปี 1932 เพียงไม่กี่เดือนต่อมา ในปี 1933 เธอก็ได้รับใบอนุญาตในการบิน ในขณะที่มีอายุเพียง 26 ปี  เอลนาดีกลายเป็นผู้หญิงคนแรกของอียิปต์ ที่ขับเครื่องบินจากกรุงไคโรไปเมืองอเล็กซานเดรีย มันช่างเป็นระยะทางที่เหลือเชื่อและไกลมากสำหรับเธอ หากเทียบกับการเดินทางสู่ความเสมอภาคของผู้หญิงในอียิปต์มันไกลกว่านั้นอีก และเธอได้พิสูจน์ให้ว่า ผู้หญิงสามารถทำได้และเป็นได้ทุกอย่างหากพวกเธอกล้าที่จะฝัน

3. ฟรีดา คาห์โล (Frida Kahlo) 
จิตรกรชาวเม็กซิกัน และนักกิจกรรม เมื่อตอน 6 ขวบเธอเคยเป็นโปลิโอ แม้ว่าหายจากโรคนี้แล้วแต่ร่างกายเธอก็ยังสมบูรณ์ดี เมื่ออายุ 18 ปี เธอประสบอุบัติเหตุ จนไม่สามารถเดิน หรือเคลื่นไหวไปไหนได้ ช่วงนั้นเองที่เธอเริ่มวาดรูป และทำกิจกรรมทางการเมือง เธอต่อสู้เพื่อความยุติธรรมสำหรับผู้หญิงลาตินและแรงงาน ภาพวาดของคาห์โลเป็นภาพวาดที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองแบบสุดขีด เธอเล่าเรื่องราวผ่านภาพที่สดใส และภาพที่ทั้งน่าตกใจ ให้ชวนคิดตาม เธอบอกว่าเธอวาดจากความเป็นจริงของตัวเธอเอง ผลงานของเธอให้กำลังใจกับผู้หญิงในการฝ่าฟันอุปสรรคชีวิตไปพร้อมกัน

4. ลิน่า โบ บาร์ดิ (Lina Bo Bardi) 
นักสถาปนิกผู้เกิดที่อิตาลี แต่ใช้ชีวิตส่วนมากอยู่ที่บราซิล นอกเหนือจากอาชีพของเธอในฐานะสถาปนิกแล้ว โบบาร์ดิยังเป็นนักหนังสือพิมพ์ อาจารย์ และนักกิจกรรมทางการเมืองทั้งใน อิตาลี และบราซิล เธอเห็นสถาปัตยกรรมเป็นเครื่องที่แสดงให้ชีวิตของผู้คน

5. โอลกา สโคโรโฮโดวา (Olga Skorokhodova) 
นักวิทยาศาสตร์ของสหภาพโซเวียตและนักวิจัยในด้านการสื่อสารและหูหนวกตาบอด จากความเจ็บป่วยด้วยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ทำให้เธอต้องตาบอดและหูหนวก ในขณะที่มีอายุเพียงแค่ 5 ขวบ และยังมาสูญเสียพ่อแม่อีก โอลกาได้เรียนการพูดและการฟังจากศาสตราจารย์ Ivan Sokolianskii จนทำใหแธอมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ นอกจากนี้เขายังจะให้แนะนำให้รู้จักกับวิทยาศาสตร์พื้นฐานซึ่งจะสร้างแรงบันดาลใจชีวิตการทำงานของเธอ

โอลกาได้เขียนหนังสือถ่ายทอดวิธีการรับรู้เรื่องต่างๆ จากประสบการณ์ชีวิตของตัวเองในหนังสือ “How I Perceive, Imagine and Understand the World Around Me”ที่เล่าเรื่องของตัวเองว่า เธอพัฒนาความสัมผัส , กลิ่น , การสั่นสะเทือน , อุณหภูมิ และรส เพื่อชดเชยการมองเห็นและการได้ยินของตัวเอง และเธอจะใช้ประสบการณ์เหล่านั้นให้งานวิจัยของเธอ และจุดประกายการเรียนรู้ใหม่ในสิ่งใหม่ๆ

6. มิเรียม มาเคบา (Miriam Makeba) 
นักร้องชาวแอฟริกาใต้และนักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชน มิเรียมเริ่มต้นอาชีพการแสดง ในปี 1959 และมีภาพของเธอปรากฏอยู่ในสารคดี เป็นภาพที่เธอโกรธเจ้าหน้าที่แอฟริกาใต้เกี่ยวกับเรื่องการแบ่งแยกสีผิว จนเป็นผลให้หนังสือเดินทางของเธอถูกเพิกถอน และทหารได้นำเธอออกจากแอฟริกาใต้ อย่างไรก็ตาม มิเรียมประสบความสำเร็จในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยชนะรางวัลแกรมมี่ในปี 1965 และเข้าร่วมงานกับ พอล ไซมอน เกรซแลนด์ในทัวร์ของเขาในปี 1980

มิเรียมใช้ชื่อเสียงที่มีของเธอในการดึงความสนใจของชาวโลก ให้มองเห็นถึงความทุกข์ทรมาน และการกดขี่แบ่งแยกสีผิวในแอฟริกาใต้ ประธานาธิบดีเนลสัน แมนเดล่า เคยกล่าวถึงเธอไว้ว่า เสียงร้องและท่วงทำนองเพลงของเธอ เป็นเสียงความเจ็บปวดของการพลัดถิ่นอันยาวนาน 31 ปี และในขณะเดียวกัน เป็นเสียงที่ทรงพลังและสร้างแรงบันดาลใจให้กับทุกคน

วันสตรีสากล International Women's Day

7. แซลลี่ ไรด์ (Sally Ride) 
นักบินอวกาศอเมริกัน และเป็นผู้หญิงคนแรกในอวกาศ แซลลี่ คริสเทน ไรด์เป็นนักบินอวกาศหญิงคนแรกของอเมริกาที่ได้ขึ้นไปสำรวจในอาวกาศ ด้วยอายุเพียงแค่ 32 ปี เธอจึงเป็นนักอาวกาศที่มีอายุน้อยที่สุดในขณะนั้นที่ได้เดินทางไปกระสวยอวกาศชาลเลนเจอร์ เมื่อปี ค.ศ. 1983

8. ฮาเลต ชามเบล (Halet Çambel)
นักโบราณคดีชาวตุรกี และเป็นผู้หญิงมุสลิมคนแรกที่ได้เข้าร่วมในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ผู้ค้นพบอารยธรรมอักษรฟินิเชียแท็บเล็ตที่ปลดล็อครหัสฮิตไทต์ฮีโรกริฟฟิค นอกจากนี้แล้ว Halet Çambel ก็ยังเป็นนักกีฬาที่ประสบความสำเร็จ โดยการเป็นสาวมุสลิมแรกที่แข่งขันในโอลิมปิก ในกีฬาฟันดาบ เมื่อปี 1936

9. เอดา เลิฟเลซ (Ada Lovelace) 
นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ นักเขียน และโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก เอดา ไบรอน เลิฟเลซ เป็นคนที่แตกต่างจากหญิงสาวคนอื่นในยุคนั้น เพราะเธอมีความสนใจทางด้านคณิตศสาตร์ จนกระทั่งได้พบกับชาลส์ แบบบิจ ที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน และเอดาก็อาสาจะช่วยพัฒนางานด้านเครื่องมือวิเคราะห์ หลังทั้งคู่ก็ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องนี้กันเรื่อยมาผ่านจดหมาย

ต่อมาเอด้าก็มีผลงานการสร้างภาษาสำหรับเครื่องวิเคราะห์ หรือที่เรียกว่า analytical engine และเอดายังเป็นผู้ที่แนะนำ และช่วยให้ ชาลส์ แบบบิจ สร้างเครื่องมือในการคำนวณ Bernoulli numbers ขึ้นมา ซึ่งต่อมาแผนการทำงานนี้ถูกยกย่องให้เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตัวแรกของโลก มีการตั้งชื่อภาษาคอมพิวเตอร์มาตรฐาน ISO ตัวแรกของโลกว่าว่า “ADA” เพื่อเป็นเกียรติให้กับเธอ

วันสตรีสากล International Women's Day

10. รุกมินี เทวี อรุณดาเล (Rukmini Devi Arundale) 
นักเต้นรำชาวอินเดีย นักออกแบบท่าเต้น ผู้ฟื้นฟูนาฏศิลป์อินเดีย เทวีทำให้ผู้คนรู้จักการเต้นรำภารตะ Bharata Natyam ซึ่งเป็นเต้นรำแบบดั้งเดิมเก่าแก่กว่าพันปี ซึ่งเดิมทีมีการเต้นรำแบบนี้ในวัดฮินดู ซึ่งภายหลังก็เกือบจะหายไป และรุกมินี เทวี ได้ชุบชีวิตมันขึ้นมาใหม่ ในสไตล์ที่ดูทันสมัย ผสมผสานกับองค์ประกอบของดนตรีละครและเครื่องแต่งกายที่เธอค้นพบ ผลงานของเธอและสามีได้รับการยอมรับในงาน Kalakshetra Academy of Dance and music ที่เมืองเซนไน เมื่อปี ค.ศ. 1936

11. เซซีเลีย เกรียซอน (Cecilia Grierson) 
แพทย์กายภาพบําบัดชาวอาร์เจนตินา และเป็นผู้หญิงคนแรกในอาร์เจนตินาได้รับปริญญาทางการแพทย์ เมื่อศตวรรษที่ 19 ในประเทศอาร์เจนตินามีข้อจำกัดการเข้ารับการศึกษาทางด้านการแพทย์ของผู้หญิง ในความเป็นจริงแล้วมีผู้หญิงน้อยมากที่จะได้เข้าเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษา เซซิเลียพากเพียรจนสำเร็จการศึกษา เธอทำงานด้านสังคม เพื่อสิทธิประโยชน์สวัสดิการ ลาคลอดบุตรสำหรับผู้หญิง ในฐานะแพทย์กายภาพบําบัด เกรียสันก่อตั้งโรงเรียนพยาบาลครั้งแรกในอาร์เจนตินา และเป็นบุคคลแรกที่แนะนำว่าควรจะมีรถพยาบาลฉุกเฉินควรจะมีเสียงไซเรน ด้วยเหตุนี้รถพยาบาลฉุกเฉินจึงมักมีชื่อของเธอติดอยู่ด้วย

12. ลี ไท-ยัง (Lee Tai-young) 
ทนายความชาวเกาหลี และเป็นผู้พิพากษาหญิงแรกของประเทศเกาหลี ในปี ค.ศ. 1952 เธอต้องผ่านการทดสอบเป็นผู้พิพากษาด้วยความยากลำบาก ลี ไท-ยัง ได้เขียนหนังสือขึ้นมาหลายเล่ม เรื่องราวของลี ไท-ยัง สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้หญิงเกาหลีมีความกล้าที่จะลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิของพวกเธอ

13. ซูซานน์ ลองลอง (Suzanne Lenglen)
แชมป์เทนนิสหญิง ชาวฝรั่งเศส ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังทางด้านกีฬา ซูซานน์เริ่มจับไม้เทนนิสครั้งแรกในปี ค.ศ.1910 เพื่อการออกกำลังกายให้มีสุขภาพที่ดีเท่านั้น แต่ภายในเวลาเพียงแค่ 5 ปีถัดมา เธอก็กลายเป็นแชมป์เทนนิสหญิงที่มีอายุน้อยที่สุด

ที่มา : Google Doodle

ตัวอักษรบนแป้นพิมพ์ ทำไมถึงไม่เรียง ABC : ประวัติเครื่องพิมพ์ดีด