จิ้งจก ตุ๊กแก ทำไมถึงเกาะผนังหรือเพดานได้?

จิ้งจก ตุ๊กแก ทำไมถึงเกาะผนังหรือเพดานได้?

จิ้งจก ตุ๊กแก ทำไมถึงเกาะผนังหรือเพดานได้?

ลักษณะการเคลื่อนไหวของสัตว์ต่างๆและมนุษย์อย่างเราๆ นั้นมีข้อแตกต่างกันหลายประการ ซึ่งการเคลื่อนไหวที่แปลกและน่าทึ่ง ที่มนุษย์อย่างเราทำไม่ได้นั่นก็คือ การปีนหรือเกาะไปบนกำแพงหรือบนเพดานได้เหมือนกับจิ้งจกหรือตุ๊กแก โดยความมหัศจรรย์ของพวกมันนั้นเป็นเพราะอะไร แล้วพวกมันสามารถปีนไปไหนมาไหนอย่างสบายๆได้อย่างไร?

มนุษย์เรานั้นหากต้องการที่จะปีนป่ายไปบนกำแพงได้ ก็ต้องมีอุปกรณ์ในการช่วยหลายอย่าง และในขณะที่เราปีนขึ้นไปบนที่สูงนั้น ตัวเราเองจะต้องมีความแน่ใจเสียก่อนว่าเราสามารถปีนขึ้นไปได้ โดยเราจะมีสัญชาตญาณในการคลำหาที่ยึดเพื่อให้เราดันหรือดันตัวเองขึ้นไปได้ แต่เจ้าตุ๊กแกหรือจิ้งจกนั้นไม่ต้องการอุปกรณ์หรือเครื่องช่วยเหลือใดๆ ทั้งสิ้น นอกไปเสียจากขนเหนียวๆ หนืดๆ เล็กๆ ใต้อุ้งเท้าของมัน

ขนเหนียวๆ ใต้อุ้งเท้าของตุ๊กแกหรือจิ้งจก จะมีขนาดที่เล็กมากเมื่อเทียบกับเส้นผมของมนุษย์ แล้วขนของมันก็มีขนาดเล็กกว่าเส้นผมมนุษย์ถึง 500 เท่าเลยทีเดียว ฉะนั้นจึงทำให้เท้าของตุ๊กแกหรือจิ้งจกมีความเหนียวแน่นเป็นทวีคูณ และที่สำคัญก็คือในความเป็นจริงแล้ว พื้นที่ผิวที่ตุ๊กแกได้ปีนป่ายนั้นก็ใช้ว่าจะเป็นพื้นผิวที่มีความเรียบเนียนเสมอไป แต่อย่างไรก็ตามพวกมันก็มีความพิเศษของอุ้งเท้าที่ธรรมชาติให้พวกมันมาตั้งแต่เกิด

เมื่ออุ้งเท้าของจิ้งจกหรือตุ๊กแก ไปสัมผัสกับพื้นผิวแบบไหนก็ตาม ส่วนของขนเล็กๆ ที่อุ้งเท้าของมันก็จะสร้างปฏิกิริยาหรือประจุไฟฟ้ากับโมเลกุลของพื้นผิวขณะที่เท้าของพวกมันสัมผัส ซึ่งนั่นจะทำให้ทุกย่างก้าวของพวกมันทั้งหนึบและแนบสนิทกับพื้นผิว โดย Johannes Diderik van der Waals นักฟิสิกส์-เคมี ชาวเนเธอร์แลนด์ ได้เรียกปรากฏการนี้ว่า แรงแวนเดอร์วาลล์ (Van Der Waals Force)

อุ้งเท้าของจิ้งจก ตุ๊กแก

ภาพข้างบน เป็นภาพอุ้งเท้าของตุ๊กแกที่กำลังเกาะอยู่บนกระจก จะเห็นได้ว่ามันมีลักษณะคล้ายกับดอกยางรถยนต์ ที่ถูกปกคลุมด้วยเส้นขนเล็กๆ มากกว่าล้านเส้น  ส่วนปลายของแต่ละเส้นยังถูกแยกหรือแตกแขนงออกไปอีกเป็นนับร้อย เพียงขนเล็กๆ เส้นเดียวอุ้งเท้าของก็สามารถยกมดเป็นตัวๆ ขั้นมาได้ ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมนิ้วเท้าแค่เพียงนิ้วจึงสามารถพยุงหรือรับน้ำหนักตัวของพวกมันได้

หรือกล่าวโดยสรุปได้ก็คือ จำนวนของขนเล็กๆ จำนวนมากที่อยู่ภายใต้อุ้งเท้าของตุ๊กแกหรือจิ้งจกนั้น จะทำให้เกิดปฏิกิริยาหรือเกิดประจุไฟฟ้าขึ้นในขณะที่เท้ามันสัมผัสกับพื้นผิว จนทำให้เท้าของมันเกาะติดแน่นมาก จนบางครั้งการใช้เพียงแค่หนึ่งเท้าก็สามารถทำให้จิ้งจกหรือตุ๊กแก เกาะบนกำแพงหรือแพดาน แล้วพวกมันก็ห้อยหัวลงได้อย่างสบายๆ

หลายคนอาจสงสัยต่อไปอีกว่า ถ้าเท้าของจิ้งจกหรือตุ๊กแกเกาะติดแน่นมากขนาดนี้ แล้วพวกมันจะถอนเท้าออกจากพื้นผิวที่สัมผัสอยู่ได้อย่างไร คำตอบก็คือ จิ้งจกหรือตุ๊กแกจะใช้วิธีดึงเท้าของพวกมันออกไปในมุมอื่นเพื่อให้หลุดพ้นจากการยึดเกาะอันเหนียวหนึบนั่นเอง

->ปลาแช่แข็งไม่ตาย ทำไมปลาจึงอยู่ในจุดเยือกแข็งได้?