คำว่า นาฬิกา (ภาษาอังกฤษ clock) หมายถึงเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและแสดงเวลา มีหลายชนิด เช่น นาฬิกาข้อมือ นาฬิกาปลุก นาฬิกาทราย แต่ทราบหรือไม่ว่า “นาฬิกา” เป็นคำที่มีที่มาจากคำอะไร
นาฬิกา (ภาษาอังกฤษ clock) หมายถึงเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและแสดงเวลา มีหลายชนิด เช่น นาฬิกาข้อมือ นาฬิกาปลุก นาฬิกาทราย แต่ทราบหรือไม่ว่า “นาฬิกา” เป็นคำที่มีที่มาจากคำอะไร มีการสันนิษฐานถึงที่มาไว้หลายอย่างดังต่อไปนี้
• มาจากคำบาลีว่า นาล /นาฬ ที่หมายถึง ก้าน หลอด ลำ ช่อง แล้วแผงอีกทีจนกลายเป็น นาลิ นาลี / นาฬิ นาฬี แต่คำว่านาล (นา-ละ) พอออกเสียงแบบไทยๆจะกลายเป็น นาน น่าจะมีความหมายกับคำว่า “ทะนาน” ซึ่งเป็นคำนามหมายถึงเครื่องตวงอย่างหนึ่งของคนโบราณที่ทำด้วยกะลามะพร้าวด้านที่มีตา ใช้สำหรับตวงสิ่งของ เช่น ข้าวเปลือก 10 ทะนาน
• บ้างก็ว่ามาจากภาษาบาลี นาฬิเกร (อ่านว่า นา-ลิ-เก-ระ) ที่แปลว่ามะพร้าวชนิดหนึ่ง มีผลขนาดเล็ก สีเหลืองหรือสีส้ม น้ำมะพร้าวมีรสชาติหอมหวาน บ้างก็เรียกว่ามะพร้าวนาฬิเกร์ ตามเพลงกล่อมเด็กของทางภาคใต้สมัยโบราณ ที่ชื่อมะพร้าวมาเกี่ยวข้องกับนาฬิกาก็เพราะว่า ในอดีตมีการนำกะลามะพร้าวชนิดนี้มาจะรู แล้วนำไปลอยน้ำ นับเวลาตามการจมน้ำของกะลาว่า 1 จม เท่ากับ 1 ยก หรือเท่ากับ 1 นาฬิกา
อาจารย์วัฒนะ บุญจับ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา วรรณกรรม และวัฒนธรรม กล่าวว่า คำว่านาล (นา-ละ) พอออกเสียงแบบไทยๆจะกลายเป็น นาน น่าจะมีความหมายกับคำว่า “ทะนาน” ซึ่งเป็นคำนามหมายถึงเครื่องตวงอย่างหนึ่งของคนโบราณที่ทำด้วยกะลามะพร้าวด้านที่มีตา ใช้สำหรับตวงสิ่งของ คำๆนี้จึงน่าจะมาจากรากศัพท์ตัวเดียวกัน แต่ความ นาฬิ ไม่ได้มีความหมายถึงเครื่องจับเวลาเลย ส่วนคำว่านาฬิเกรก็แปลว่ามะพร้าว แต่กะลามะพร้าวก็เคยถูกนำมาใช้เป็นเครื่องจับเวลาในหลายๆสังคมด้วยเช่นกัน
• ยังมีการสันนิษฐานอีกว่าอาจจะมาจากคำว่า นาฑิกา ในภาษาสันสกฤต ที่หมายถึงเครื่องกำหนดเวลา แล้วแผลงจาก “ฑ” ในภาษาสันสกฤตมาเป็นตัว “ฬ” ในภาษาบาลี กลายเป็น นาฬิกา
นาฑิกา (ภาษาสันสกฤต) เครื่องกำหนดเวลา —> นาฬิกา (ภาษาบาลี) ตัว “ฑ” ในภาษาบาลี สันสกฤต จะออกเสียงเป็ฯ “ด” หรือ “ท” ก็ได้
** ดังนั้น คำว่า นาฬิกา อาจจะมาจาก นาฬิเกร หรือ นาฑิกา ก็มีความเป็นไปได้ทั้งคู่ แต่เราอาจจะคุ้นชินกับนาฬิเกรกันมากกว่า
เนื้อเพลงกล่อมเด็กที่มีการกล่าวถึงมะพร้าวนาฬิเกร์
“มะพร้าวนาฬิเกร์
ต้นเดียวโนเน กลางทะเลขี้ผึ้ง
ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง
กลางทะเลขี้ผึ้ง ถึงได้แต่ผู้พ้นบุญเอย”
โดยภายหลังพระธรรมโกศาจารย์หรือพระพุทธทาสภิกขุ ได้ถ่ายทอดเนื้อความบทนี้เป็นปริศนาธรรม เสื่อความหมายถึงการพ้นทุกข์ มุ่งสู่นิพพานเรียกขานกันว่ามะพร้าวนาฬิเกร์ มีความหมายว่า “นิพพานนั้นอยู่ท่ามกลางวัฏสงสาร”
ที่มา: เพียงคำเดียว (thaipbs)