ยาลดความอ้วน มีหลักการทำงานอย่างไร ?
การมีรูปร่างที่ดีเป็นความใฝ่ฝันของหนุ่มสาวหลายคน แต่การลดน้ำหนักนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายและต้องใช้เวลา ยาลดน้ำหนักจึงเป็นทางลัดของใครหลายๆ คน ยาลดน้ำหนักสามารถช่วยทำให้เราลดน้ำหนักได้จริงหรือไม่ และมันมีกลไกการทำงานอย่างไร ทำไมเวลากินยาลดน้ำหนัก แล้วน้ำหนักถึงลดลงไวในเฉพาะช่วงแรกๆ
ยาลดน้ำหนักที่แพทย์ใช้เฉพาะทางนั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ตามการออกฤทธิ์ดังต่อไปนี้
1. การลดความอยากอาหาร (Appetite Suppressants)
โดยยาประเภทนี้จะออกฤทธิ์ที่สมองส่วนกลาง หรือที่เรียกว่าไฮโปทาลามัส (Hypotalamus) ที่ทำหน้าที่ควบคุมความหิวของร่างกาย โดยยาน้ำหนักกลุ่มนี้จะไปยับยั้งการนำกลับไปใช้ใหม่ของสารเซโรโทนิน (Serotonin) และสารนอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine) ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้เรารู้สึกอิ่ม ทำให้เรากินอาหารได้น้อยลง
ยาประเภทนี้ก็ได้แก่ เฟนเทอร์มีน (Phentermine) และ ไซบูทรามีน (Sibutramine) จากการศึกษาพบว่าหากใช้ยาประเภทนี้อย่างถูกต้อง ควบคู่ไปกับควบคุมอาหารไปด้วยอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้น้ำหนักตัวลดลงได้ประมาณ 1.5-2 กิโลกรัม แต่หลังจากนั้น 6-8 สัปดาห์ ยาอาจจะใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไปหรือพูดง่ายๆ ก็คือการใช้ยาประเภทนี้จะทำให้น้ำหนักลดได้ชั่วคราวเท่านั้น
2. การขัดขวางการทำงานของไขมัน (Fat Block)
กลไกการทำงานของยาควบคุมน้ำหนักในกลุ่มนี้ คือจะเข้าไปขัดขว้างระบบการทำงานของไขมัน โดยจะไปออกฤทธิ์ที่ระบบทางเดินอาหาร เนื่องจากปกติแล้วอาหารที่เราทานเข้าไปนั้นจะถูกย่อยโดนเอนไซม์ไลเปสก่อนที่ร่างกายจะดูดซึม และนำไปใช้ หลังจากที่เราทานยาประเภทนี้เข้าไปมันก็จะไปขัดขวางเอนไซม์ดังกล่าว ฉะนั้นเมื่อไขมันไม่ถูกดูดซึมก็จะทำให้มันถูกขับออกจากร่างกายทางอุจจาระ
จากการศึกษาพบว่ายาประเภทนี้สามารถยับยั้งการดูดซึมจากไขมันจากอาหารได้ 30 เปอร์เซ็น จากอาหารที่เราทานเข้าไป และน้ำหนักอาจจะสามารถลดได้ 2.5 กิโลกรัมภายใน 2 ปี อย่างไรก็ตามอาจจะเกิดอาการข้างเคียง เช่น อุจจาระไม่เกาะรวมกัน อาจจะมีไขมันและก๊าซออกมาด้วย ฉะนั้นหากใครที่มีความต้องการที่จะลดน้ำหนักโดยใช้ยาลดน้ำหนักก็ควรที่จะปรึกษาแพทย์จะดีกว่า
->ยากับเครื่องดื่ม 6 ชนิดที่ไม่ควรกินคู่กัน